โรงละครของจักรพรรดิแนโร

โรงละครของจักรพรรดิแนโร (ละติน: Theatrum Neronis) เป็นโรงละครส่วนตัวของจักรพรรดิแนโรแห่งจักรวรรดิโรมัน สร้างขึ้นในโรม เป็นที่รู้จักเพียงในแหล่งข้อมูลลายลักษณ์อักษร กระทั่งถูกค้นพบในปี 2020 ระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดี ซากของโรงละครถูกขุดค้นเรื่อยมาตลอดปี 2023 โดย ผู้ตรวจการโบราณคดีพิเศษแห่งโรม [it][1] ก่อนที่จะประกาศการค้นพบทางโบราณคดีนี้ในปีเดียวกัน

โรงละครของจักรพรรดิแนโร
จุดที่มีการขุดค้นพบโรงละครของแนโร ตั้งอยู่ทางซ้ายของภาพนี้ ภายใต้ลานตอนบนของปาลัซโซเดเปนีเตนซีเอรี
โรงละครแนโรตั้งอยู่ในโรม
โรงละครแนโร
โรงละครแนโร
ภายในโรมของออกุสตุส
แผนที่
คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่เต็ม
ที่ตั้งอาเกร์วาตีกานุส
พิกัด41°54′6″N 12°27′39″E / 41.90167°N 12.46083°E / 41.90167; 12.46083
ประเภทRoman theatre
ความเป็นมา
ผู้สร้างจักรรพรรดิแนโร
สร้าง54–64 AD

โรงละครตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำทีเบอร์ ในพื้นที่อาเกร์วาตีกานุส ใน โฮร์ตี ของอากริปปีนาผู้อาวุโส พื้นที่เดียวกับที่กาลีกูลาเคยสร้างโรงละครสัตว์ของเขาขึ้น[1] ซากของโรงละครที่ขุดค้นพบนั้นอยู่ในลานของวังเดลลาโรเวเรในนครโรม

ปรากฏการกล่าวถึงโรงละครนี้โดยเปิดเผยเฉพาะในงานเขียนของปลีนีผู้อาวุโส และมีการกล่าวถึงโดยอ้อมโดยซูเอโตนีอุส และ ตาซีตุส[2] ตามคำบันทึกของปลีนี จักรพรรดิแนโรจัดแสดงสมบัติที่ยึดมาได้จากอดีตกอนซูลไว้ในโรงละครส่วนตัว (theatrum peculiare) ของเขา ซึ่งใช้งานโดยแนโรสำหรับการซักซ้อมการแสดงร้องเพลงในที่สาธารณะของเขาซึ่งจัดที่โรงละครปอมเปย์ โรงละครนี้กว้างใหญ่มากพอที่จะทำให้แนโรพอใจ[3] ซูเอโตนีอุสเขียนไว้ว่าในระหว่างเทศกาล เนโรเนีย จักรพรรดิแนโรสัญญาว่าจะปรากฏตัว in hortis ("ในสวน") คำนี้เป็นคำกล่าวโดยอ้อมถึงโรงละครส่วนตัวแห่งนี้[4][2] ส่วนตาซีตุสระบุว่าในระหว่าง Ludi Juvenales แนโรได้ขับร้อง per domum aut hortos[5] ซึ่งเป็นอีกหนึ่งการกล่าวโดยอ้อมถึงโรงละครแห่งนี้[2] นอกจากนี้ ยังเป็นไปได้ว่า domestica scaena ที่ตาซีตุสบันทึกไว้ว่าเป็นสถานที่ที่แนโรใช้ชื่นชมอัคคีภัยโรมครั้งใหญ่เมื่อปี 64 นั้นไม่ได้หมายถึงหอคอย Gaius Maecenas บนเขาเอสกีลิน แต่หมายถึงโรงละครของเขาแห่งนี้ โรงละครนี้ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำทีเบอร์นั้นในเวลานั้นอยู่ห่างไกลมาจากบริเวณที่เกิดอัคคีภัยจึงถือเป็นจุดชมไฟที่ปลอดภัยกว่าหอคอยดังกล่าวซึ่งอยู่ตรงกลางพื้นที่ที่เกิดไฟ[6] โรงละครนี้ถูกรื้อถอนเพื่อเอาวัสดุไปใช้งานในศตวรรษที่สอง ดังที่ปรากฏหลักฐานเป็นเสาหินอ่อนห้าเสาที่พบอยู่ในพื้นที่[1]

มีการกล่าวถึงโรงละครนี้เป็นครั้งสุดท้ายในกลางศตวรรษที่ 12 ในหนังสือนำทางนครโรมแก่ผู้มาจาริกแสวงบุญ Mirabilia Urbis Romae ซึ่งระบุว่าโรงละครนี้ตั้งอยู่ใกล้กับ Castellum Crescentii (ปัจจุบันคือปราสาทนักบุญอังเจโล)[7]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Edoardo Sassi (26 July 2023). "Ritrovato a Roma il leggendario Teatro di Nerone" (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 26 July 2023.
  2. 2.0 2.1 2.2 Liverani, p. 130
  3. Pliny, Nat. Hist. 37.19
  4. Suet., Nero 21.1
  5. Tac., Ann. 15.33.1
  6. Liverani, p. 131
  7. Liverani, p. 132

บรรณานุกรม แก้