ไมโครฟิลาเมนท์

(เปลี่ยนทางจาก ไมโครฟิลาเมนต์)

ไมโครฟิลาเมนท์ (อังกฤษ: microfilaments) หรือ แอกทินฟิลาเมนท์ (อังกฤษ: actin filaments) เป็นโปรตีนฟิลาเมนท์ภายในไซโทพลาซึมของเซลล์ยูคารีโอตซึ่งประกอบขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของไซโทสเกเลตัน ไมโครฟิลาเมนต์ประกอบด้วยไบโอพอลีเมอร์แอคติน (actin) เป็นหลัก แต่ก็ถูกปรับแต่งผ่านและมีปฏิสัมพันธ์กับโปรตีนอื่น ๆ จำนวนมากภายในเซลล์ ไมโครฟิลาเมนต์มักมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 7 nm และประกอบด้วยแท่ง (strands) ของแอคตินสองแท่ง หน้าที่ขอไมโครฟิลาเมนต์ เช่น ในการไซโทคิเนซิส, การเคลื่อนที่แบบอะมีบอยด์, การเคลื่อนที่ของเซลล์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์, เอนโดไซโทซิส และ เอกโซไซโทซิส, การหดตัวของเซลล์ และเสถียรภาพเชิงกลของเซลล์ ไมโครฟิลาเมนต์มีความยืดหยุ่นและแข็งแรงมาก สามารถต้านทานต่อแรงบีบอัดหลายพิโคนิวตัน (piconewtons) และต่อการแตกหักของเส้นใยเช่นกัน ในกระบวนการของเซลล์เช่นการเคลื่อนที่ของเซลล์ ปลายด้านหนึ่งของแอคตินฟิลาเมนต์จะยาวออก ในขณะที่อีกปลายหนึ่งจะหดตัวลง ด้วยการทำงานของมอเตอร์ระดับโมเลกุล (molecular moter) ไมโอซิน II (Myosin II)[1] นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของมอเตอร์ระดับโมเลกุลสำหรับการหดตัว (contractile molecular motors) กลุ่มที่ทำงานด้วยแอคโตไมโอซิน (actomyosin-driven) ที่ซึ่งเส้นใยบาง ๆ นั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำหรับการดึง (pulling action) ในกระบวนการปราศจาก ATP (ATP-dependent) ของไมโอซินในการหดตัวของกล้ามเนื้อ และการเคลื่อนที่ซูโดพอด (pseudopod)[2]

ไมโครทิวบูลในไฟบรอบลาสต์ (fibroblast) เอมบรีโอของหนู ย้อมสีด้วย Fluorescein isothiocyanate-phalloidin

อ้างอิง

แก้
  1. Roberts K, Raff M, Alberts B, Walter P, Lewis J, Johnson A (March 2002). Molecular Biology of the Cell (4th ed.). Routledge. p. 1616. ISBN 0-8153-3218-1.
  2. Gunning PW, Ghoshdastider U, Whitaker S, Popp D, Robinson RC (June 2015). "The evolution of compositionally and functionally distinct actin filaments". Journal of Cell Science. 128 (11): 2009–19. doi:10.1242/jcs.165563. PMID 25788699.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้