ดูภาพที่มีความละเอียดสูงกว่า(665 × 1,000 พิกเซล, ขนาดไฟล์: 590 กิโลไบต์, ชนิดไมม์: image/jpeg)

Wikimedia Commons logo รูปภาพหรือไฟล์เสียงนี้ ต้นฉบับอยู่ที่ คอมมอนส์ รายละเอียดด้านล่าง เป็นข้อความที่แสดงผลจาก ไฟล์ต้นฉบับในคอมมอนส์
คอมมอนส์เป็นเว็บไซต์ในโครงการสำหรับเก็บรวบรวมสื่อเสรี ที่ คุณสามารถช่วยได้

ความย่อ

คำอธิบาย
ไทย: จากประวัติวัดพันเตาในหนังสือ “ประชุมตำนานลานนาไทยเล่ม ๑” โดยสงวน โชติสุขรัตน์ กล่าวว่า “..............

จ.ศ. ๑๒๓๗ (พ.ศ. ๒๔๑๘) ปีกุน สัปตศก วันพุธเพ็ญเดือน ๘ เจ้าอินทวิไชยานนท์เจ้านครเชียงใหม่ฉลองวิหารวัดข่วงสิงห์เหนือเวียงเชียงใหม่ วันเสาร์เดือน ๑๐ ขึ้น ๘ ค่ำ ปก (ปก-ยกเสา) วิหารวัดพันเตากลางเวียงเชียงใหม่ที่เจ้าอินทวิไชยานนท์หื้อ (หื้อ – ให้) รื้อเอาทองคำ (หอคำ - วังหรือท้องพระโรงหน้าของเจ้านครเชียงใหม่เช่นเดียวกับ วังหรือท้องพระโรงของเจ้านายทางภาคกลาง) ของพระเจ้ามโหตรประเทศไปสร้าง ..... จ.ศ. ๑๒๔๘ (พ.ศ. ๒๔๒๙) ปีจอ อัฐศก วันอาทิตย์เพ็ญเดือน ๗ พระเจ้าชีวิตวิไชยานนท์ทำบุญฉลองวิหารวัดเจดีย์หลวงแห่งหนึ่ง ฉลองวิหารวัดพันเตากลางเวียงที่รื้อเอาหอคำของ พระเจ้าชีวิตมโหตรประเทศมาสร้างแห่งหนึ่งวิหารวัด สบขมิ้นแห่งหนึ่ง วิหารหอธรรมแห่งหนึ่ง สองแห่งนี้ศรัทธาเขาสร้างต่างหาก มาฉลองพร้อมกันเป็นคราวเดียวกัน” ประวัติวัดพันเตาเท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นการค้นคว้าจากเอกสาร แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยบางประการที่น่าสนใจเกี่ยวกับตำนานของวัดพันเตานี้จากคำบอกเล่าของเจ้าคณะอำเภอ คือพระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพันอ้น ต.พระสิงห์ อ.เมือง เชียงใหม่ ในขณะนั้น (พ.ศ. ๒๕๒๖) ได้เล่าถึงประวัติดั้งเดิมของวัดพันเตาว่ามีอายุเก่าแก่ร่วมสมัยกับวัดเจดีย์หลวง ซึ่งจากประวัติวัดเจดีย์หลวง ในรัชสมัยของพระเจ้าเมืองแก้วซึ่งทรงเป็นปนัดดา (เหลน) ของพระเจ้าติโลกราช ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๘ – ๒๐๖๘ ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเจดีย์หลวงอย่างขนานใหญ่อีกครั้ง โปรดให้ช่างหล่อพระอัฏฐารสยืนสูง ๑๘ ศอก ไว้เป็น พระประธานประจำพระอาราม ท่านพระครูศรีปริยัติยานุ รักษ์ ยังได้เล่าเพิ่มเติมอีกว่าพระประธานของวิหารวัดพันเตา นี้สร้างขึ้นพร้อมกับวิหาร วัดพันเตาตั้งอยู่ใกล้สี่แยก กลางเวียง เชียงใหม่ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์และตำนานของเมืองเชียงใหม่เป็นอย่างมาก บริเวณสี่แยกกลางเวียงเชียงใหม่นี้แต่แรกสร้างเมือง เชียงใหม่ขึ้นนั้นไม่ได้กำหนดว่าให้บริเวณนี้เป็นศูนย์กลาง หรือมีการสร้างโบราณสถานสำคัญขึ้นเป็นหลักของเมืองแต่ อย่างใดแต่บังเอิญเป็นตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของ เมืองพอดี สี่แยกกลางเวียงนี้มีประวัติความเป็นมาตาม ตำนานว่า “..........พระเจ้าเม็งรายครองเมืองเชีงใหม่ ต่อมา จนกระทั่ง พ.ศ. ๑๘๖๐ ทรงพระชนมายุได้ ๗๙ พรรษา วันหนึ่งเสด็จไปประพาสที่ตลาดกลางเวียงเกิดอัสนีบาต ตกต้องพระองค์สวรรคตในท่ามกลางเมืองนั้น (ที่ที่พระองค์ ต้องอัสนีบาตสวรรคตนั้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ ถนนพระ สิงห์) ดังนั้นบริเวณสี่แยกกลางเวียงและอาณาเขตใกล้เคียง กันนี้จึงเป็นเขตที่ควรอนุรักษ์และส่งเสริมเพื่อเอกลักษณ์ทาง ศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างยิ่ง

