โอมากาเซะ (ญี่ปุ่น: お任せโรมาจิomakase) เป็นวลีภาษาญี่ปุ่น ใช้ขณะสั่งอาหาร มีความหมายว่า "ตามใจ/แล้วแต่คุณเลย" โดยมาจากคำว่า "มอบความไว้วางใจ" (ญี่ปุ่น: 任せるโรมาจิmakaseru)[1][2] คำว่าโอมากาเซะนิยมใช้ทั่วไปสำหรับมื้ออาหารในร้านอาหารญี่ปุ่นที่ซึ่งลูกค้าเป็นผู้ให้เชฟเป็นคนคัดเลือกและเสิร์ฟอาหารพิเศษประจำฤดูกาล[3] คำคู่ตรงข้ามของ omakase ในภาษาญี่ปุ่น คือ โอโกโนมิ (ญี่ปุ่น: お好みโรมาจิokonomi) ซึ่งแปลว่าการเลือกว่าจะสั่งอาหารอะไร[4]

ตัวอย่างอาหารจานที่เสิร์ฟในโอมากาเซะ 12 จาน

ในขณะที่ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันนิยมใช้โอมากาเซะในการเรียกภัตตาคารซูชิที่อิตามาเอะ (เชฟ) เป็นคนคัดสรรหรือจัดสรรให้ หรือคือตรงข้ามกับการสั่ง อาหารจานเดี่ยว[5] ในภัตตาคารซูชิแบบโอมากาเซะ เชฟจะเป็นผู้เสิร์ฟอาหารทีละจานไล่เรียงกันไป เริ่มจากจานที่เบา ๆ ไปยังจานที่หนักขึ้น[6] อย่างไรก็ตาม คำนี้ไม่ได้ใช้เรียกเฉพาะซูชิหรือปลาดิบ แต่ยังสามารถรวมถึงการย่าง, การนึ่ง และวิธีประกอบอาหารวิธีอื่น ๆ[7][8]

ในมิชลินไกด์เขียนถึงโอมากาเซะไว้ว่า "มีประสบการณ์การทานอาหารหรูหราไม่กี่ชนิดที่จะได้รับการยกย่องเชิดชู หรือเทียบเคียงได้" กับโอมากาเซะ[9] ลูกค้าที่รับประทานโอมากาเซะคาดหวังให้เชฟเป็นผู้รังสรรค์จานใหม่ ๆ และสร้างความตื่นตาตื่นใจในการคัดสรรจานอาหารที่นำมาเสิร์ฟ มื้ออาหารแบบโอมากาเซะจึงอาจเทียบเคียงได้กับ "ประสบการณ์ทางศิลปะ"[10][11] ลูกค้าโดยทั่วไปมักได้รับประทานจานปลาคุณภาพสูงที่ราคาต่ำกว่าหากเลือกสั่งเป็นจานเดี่ยว[12]

อ้างอิง แก้

  1. "お任せの英語・英訳 - 英和辞典・和英辞典 Weblio辞書" [Omakase English Translation – English-Japanese and Japanese-English Weblio Dictionary] (ภาษาญี่ปุ่น). Weblio. สืบค้นเมื่อ 20 May 2016.
  2. Daijisen. "Omakase" 御任せ. kotobank.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 11 July 2021.
  3. Luber, M.; Cohen, B. (2019). Stuff Every Sushi Lover Should Know. Stuff You Should Know. Quirk Books. p. 77 pp. ISBN 978-1-68369-159-4. สืบค้นเมื่อ July 21, 2020.
  4. "Omakase or Okonomi: How to Order Your Delicious Sushi?". Japan Info.
  5. Corson 2007, pp. 318–9.
  6. Corson 2007, p. 77.
  7. Corson 2007, p. 98.
  8. Corson 2007, p. 113.
  9. "Kitchen Language: What Is Omakase?". MICHELIN Guide (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-07-13.
  10. Corson 2007, p. 102.
  11. Corson 2007, p. 288.
  12. Issenberg 2007, p. 121.

บรรณานุกรม แก้