เบรต ฮาร์ต

(เปลี่ยนทางจาก Bret Hart)

เบรต เซอร์จีนต์ ฮาร์ต (Bret Sergeant Hart)[1][2] เกิดวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1957 เป็นอดีตนักมวยปล้ำอาชีพชาวแคนาดาในชื่อที่รู้จักกันอย่างดี เบรต ฮาร์ต (Bret Hart) เป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวตระกูลฮาร์ต[5] ได้เข้าสู่หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอีประจำปี 2006 ในฐานะเดี่ยวและปี 2019 ในฐานะแท็กทีม

Bret Hart
ชื่อเกิดBret Sergeant Hart[1][2]
เกิด (1957-07-02) กรกฎาคม 2, 1957 (66 ปี)
Calgary, Alberta, Canada[3]
การศึกษาMount Royal University[4]
คู่สมรส
  • Julie Smadu
    (สมรส 1982; หย่า 2002)
  • Cinzia Rota
    (สมรส 2004; หย่า 2007)
  • Stephanie Washington
    (สมรส 2010)
บุตร4
ครอบครัวHart
Harry Smith (maternal grandfather)[5]
เว็บไซต์brethart.com
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
ชื่อบนสังเวียนBret 'The Hitman' Hart[3]
Buddy Hart[3]
ส่วนสูง6 ฟุต 0 นิ้ว (183 เซนติเมตร)[6]
น้ำหนัก235 ปอนด์ (107 กิโลกรัม)[6]
มาจากCalgary, Alberta, Canada
ฝึกหัดโดยStu Hart[3][a]
Katsuji Adachi[3]
Kazuo Sakurada[9]
เปิดตัว1976 [10]
รีไทร์2011[11][b]

ประวัติ แก้

เบรตเป็นลูกชายของสตู ฮาร์ต เริ่มต้นในการปล้ำมวยปล้ำสมัครเล่นระดับรัฐ และเป็นแชมป์ระดับรัฐ แชมป์ระดับมหาวิทยาลัย ต่อมาเขาเริ่มเบื่อการฝึกซ้อม จึงหันมาทางมวยปล้ำอาชีพ ซึ่งเขาเริ่มต้นเป็นกรรมการ หลังจากนั้นก็ได้รับการฝึกหัดโดย Mr. Hito และ Mr. Sakurada และเขาได้ขึ้นปล้ำกับอาจารย์ของตัวเอง ต่อมาเขาก็ได้เป็นแชมป์ของค่าย Stampede[12][13][14][15]

เวิลด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น แก้

หลังจากนั้นสตูได้ขายกิจการให้กับ World Wrestling Federation (WWF) ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่เบรตไปปล้ำที่ญี่ปุ่น หลังจบทัวร์ เบรต ได้เข้ารับการผ่าตัดที่หัวเข่า ก่อนจะย้ายมา ปล้ำในสมาคม WWF ซึ่งแรกๆ เบรต ถูกนักมวยปล้ำคนอื่นกระทืบ ก่อนจะเปลี่ยนบทบาทมาเป็น The Cowboy" Bret Hart แต่ตนบอกไม่ชอบบทบาทนี้จึงมาตั้งทีม The Hart Foundation ร่วมกับ จิม ไนด์ฮาร์ต ซึ่งมีจิมมี ฮาร์ตเป็นผู้จัดการ โดยทั้งหมดรับบทเป็นอธรรม และได้เป็นแชมป์แทกทีม[16] หลังจากนั้นได้แยกออกมาปล้ำเดี่ยว และได้แชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล โดยการเอาชนะมิสเตอร์เพอร์เฟก

เบรตสามารถคว้าแชมป์โลกได้จากริก แฟลร์ รวมทั้งทำลายสถิติเป็นแชมป์โลกที่อายุน้อยที่สุด ด้วยอายุเพียง 27 ปี[17] หลังจากนั้น เบรตก็ได้ตำแหน่งคิงออฟเดอะริง 1993 และโด่งดันขึ้นมาถึงขีดสุด และเปิดศึกกับนักมวยปล้ำดังๆ มากมาย เช่น เรเซอร์ รามอน, โยะโกะซุนะ, โอเวน ฮาร์ต, ดีเซล และชอว์น ไมเคิลส์ แต่ในที่สุด เบรตก็เสียแชมป์ให้กับชอว์นในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 12

ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 13 เขาได้ปล้ำกับ สตีฟ ออสติน หลังการปล้ำครั้งนั้น ทำให้ทั้งคู่ได้สลับบทบาทกัน โดยให้เบรต เป็นอธรรม และออสติน เป็นธรรมะ และเบรต ได้รวมทีมขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อทีมว่า The New Hart Foundation สมาชิกของเขา มีทั้ง โอเวน ฮาร์ต, เดวี บอย สมิธ, จิม ไนด์ฮาร์ต และ ไบรอัน พิลแมน จนในที่สุด เอริก บิสชอฟฟ์ จาก WCW ได้แอบเจรจากับ เบรต ซึ่งเป็นขณะเดียวกันที่ เบรต ไม่พอใจและเกิดอาการน้อยใจกับ WWF ทำให้เรื่องมาถึงจุดจบ ในศึก เซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (1997) เมื่อวินซ์ แม็กแมนได้รวมหัวกับ ชอว์น และกรรมการเอิร์ล เฮบเนอร์ ปรับเบรตให้แพ้และเสียแชมป์ ในขณะที่เบรตโดนชอว์นจับใส่ท่า Sharpshooter แต่ยังไม่ได้ยอมแพ้ หลังจากการปล้ำ เบรตถึงกับถ่มน้ำลายใส่หน้าวินซ์ และทำให้เบรตตัดสินใจย้ายไปที่ WCW ในที่สุด[18]

เวิลด์แชมเปียนชิพเรสต์ลิง แก้

แต่ที่ WCW นั้น ทำให้เบรตรู้สึกแย่กว่าเดิม เพราะ WCW ใช้เบรตไม่ถูกทาง และขณะที่อยู่ WCW ทางฝั่ง WWF ก็มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเมื่อ โอเวน ฮาร์ต ตกลงมาจากสลิงและเสียชีวิต ทำให้ทุกคนรวมทั้งเบรต เสียใจอย่างมาก เบรตก็ได้เป็นแชมป์ยูเอส, แชมป์โลก WCW และ แชมป์โลกแท็กทีม WCW แต่ไม่นานอาชีพนักมวยปล้ำของเขาก็ถึงจุดจบเมื่อเกิดอุบัติเหตุขณะปล้ำกับโกลด์เบิร์ก โดยเบรตถูกโกลด์เบิร์กเตะเข้าเต็มๆหน้า ทำให้กระทบกระเทือนทางสมองจนต้องเลิกปล้ำในที่สุด หลังจากหายไปหลายปีจนในปี 2006 WWE ได้เชิญให้เบรตขึ้นรับรางวัลหอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี

เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์/ดับเบิลยูดับเบิลยูอี แก้

 
เบรต และ จิม ไนด์ฮาร์ต ในนาม The Hart Foundation

ในปี 2009 WWE ก็ได้ตั้งทีม The Hart Foundation ที่โด่งดังในอดีตกลับมาใหม่ ซึ่งสมาชิกก็เป็นลูกหลานของตระกูลฮาร์ต โดยใช้ชื่อทีมว่า เดอะฮาร์ทไดนาสตี้ สมาชิกมี เดวิด ฮาร์ท สมิธ, ไทสัน คิด และ นาตาเลีย ในศึกรอว์ ตอนแรกของปี 2010 เบรต ได้มาเป็น Guest Host ซึ่งถือเป็นการปรากฏตัวครั้งแรก ในรอบ 12 ปี ในสมาคม WWE และได้สะสางบัญชีแค้นกับ วินซ์ แม็กแมน ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 ได้สำเร็จ ในปี ต่อมา สตู ฮาร์ต พ่อของเขา ก็ได้รับรางวัล หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี ประจำปี 2010 ในซัมเมอร์สแลม (2010) เบรตได้เข้าร่วมปล้ำ 7 ต่อ 7 นำทีมโดย จอห์น ซีนาเพื่อมาปราบกลุ่มเดอะเน็กซัส แต่ก่อนปล้ำ สมาชิกอย่างเดอะเกรทคาลีได้ถูกเน็กซัสรุมเล่นงาน จนไม่สามารถมาร่วมปล้ำได้ ทำให้ทีม WWE ต้องหาคนมาแทน โดยซีนาเลือกแดเนียล ไบรอัน อดีตกลุ่มเน็กซัส และเอาชนะกลุ่มเน็กซัสไปได้สำเร็จ

