ไซโคลคอนเวอร์เตอร์

ไซโคลคอนเวอร์เตอร์ (cycloconverter (CCV)) เป็นตัวแปลง รูปคลื่น AC ที่มีความถี่คงที่และแรงดันคงที่ ให้เป็นรูปคลื่น AC อื่นที่มีความถี่ต่ำกว่าโดยการสังเคราะห์รูปคลื่นที่ขาออก จากเศษส่วนของแหล่งจ่าย AC โดยไม่ต้องมีการเชื่อมโยงกับไฟ DC ในช่วงกลาง (Dorf 1993, pp. 2241–2243 และ Lander 1993, p. 181) CCV มีสองชนิดหลักได้แก่ชนิดกระแสไหลเวียนและชนิดโหมดปิดกั้น ผลิตภัณฑ์กำลังสูงในทางพานิชย์ส่วนใหญ่เป็นชนิดโหมดปิดกั้น[2]

ภาพแสดงไซโคลคอนเวอร์เตอร์แบบโหมดปิดกั้น (อังกฤษ: blocking mode cycloconverter)[1]

ลักษณะเฉพาะ แก้

ขณะที่อุปกรณ์สวิตช์ที่ใช้ SCR แบบควบคุมด้วยเฟสสามารถนำมาใช้ตลอดช่วงกำลังของ CCV, CCV แบบ ไตรแอค ต้นทุนต่ำพลังงานต่ำก็ถูกสงวนไว้สำหรับการใช้ในงานที่มีโหลดแบบความต้านทาน ทั้งแอมพลิจูดและความถี่ของแรงดันขาออกของตัวแปลงมีการเปลี่ยนแปลง อัตราส่วนของความถี่ที่ขาออกต่อขาเข้าของ CCV แบบสามเฟสจะต้องน้อยกว่าประมาณหนึ่งส่วนสามสำหรับ CCV โหมดกระแสไหลเวียนหรือครึ่งหนึ่งสำหรับ CCV โหมดปิดกั้น(Lander 1993, p. 188)[3] คุณภาพของรูปคลื่นที่ขาออกจะดีขึ้นเมื่อ พัลส์นัมเบอร์ ของ วงจรสะพาน ที่ใช้อุปกรณ์สวิตช์ (อังกฤษ: switching-device bridge) ในรูปแบบการทำงานแบบเลื่อนเฟส (อังกฤษ: phase-shifted configuration) ในขาเข้าของ CCV มีค่าเพิ่มขึ้น โดยทั่วไป CCV สามารถมี configuration ที่มีอัตราส่วนขาเข้าต่อขาออก เป็น 1 เฟส/1 เฟส, 3 เฟส/1 เฟสและ 3 เฟส/3 เฟส แต่ที่ใช้งานมากที่สุดเป็นแบบ 3 เฟส/3 เฟส[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Bose, Bimal K. (2006). Power Electronics and Motor Drives : Advances and Trends. Amsterdam: Academic. p. 126. ISBN 978-0-12-088405-6.
  2. Klug, Dieter-Rolf; Klaassen, Norbert (2005). "High Power Medium Voltage Drives - Innovations, Portfolio, Trends". European Conference on Power Electronics and Applications. p. 5. doi:10.1109/EPE.2005.219669. {{cite conference}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  3. Bose (2006), p. 153