เพลงโหมโรงหมายถึงเพลงที่ใช้เบิกโรง เพื่อเป็นการประกาศให้ผู้คนทราบว่าที่นี่มีงานอะไร และเพื่ออัญเชิญเหล่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงให้มาชุมนุมในงานเพื่อความเป็นสิริมงคลในงานนั้นอีกด้วย

เพลงโหมโรงแบ่งได้ดังนี้

โหมโรงพิธี แก้

มี 3 ประเภทคือ โหมโรงเช้า โหมโรงเย็น และโหมโรงเทศน์

  • โหมโรงเช้าใช้สำหรับการทำบุญเลี้ยงพระมี 5 เพลงคือสาธุการ เหาะ รัว กลมและชำนาญ
  • โหมโรงเย็นใช้ในพิธีที่นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์มี 13 เพลงคือสาธุการ ตระ รัวสามลา ต้นเข้าม่าน เข้าม่าน ปฐม ลา เสมอ รัว เชิด กลม ชำนาญ กราวใน ต้นเข้าม่านและลา
  • โหมโรงเทศน์ใช้ในพิธีการแสดงพระธรรมเทศนา มี 6 เพลงคือสาธุการ กราวใน เสมอ เชิด ชุบและลา

โหมโรงโขนและละคร แก้

ใช้บรรเลงเพื่อประกาศว่าที่นี่จะมีการแสดงโขนหรือละคร รวมถึงอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงด้วย โหมโรงโขนและละครแบ่งได้ดังนี้

โหมโรงละคร แก้

  • ถ้าแสดงละครตอนเช้าหรือตอนเย็น ใช้เพลงดังนี้ ตระ รัวสามลา เข้าม่าน ปฐม ลา เสมอ รัว เชิด กลม ชำนาญ กราวในและลา
  • ถ้าแสดงละครตอนกลางวัน ใช้เพลงดังนี้ กราวในสามท่อน เสมอข้ามสมุทร รัวสามลา เชิด ชุบ ลา กระบองกัณฐ์ ตะคุกรุกลน เพลงเรือ เหาะเรือและรัว

โหมโรงโขน แก้

  • โหมโรงโขนเช้า มีทั้งหมด 9 เพลงดังนี้ ตระสันนิบาต เข้าม่านเที่ยวลา เสมอรัว เชิด กลม ชำนาญ กราวใน ตะคุกรุกลนและกราวรำ
  • โหมโรงโขนกลางวัน ใช้เพลงดังนี้ กราวใน เสมอข้ามสมุทร เชิด ชุบ ตระบองกัน ตะคุกรุกล้น ใช้เรือ ปลูกต้นไม้ คุกพาทย์ พระพิราพ เสียน เชิด ปฐม รัวและบาทสกุณี
  • โหมโรงโขนเย็น ใช้เพลงดังนี้ ตระสันนิบาต เข้าม่าน ลา กราวใน เชิดและกราวรำ

โหมโรงเสภา แก้

ใช้ประกอบการขับเสภา โดยบรรเลงสลับกับการขับเสภา โหมโรงชุดนี้มี 2 เพลงคือ

  • รัวประลองเสภา ใช้เพืออุ่นเครื่องนักดนตรี ก่อนที่จะขับเสภาในลำดับต่อไป
  • ตัวเพลงโหมโรงเสภา เป็นเพลงเดี่ยวๆ มาบรรเลงเป็นชุดสั้นๆเช่นอัฐมบาท จุฬามณี แขกมอญ พม่าวัด ฯลฯ

โหมโรงมโหรี แก้

ใช้เหมือนกับโหมโรงเสภา แต่จะไม่มีเพลงรัวประลองขึ้นต้นเท่านั้น

โหมโรงหนังใหญ่ แก้

ใช้เพลงชุดโหมโรงเย็น แต่ใช้ปี่กลางบรรเลง เรียกทางที่เล่นว่า ทางกลาง