ในรอว์ (10 กันยายน 2012) ที่มอนทรีออล เบรตออกมาเปิดรายการ โดยแฟนๆ ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น เบรตบอกว่ารู้สึกดีที่ได้กลับมาที่นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี ขอบอกกับทุกคนว่าพวกคุณอยู่ในใจผมมาตลอด 15 ปี ขอบคุณทุกๆ คนที่สนับสนุนผมมาตลอด ผมจะไม่มีวันลืม และขอให้พระเจ้าคุ้มครองทุกคน ขอบคุณมากๆ ซีเอ็ม พังก์ ออกมาขัดจังหวะ โดยถูกคนดูโห่อย่างหนัก พังก์ บอกว่าถ้าชั้นเป็นคนที่เจอกับนายในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (1997) แทนที่จะเป็น ชอว์น ไมเคิลส์ เบรตรีบตัดบท บอกว่าแกก็จะโดน Sharpshooter จนร้องเอ๋งๆ ไงล่ะ พังก์บอกชั้นไม่ต้องการ วินซ์ แม็กแมน มาช่วยโกงหรอกนะ ชั้นจะเอาชนะนายได้ด้วยตัวเอง แล้ว Attitude Era ของพวกแกก็จะไม่เกิดขึ้น ส่วนชั้นก็จะกระโดดหนีไปอยู่ WCW ปล่อยให้ WWE เจ๊งไปเลย เบรตเปิดคลิปความอัปยศของพังก์ ให้ทุกคนดูกันอีกครั้ง เมื่อสัปดาห์ก่อน พังก์ไม่กล้าสู้กับเชมัส แถมยังลอบทำร้ายซีนาจากด้านหลังอีก นี่หรือ "สุดยอดที่สุดในโลก" พังก์บอกว่าคนดูพวกนี้ควรจะเคารพชั้นเหมือนกับที่เคารพนายตอนที่นายเดินออกมาเมื่อกี้นี้ ชั้นสมควรได้รับการต้อนรับแบบนี้ทุกๆ สนามทั่วโลก พังก์บอก ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2012) ฉันจะทำให้ซีนา ต้องหลับสนิทด้วย Go To Sleep เบรตบอกตอนนี้ทุกคนในสนามก็ใกล้จะหลับอยู่แล้ว พังก์เดินจากไปท่ามกลางเสียงตะโกนด่าของคนดู ในช่วงท้ายรายการ เบรตประกาศแนะนำตัวซีนา เพื่อออกมาพูดคุยกัน ซึ่งซีนาก็ยอมรับว่าเขานับถือเบรตมาก และเขาจะไม่มีวันยิ่งใหญ่ได้เท่าเบรต จากนั้นเบรตก็ถามซีนาว่าจะจัดการยังไงกับไอ้คนเสแสร้งพังก์ และพังก์ก็ออกมาโวยวายจะเอาเรื่อง ทำให้ซีนาด่าพังก์ว่าไอ้เสแสร้งอีกคนนึง พังก์ขึ้นเวทีมาสาธยายความเทพของเขาว่าเขาเจ๋งกว่า ชอว์น ไมเคิลส์, เจ๋งกว่า สโตน โคลด์ และเจ๋งกว่า เดอะ ร็อก ด้วย เพราะเขาอัด เดอะ ร็อก ได้ในพริบตาทั้งที่ซีนา พยายามมาทั้งปีก็ไม่สำเร็จ ซีนาด่ากลับบ้าง บอกว่า พังก์เป็นแชมป์มา 300 กว่าวัน แล้วก็ทำให้เข็มขัดแชมป์ตกต่ำสุดๆ ทำได้แค่นั่งมองแมตช์คู่เอกของทุกๆ ศึกใหญ่ผ่านหน้าเขาไปตาปริบๆ เมื่อปีก่อนออกมาพูดซะดิบดี บอกว่าจะเปลี่ยนแปลงวงการให้ดีขึ้น สุดท้ายก็ล้มเหลวหมด เป็นแค่เรื่องโกหกเพื่อให้แฟนๆ ช่วยสนับสนุนให้เขาดังเท่านั้น ชั้นคนนี้ต้องไต่เต้ามาจากดาวรุ่ง กว่าจะมาเป็นที่รักของแฟนๆ ได้ต้องล้มลุกคลุกคลาน ผ่านช่วงเวลาร้ายๆ มามากมาย แต่ชั้นก็ยังยืนหยัดอยู่ได้ด้วยการเป็นตัวของตัวเอง ไม่เหมือนแกหรอก เปลี่ยนบุคลิกไปมา ขโมยสีกางเกงมาจากตำนานหอเกียรติยศ แล้วยังขโมยท่าไม้ตายศอกบินมาจากคนตายอย่าง แรนดี ซาเวจ อีก เพราะแกมันเป็นคนที่ยังค้นหาตัวเองไม่พบ แกคิดว่าการที่เป็นแชมป์มันจะหมายความว่าทุกคนต้องเคารพแก ที่ช่วง 2-3 สัปดาห์มานี้แกทำตัวน่ารำคาญขึ้นคงเป็นเพราะว่าแกกำลังกลัวว่าจะเสียแชมป์ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ ใช่มั้ย ชั้นจะขอพูดอะไรเป็นภาษาท้องถิ่นของที่นี่หน่อย (ซีนาพูดภาษาฝรั่งเศส) พังก์บอก แกกำลังทำตัวเองให้ต่ำลง จากการพูดภาษาถิ่นของคนที่นี่ ซีนาโมโหบอกว่าพอได้แล้ว คนดูเหล่านี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงได้มาอยู่ที่นี่ แกมันคนไร้ค่าที่ไม่ควรได้รับการเคารพเลยสักนิด สิ่งที่ชั้นพูดเมื่อกี้คือ "แกบอกว่าจะชนะในไนท์ออฟแชมเปียนส์ แต่ว่าชั้นจะเตะก้นแก" พังก์โมโหจะไปต่อยเบรตระบายอารมณ์ แต่ซีนาห้ามไว้ได้ทัน ซีนาท้าพังก์มาต่อยกัน แต่พังก์หันไปต่อยเบรตอีก คราวนี้เบรตบล็อกไว้ได้แล้วต่อยสวนจนพังก์ล้มกลิ้ง คลานหนีเป็นลูกหมากลับไปอย่างอนาถ ปล่อยให้เบรตกับซีนาฉลองกันบนเวที

