การถ่ายทอดลักษณะแบบผสม

(เปลี่ยนทางจาก Blending inheritance)

แนวคิดว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะแบบผสม (อังกฤษ: blending inheritance) เป็นแนวคิดที่แพร่หลายในหมู่นักชีววิทยาจำนวนมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อนที่วิชาพันธุศาสตร์จะได้รับการพัฒนา มีลักษณะเป็นเพียงแนวคิดที่เชื่อกันทั่วไปมากกว่าจะเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ โดยเชื่อว่าลักษณะที่จะได้รับการถ่ายทอดมานั้นเกิดจากการสุ่มผสมระหว่างลักษณะสุดขั้วทั้งสองในรุ่นพ่อแม่ เช่นความสูงของคนคนหนึ่งที่มีพ่อแม่คนหนึ่งสูงคนหนึ่งเตี้ยจะอยู่ระหว่างความสูงของพ่อแม่เสมอ ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดของแนวคิดนี้ เนื่องจากหากเป็นจริง ขอบเขตความสูงของคนในแต่ละรุ่นย่อมแคบลงเรื่อยๆ จนถึงรุ่นหนึ่งความสูงของแต่ละคนจะแทบไม่ต่างกัน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในสปีชีส์หนึ่งๆ จะมีลักษณะที่ขมวดรวมเข้าหาจนแทบจะเหมือนกัน ดังนั้นกล่าวได้ว่า "แนวคิดการถ่ายทอดลักษณะแบบผสมนั้นเข้าไม่ได้กับความเป็นจริงที่เห็นชัดแจ้ง ถ้าความแตกต่างจะค่อยๆ หายไปจริง แต่ละรุ่นที่ผ่านไปก็ควรจะมีลักษณะเหมือนกันมากกว่ารุ่นก่อน จนถึงตอนนี้คนทุกคนก็ควรจะมีหน้าตาเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนเหมือนโคลนกันมาไปแล้ว"[1]

Example of blending inheritance using the color of flowers to show how a species color variation would converge upon one color in relatively few generations if its offspring's color variations were truly bounded by the parent's colors.

นอกจากนี้แนวคิดนี้ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมลักษณะบางอย่างที่ไม่พบมาหลายรุ่นกลับพบขึ้นมาได้ในรุ่นถัดมาโดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่นการมีตาสีฟ้าและผมสีบลอนด์ ซึ่งอาจไม่พบเลยในครอบครัวหลายต่อหลายรุ่น จนมีพ่อแม่ที่มีผมและตาสีเข้มแต่งงานกันมีลูกผมบลอนด์ตาสีฟ้า ซึ่งไม่อาจเป็นไปได้หากถือตามแนวคิดการถ่ายทอดลักษณะแบบผสม

อ้างอิง

แก้
  1. "blending inheritance is incompatible...with obvious fact. If it were really true that variation disappeared, every generation should be more uniform than the previous one. By now, all individuals should be as indistinguishable as clones." Dawkins, Richard, The Guardian, Saturday 8 February 2003