เวลาออมแสง

(เปลี่ยนทางจาก Daylight saving time)

เวลาออมแสง (อังกฤษ : Daylight Saving Time, อักษรย่อ : DST) หรือ เวลาฤดูร้อน (อังกฤษ : Summer Time) เป็นข้อตกลงในการปรับนาฬิกาไปข้างหน้า เพื่อให้มีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาบ่ายมากขึ้นและมีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้าน้อยลง โดยปกติแล้วการปรับจะปรับไปข้างหน้าหนึ่งชั่วโมงก่อนเข้าฤดูใบไม้ผลิ และปรับกลับหลังในฤดูใบไม้ร่วง เวลาออมแสงในยุคสมัยใหม่ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดย William Willett นักก่อสร้างชาวอังกฤษ[1] หลายประเทศได้เริ่มใช้การปรับเวลาลักษณะนี้นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีรายละเอียดแตกต่างไปตามสถานที่และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งคราว

ภูมิภาคของเวลาออมแสง:
  ซีกโลกเหนือ ฤดูร้อน
  ซีกโลกใต้ ฤดูร้อน
  เดิมใช้เวลาออมแสงตามฤดูกาล
  ไม่เคยใช้เวลาออมแสงตามฤดูกาล

การเลื่อนนาฬิกาตามหลักเวลาออมแสงนี้ก่อให้เกิดความท้าทายในหลายด้าน เช่น อาจทำให้การรักษาเวลายุ่งยากขึ้น และกระทบการนัดหมาย การเดินทาง การบัญชี การลงบันทึก อุปกรณ์การแพทย์ รวมไปถึงเครื่องจักรอุตสาหกรรม[2] ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติการส่วนมากสามารถปรับนาฬิกาของตัวได้อัตโนมัติ แต่การปรับนี้ก็อาจทำได้จำกัดและมีความผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อกฎของเวลาออมแสงเปลี่ยน[3]

ระบบเวลาออมแสงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีช่วงแสงสว่างที่ "เหมาะสม" ตามความต้องการของท้องถิ่น โดยปรับนาฬิกาให้เข้ากับการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเปลี่ยนไปตามฤดูกาลตามความเอียงของแกนโลก

ในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ได้เริ่มทำการปรับเวลาออมแสงแตกต่างจากประเทศอื่นโดยเริ่มต้น 3 อาทิตย์ก่อนเวลาออมแสงปกติ และสิ้นสุด 1 อาทิตย์หลังเวลาออมแสงปกติ การปรับเปลี่ยนดังกล่าวได้รับการรับรองโดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2005

ในประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยมี DST ได้แก่ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

ศัพทวิทยา

แก้

ในภาษาอังกฤษ Daylight Saving Time บางครั้งอาจเขียนเชื่อมกันด้วยเครื่องหมายยัติภังค์ (-) เป็น Daylight-Saving Time 'saving' ในที่นี้เป็นคำคุณศัพท์ เหมือนกับในคำว่า labor saving device (เครื่องทุ่นแรง, เครื่องประหยัดแรง) ส่วนการใช้คำอื่น ๆ เช่น daylight savings time, daylight savings, และ daylight time ก็พบเห็นได้ทั่วไป โดย 'savings' ในที่นี้เป็นการเปรียบเหมือนใน savings account (บัญชีออมทรัพย์)[4] ในข้อเสนอต้นฉบับของ Willett นั้น ใช้ศัพท์ว่า daylight saving แต่ใน ค.ศ. 1911 คำว่า summer time ก็ได้มาแทนที่คำว่า daylight saving time ในร่างกฎหมายในสหราชอาณาจักร[5]

ชื่อเขตเวลานั้นมักจะเปลี่ยนไปเมื่อใช้เวลาออมแสง ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันแทนที่คำว่า standard (มาตรฐาน) ด้วย daylight (ออมแสง): เช่น Pacific Standard Time (PST) กลายเป็น Pacific Daylight Time (PDT) ภาษาอังกฤษแบบบริเตนใช้ summer (ฤดูร้อน): เช่น Greenwich Mean Time (GMT) กลายเป็น British Summer Time (BST) ตัวย่อนั้นไม่ได้เปลี่ยนตามเสมอ เช่น ชาวออสเตรเลียจำนวนมาก (แม้ไม่ทั้งหมด) เรียก Eastern Standard Time (EST) กลายเป็น Eastern Summer Time (ซึ่งย่อว่า EST เช่นกัน)

อ้างอิง

แก้
  • Spring Forward: The Annual Madness of Daylight Saving Time.
  • Seize the Daylight: The Curious and Contentious Story of Daylight Saving Time. The British version, focusing on the UK, is

ดูเพิ่ม

แก้
  1. Prerau. Seize the Daylight. p. 3.
  2. Peter G. Neumann (1994). "Computer date and time problems". Computer-Related Risks. Addison-Wesley. ISBN 0-201-55805-X. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26.
  3. Stephen Tong; Joseph Williams (2007). "Are you prepared for daylight saving time in 2007?". IT Professional. IEEE Computer Society. 9 (1): 36–41. doi:10.1109/MITP.2007.2. สืบค้นเมื่อ 2007-05-16.
  4. Daylight saving time and its variants:
    • Richard A. Meade (1978). "Language change in this century". English Journal. 67 (9): 27–30. doi:10.2307/815124.
    • Joseph P. Pickett (บ.ก.). "daylight-saving time". The American Heritage Dictionary of the English Language (4th (2000) ed.). Boston: Houghton Mifflin. ISBN 0-395-82517-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-13. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26. variant forms: or daylight-savings time
    • "daylight saving time". Merriam-Webster's Online Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2009-02-13. called also daylight saving, daylight savings, daylight savings time, daylight time
    • "15 U.S.C. § 260a notes". สืบค้นเมื่อ 2007-05-09. Congressional Findings; Expansion of Daylight Saving Time
  5. Prerau. Seize the Daylight. p. 22.