ในปี 2019 เบรตได้รับการเสนอชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศ WWE Hall of Fame ในฐานะทีม The Hart Foundation ร่วมกับ Jim Neidhart

แชมป์และรางวัล แก้

มวยปล้ำสมัครเล่น แก้

 
เบรตกับแชมป์ WWF

มวยปล้ำอาชีพ แก้

อื่นๆ แก้

  • Hart was ranked the 39th greatest Canadian in 2004 in a poll by CBC which received more than 1.2 million votes.[52][53][54]

นัดที่เดิมพัน แก้

Winner (wager) Loser (wager) Location Event Date Notes
Bret Hart (hair) The Spoiler (mask) Toronto, Ontario WWF Toronto 13 มกราคม 1985 [55]

หมายเหตุ แก้

  1. Stu mainly trained Bret in amateur wrestling.[7][8]
  2. Hart announced his retirement in October 2000, but would later participate in 11 matches from 2010 to 2011 which involved minimal physical risk.
  3. Hart and Goldberg both became Triple Crown Champions upon winning the WCW World Tag Team Championship.
  4. Hart and Lex Luger are recognized as co-winners after both simultaneously eliminated each other.

การอ้างอิง แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Historical Dictionary of Wrestling. Scarecrow Press, inc. 2014. p. 129. ISBN 978-0-8108-7926-3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Historical Dictionary of Wrestling" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. 2.0 2.1 Hart, Diana; McLellan, Kirstie (2001). Under the Mat: Inside Wrestling's Greatest Family. Fenn. p. 22. ISBN 1-55168-256-7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Hart 2001 22 pp" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Bret Hart profile". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ July 30, 2008.
  4. "Bret 'Hitman' Hart honoured with MRU degree — 40 years after he dropped out". Calgary Sun. May 31, 2018.
  5. 5.0 5.1 "Exhibiting our pride". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. January 23, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2015. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Exhibiting our pride" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  6. 6.0 6.1 "WWE Hall of Fame: Bret Hart". WWE. สืบค้นเมื่อ September 15, 2015.
  7. (Hart 2007)
  8. "Exclusive interview: Bret Hart separates fact from fiction on who really trained in Stu Hart's Dungeon".
  9. (Hart 2007, p. 37)
  10. (Hart 2007, pp. 35–41)
  11. "Bret Hart retires". Slam Canoe. October 27, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2017.
  12. (Hart, Bret 2007, p. 8)
  13. Hart, Diana; McLellan, Kirstie (2001). Under the Mat: Inside Wrestling's Greatest Family. Fenn. p. 16. ISBN 1-55168-256-7.
  14. (McCoy 2007, p. 30)
  15. "An open letter to Shawn Michaels". Slam Wrestling. May 17, 1997.
  16. 16.0 16.1 "WWE World Tag Team Championship history".
  17. 17.0 17.1 "WWF Monday Night Raw". WWF Television. 1993-11-29. USA Network.
  18. Hart, Bret. "Bret "Hitman" Hart Responds to Ric Flair's Book". Calgary Sun. When I boast about being the best there is, it is because of three reasons...
  19. 19.0 19.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ DVD
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hart, Bret 2007 p. 32
  21. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hart, Bret 2007 p. 36
  22. "Inductee: Bret Hart". National Wrestling Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2018. สืบค้นเมื่อ 2017-05-27.
  23. "List of CAC Award Winners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2014. สืบค้นเมื่อ February 2, 2018.
  24. Oliver, Greg (April 3, 2016). "SLAM! Wrestling Canadian Hall of Fame: The Hart Family". Slam! Wrestling. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 22, 2015.
  25. "Canadian Wrestling Hall of Fame". Slam! Wrestling. Canadian Online Explorer. April 3, 2016.