วิหารวัดพันเตา เดิมคือ หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศ (เจ้าครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๕) ที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (เจ้าครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗) อุทิศถวายวัดให้สร้างเป็น วิหารเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๙ หอคำหลังนี้เป็นคุ้มหรือ ท้องพระโรงหน้าของพระเจ้าเชียงใหม่ เช่นเดียวกับวังหรือ ท้องพระโรงของเจ้านายทางภาคกลาง หอคำหรือวิหารหลัง นี้เป็นเรือนโบราณชั้นดีของภาคเหนือ ที่ยังคงรักษา เอกลักษณ์ของภาคเหนือไว้ได้มากที่สุดและค่อนข้างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะได้รับการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ไปแล้ว แต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสถาปัตยกรรมให้แตกต่างไปจากการสร้างครั้งแรกการบูรณะวิหารทำการบูรณะส่วนฐานและผนังด้านหลัง ซึ่งถูกฝนทำลายจนหลุดพังเสียหายประกอบกับเกิดน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนักส่วนของผนังด้านหลังเสียหายมาก เศษไม้ที่หลุดหล่นลงมาจมน้ำ บางส่วนก็ถูกน้ำพัดไปจึงได้มีการซ่อมผนังด้านหลังโดยทำผนังคอนกรีตระหว่างช่วงเสาตรงกึ่งกลางผนังสำหรับฐานเดิมของวิหารที่เป็นเสาไม้ซึ่งมีการผุกร่อนมาก่อน ทางวัดได้ทำการเสริมฐานเสาเติมด้วยคอนกรีต และทำการก่ออิฐ โบกปูนเสริมระหว่างเสาจากบริเวณร่องตีนช้าง (ซึ่งหายไป) ลงมาจนถึงพื้นและทำพื้นซีเมนต์ปูกระเบื้องเคลือบ (ราว ๑๐ กว่าปีมาแล้ว ประมาณก่อน พ.ศ. ๒๕๑๘) ทำการซ่อมหลังคาและเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา โครงสร้างสถาปัตยกรรมของวิหารพันเตา ตัวอาคาร เนื่องจากสถาปัตยกรรมแบบเชียงแสนส่วนใหญ่ ใช้ไม้เป็นวัสดุหลักมีโครงสร้างแบบกรอบยึดมุมมาก เสาและฝาทุกส่วนเป็นไม้โดยเฉพาะฝามีแบบวิธีการสร้างพิเศษคล้ายกับฝาปะกนของฝาไม้สมัยอยุธยา แต่มีขนาดตัวไม้ที่แน่นหนามั่นคงกว่า คือ เป็นกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยม อัดช่องภายในด้วยแผ่นไม้ลูกฟัก สัดส่วนใหญ่หนากว่า ฝาปะกน การทำฝาแบบทางเหนือนี้ ใช้ตัวไม้โครงเป็นช่องตารางยึดติดกับช่วงโครงสร้างก่อนแล้วจึงบรรจุแผ่นลูกฟักภายหลังฝาแบบนี้แข็งแรงและมั่นคงเพราะต้องทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักของส่วนบนอาคารด้วย การทำฝาผนังของวิหารวัดพันเตาก็เป็นลักษณะนี้ โดยเฉพาะวิหารนี้ฝาผนังด้านข้างจะยาวตลอดเป็นแนวเดียวกัน ไม่มีการย่อมุมซึ่งเป็นที่นิยมมากทางภาคเหนือ คือ การย่อมุมตรงมุขหน้าวิหารทั้งๆ ที่เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก การสร้างวิหารนี้ช่างทางเหนือสามารถแก้ปัญหาที่ความรู้สึกหนักทึบของฝาผนังด้านข้างที่มีขนาดใหญ่มากๆ นี้ได้ โดยอาศัยการแบ่งพื้นที่ของผนังด้วยกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยมดังที่กล่าวมาแล้ว พร้อมกันนั้นก็ใช้ประโยชน์จากฝาผนังแบบนี้ให้เป็นตัวช่วยรับน้ำหนักจากหลังคาที่มีขนาดใหญ่ตามขนาดวิหารส่วนประดับตัวอาคาร ประตู มีประตูทางเข้าทั้งหมด ๓ ทางคือ ประตูใหญ่ทางด้านหน้า ประตูด้านข้างทางด้านทิศเหนือ อยู่ค่อนมาทางประตูหน้า ทางทิศใต้อยู่ค่อนไปทางด้านหลัง ประตูที่สำคัญคือประตูด้านหน้าซึ่งประกอบด้วยซุ้มประตูไม้แกะสลักประดับกระจก เป็นรูปสัตว์ต่างๆ ได้แก่ นกยูง นาค ลิง หงส์ ประกอบลวดลายที่กรอบประตูส่วนบนเป็นโก่งคิ้วไม้แกะสลักลายดอกไม้ใบไม้ บานประตูเป็นไม้แผ่นเรียบ หน้าต่าง ทางด้านหน้าวิหาร หน้าต่างจะเป็นซุ้มไม้แกะสลักแบบทางเหนือที่หน้าบันของซุ้มหน้าต่างแกะสลักลวดลายใบไม้ดอกไม้อยู่ระหว่างซุ้ม ๒ ชั้น และภายในซุ้มชั้นในสลักเป็นรูปสัตว์คล้ายสุนัขเหมือนกับตัวสัตว์ที่อยู่ใต้นกยูงในซุ้มประตูใหญ่ เข้าใจว่าจะหมายถึงปีที่สร้างวิหาร คือ ปีจอ (การสลักรูปสัตว์ตามปีที่สร้างนี้นิยมทำกันในภาคเหนือ) สำหรับหน้าต่างด้านอื่นๆ เป็นหน้าต่าง ๒ ชั้น ชั้นนอกเป็นหน้าต่างลูกมะหวด ชั้นในเป็นหน้าต่างไม้แผ่นเรียบมีอกเลาที่ตกแต่งด้วยลายสลัก ทวย เป็นไม้แกะสลักลายนก ๓ ตัวแบบเชียงใหม่ พวกลายเมฆไหล แกะสลักเป็นรูปตัวครุฑ ๓ หัว เครื่องบน เนื่องจากวิหารวัดพันเตามีขนาดใหญ่ (ประมาณ ๒๘-๑๗ เมตร) ตัววิหารแบ่งเป็น ๗ ห้อง(แปดช่วงเสา) แต่ผนังยาวตลอดแนวเดียวกัน หลังคาจึงได้มีการลดชั้นเพื่อแก้ปัญหาความรู้สึกที่กดทับ ซึ่งจะเกิดขึ้นถ้าทำหลังคาตลอดเพียงชั้นเดียว การลดชั้นหลังคา ลดลง ๒ ชั้น ตรงระหว่าง ๓ ห้องริมสุด ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เครื่องประดับหลังคาคล้ายกับทั่วไปคือ มีช่อฟ้า รวยระกา หางหงส์ ที่เป็นเครื่องไม้แกะสลักประดับกระจก (หลุดไปเกือบหมดแล้ว) ที่สันหลังคาประดับด้วยหงส์โลหะสีเงิน โครงสร้างภายในหลังคาวิหาร มีชื่อรองรับตุ๊กตาและชื่อลอยทำแบบลูกฟักของจั่วทางด้านหน้า เพียงแต่ไม่กรุไม้ลูกฟักเท่านั้น โครงหลังคาและกรุหน้าจั่วเช่นนี้ถือว่าเป็นมงคลทางภาคกลาง เรียกว่า “แบบภควัม” โครงสร้างภายในของวิหารจะเห็นความประณีตบรรจงของการเข้าไม้ มีการลดคิ้วเส้นบัวของลูกฟักและลดคิ้วของขื่อและเต้าอย่างสวยงาม บางแห่งจะพบฝีมือการแกะสลักไม้งดงามมาก เช่น ขื่อ อกเลาหน้าต่างเป็นต้น

ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูล

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และ ศูนย์วัฒนธรรม สถาบันราชภัฏจังหวัดเชียงใหม่. 2535. วัดสำคัญของนคร

เชียงใหม่. เล่ม 1. เชียงใหม่ : ส ทรัพย์การพิมพ์.
นี่คือภาพถ่ายของโบราณสถานในประเทศไทย ระบุโดยเลขทะเบียนกรมศิลปากร
0003581 (ลิงก์กรมศิลปากร)
วันที่
แหล่งที่มา งานของตัว
ผู้สร้างสรรค์ Roopyai Art

การอนุญาตใช้สิทธิ

ข้าพเจ้า ในฐานะผู้ถือลิขสิทธิ์ของภาพหรือสื่อนี้ อนุญาตให้ใช้ภาพหรือสื่อนี้ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
w:th:ครีเอทีฟคอมมอนส์
แสดงที่มา อนุญาตแบบเดียวกัน
คุณสามารถ:
  • ที่จะแบ่งปัน – ที่จะทำสำเนา แจกจ่าย และส่งงานดังกล่าวต่อไป
  • ที่จะเรียบเรียงใหม่ – ที่จะดัดแปลงงานดังกล่าว
ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้:
  • แสดงที่มา – คุณต้องให้เกียรติเจ้าของงานอย่างเหมาะสม โดยเพิ่มลิงก์ไปยังสัญญาอนุญาต และระบุหากมีการเปลี่ยนแปลง คุณอาจทำเช่นนี้ได้ในรูปแบบใดก็ได้ตามควร แต่ต้องไม่ใช่ในลักษณะที่แนะว่าผู้ให้อนุญาตสนับสนุนคุณหรือการใช้งานของคุณ
  • อนุญาตแบบเดียวกัน – หากคุณดัดแปลง เปลี่ยนรูป หรือต่อเติมงานนี้ คุณต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกันหรือแบบที่เหมือนกับสัญญาอนุญาตที่ใช้กับงานนี้เท่านั้น


คำบรรยายโดยย่อ

เพิ่มคำบรรยายทรรทัดเดียวเพื่อขยายความว่าไฟล์นี้มีอะไร

ไอเทมที่แสดงอยู่ในไฟล์นี้

ประกอบด้วย

exposure time อังกฤษ

8 วินาที

f-number อังกฤษ

11

focal length อังกฤษ

20 มิลลิเมตร

ISO speed อังกฤษ

200

media type อังกฤษ

image/jpeg

checksum อังกฤษ

04029e5f52f8574d11f10bcf9d379ecb119bbd51

data size อังกฤษ

604,222 ไบต์

1,000 พิกเซล

665 พิกเซล

ประวัติไฟล์

คลิกวันที่/เวลาเพื่อดูไฟล์ที่ปรากฏในขณะนั้น

วันที่/เวลารูปย่อขนาดผู้ใช้ความเห็น
ปัจจุบัน23:33, 27 กันยายน 2557รูปย่อสำหรับรุ่นเมื่อ 23:33, 27 กันยายน 2557665 × 1,000 (590 กิโลไบต์)Roopyai ArtUser created page with UploadWizard

หน้าต่อไปนี้ โยงมาที่ภาพนี้:

ข้อมูลเกี่ยวกับภาพ