  26. "Hall of Fame Inductions Report: Bret Hart, Larrry Hennig, Mike DiBiase, Dory Funk Sr., Bop Roop". PWTorch. July 6, 2006. สืบค้นเมื่อ August 27, 2018.
  27. Clevette, Jason (June 16, 2010). "Booker T enjoying life away from the spotlight". SLAM! Wrestling. Canoe.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2018. สืบค้นเมื่อ January 16, 2018.
  28. "Hall of Famers". 0362dc8.netsolhost.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2016. สืบค้นเมื่อ February 7, 2016.
  29. "Pro Wrestling Illustrated Award Winners Comeback of the Year". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2011. สืบค้นเมื่อ June 30, 2008.
  30. 30.0 30.1 "Pro Wrestling Illustrated Award Winners Feud of the Year". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2011. สืบค้นเมื่อ June 30, 2008.
  31. 31.0 31.1 31.2 "Pro Wrestling Illustrated Award Winners Match of the Year". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2011. สืบค้นเมื่อ March 26, 2009.
  32. "Pro Wrestling Illustrated Award Winners Most Hated Wrestler of the Year". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2011. สืบค้นเมื่อ June 30, 2008.
  33. "Pro Wrestling Illustrated Award Winners Inspirational Wrestler of the Year". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 22, 2011. สืบค้นเมื่อ June 30, 2008.
  34. "Pro Wrestling Illustrated Award Winners Editor's Award". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2011. สืบค้นเมื่อ June 30, 2008.
  35. "Pro Wrestling Illustrated Top 500 – 1993". Wrestling Information. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 19, 2011. สืบค้นเมื่อ June 30, 2008.
  36. Johnson, Mike (December 6, 2017). "Bret Hart, Kevin Owens inducted into Quebec Wrestling Hall of Fame". Pro Wrestling Insider. สืบค้นเมื่อ December 7, 2017.
  37. "Stampede International Tag Team Championship history". Wrestling=titles.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2008.
  38. "Stampede British Commonwealth Mid-Heavyweight Championship history". Wrestling-titles.com.
  39. "Stampede Wrestling North American Heavyweight Championship history". Wrestling-titles.com.
  40. "Stampede Wrestling Hall of Fame (1948–1990)". Puroresu Dojo. 2003.
  41. "WCW World Heavyweight Championship title history". WWE. สืบค้นเมื่อ December 30, 2007.
  42. 42.0 42.1 "WWE United States Championship history". WWE. สืบค้นเมื่อ December 30, 2007.
  43. "WCW World Tag Team Championship history". Wrestling-titles.com.
  44. 44.0 44.1 "Bret Hart's title history at WWE.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 28, 2009.
  45. "Triple Crown Club". WWE. October 18, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 4, 2009. สืบค้นเมื่อ February 21, 2011.
  46. "WWC Caribbean Tag Team Championship history". Wrestling-titles.com.
  47. "WWE Championship history". WWE. สืบค้นเมื่อ December 30, 2007.
  48. "WWE Intercontinental Championship history". WWE. สืบค้นเมื่อ December 30, 2007.
  49. "Middle East Cup Tournament". ProWrestlingHistory. สืบค้นเมื่อ November 30, 2014.
  50. "The Hart Foundation to join WWE Hall of Fame".
  51. 51.0 51.1 51.2 51.3 51.4 "And the winner is". WWE. February 23, 2008. สืบค้นเมื่อ February 21, 2011.
  52. Wall, Karen L. (2012). Game Plan: A Social History of Sports in Alberta. University of Alberta Press. p. 276 pp. ISBN 978-0888645944.
  53. Sornberger, Joe (2011). Dreams and Due Diligence: Till & McCulloch's Stem Cell Discovery and Legacy. University of Toronto Press. p. ? pp. ISBN 978-1442644854.
  54. MacGregor, Roy (2008). Canadians: A Portrait Of A Country And Its People. Penguin Canada. p. ? pp. ISBN 978-0143053088.
  55. "WWF Toronto". wrestlingdata.com.

บรรณานุกรม แก้

McCoy, Heath (2007). Pain and Passion: The History of Stampede Wrestling (Second ed.). ECW Press. ISBN 978-1-55022-787-1 – โดยทาง Google Books.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)

แหล่งที่มา แก้

Print

Film

อ่านเพิ่มเติม แก้

Biographies

  • Davies, Ross (2001). Bret Hart. Rosen Publishing Group. ISBN 0-8239-3494-2.
  • Billington, Tom; Coleman, Alison (2001). Pure Dynamite: The Price you Pay for Wrestling Stardom. Winding Stair Press. ISBN 1-55366-084-6.
  • McCoy, Heath. Pain and Passion: The History of Stampede Wrestling. Toronto: CanWest Books, 2005. ISBN 0-9736719-8-X
  • Hart, Julie (2013). Hart Strings. Tightrope Books. ISBN 978-1926639635.
  • Rally, Carter (2011). The Hitman's Legacy: A Fan's Guide to the Rise of Bret Hart Through the WWE and WCW, and the Heartbreak Faced in and Out of the Ring. Webster's. ISBN 978-1270792185.
  • Mudge, Jacqueline (1999). Bret Hart: The Story of the Wrestler They Call "the Hitman". Turtleback Books. ISBN 9780613210454.
  • Payan, Michael (2002). In the Ring with Bret Hart. PowerKids Press. ISBN 9780823960477.
  • James Dixon (Author), Lee Maughan (Author), Arnold Furious (Author), Bob Dahlstrom (Illustrator) (2013). Superstar Series: The Hart Foundation. HistoryOfWrestling. ISBN 9781291538410. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • R Ricciuti, Edward (1994). Face to face with Bret "Hit Man" Hart. Topdog Publications. ISBN 978-1567110753.
  • Martin, Marlow J (2016). Bret Hart: "The best there is, the best there was, and the best there ever will be". CreateSpace Independent Publishing. ISBN 978-1523811182.

Documentaries

  • John Pollock (Writer); Bret Hart; Ross Hart; Keith Hart; Bruce Hart (2010). Bret Hart: Survival of the Hitman (Documentary film). Canada; U.S.A: Fight Network.
  • Jim Ross (Interviewer); Bret Hart; Shawn Michaels (2011). Shawn Michaels vs Bret Hart: WWE's Greatest Rivalries (Documentary film). U.S.A; Canada: WWE.
  • Bret Hart (Subject) (2013). Bret Hitman Hart – The Dungeon Collection (Documentary film). U.S.A; Canada: WWE.

Radio

Videos

Interviews

Articles

แหล่งข้อมูลอื่น แก้