โตโยต้า เบลต้า หรือ ยาริสในตลาดอเมริกาเหนือและออสเตรเลียและชื่อวีออสในเอเชีย เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กมากที่ผลิตโดยโตโยต้า

โตโยต้า เบลต้า (XP90)
โตโยต้า เบลต้า รุ่นปี 2548 (XP90; ก่อนปรับโฉม, ประเทศญี่ปุ่น)
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโตโยต้า
เรียกอีกชื่อ
เริ่มผลิตเมื่อ
  • พฤศจิกายน พ.ศ. 2548[1] – มิถุนายน พ.ศ. 2555 (ประเทศญี่ปุ่น)
  • เมษายน พ.ศ. 2550 – มีนาคม พ.ศ. 2556 (วีออส)
  • พ.ศ. 2556–2559 (ขยายการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น)
รุ่นปี2007–2012
แหล่งผลิต
ผู้ออกแบบทากาชิ ฮางิโนะ (พ.ศ. 2546)
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก
รูปแบบตัวถังรถเก๋ง 4 ประตู
โครงสร้าง
  • เครื่องยนต์วางหน้า ขับเคลื่อนล้อหน้า
  • เครื่องยนต์วางหน้า ขับเคลื่อนสี่ล้อ (NCP96; เฉพาะญี่ปุ่น)
แพลตฟอร์มพื้นฐาน Toyota B
รุ่นที่คล้ายกัน
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
  • Petrol:
  • 996 cc 1KR-FE I3 (KSP92; เฉพาะญี่ปุ่น)
  • 1.3 L 2SZ-FE I4 (SCP92; เฉพาะญี่ปุ่น)
  • 1.3 L 2NZ-FE I4 (NCP92/96)
  • 1.5 L 1NZ-FE I4 (NCP93)
  • 1.6 L 4ZR-FE I4 (ZSP92; เฉพาะจีน)
ระบบเกียร์
  • เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ (นอกเหนือญี่ปุ่น)
  • เกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ
  • CVT (ประเทศญี่ปุ่น, เฉพาะขับเคลื่อนล้อหน้า)
มิติ
ระยะฐานล้อ2,550 mm (100.4 in)[3]
ความยาว4,300 mm (169.3 in)[3]
ความกว้าง1,690–1,700 mm (66.5–66.9 in)[3]
ความสูง1,460–1,480 mm (57.5–58.3 in)[3]
น้ำหนัก990–1,120 kg (2,183–2,469 lb)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้า
รุ่นต่อไป

เบลต้าเป็นรุ่นใหม่ที่มาแทนที่โตโยต้า พลัตซ์ ซีดานที่เลิกจำหน่ายไป โดยเบลต้านั้นมีขนาดที่ใหญ่กว่าและมีปริมาตรภายในห้องโดยสารเทียบเท่ากับโตโยต้า โคโรลล่า (E120) โตโยต้า เบลต้า ได้เริ่มขายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โดยมีรุ่นเครื่องยนต์ 1.0 ลิตร และ 1.3 ลิตร[4] ส่วนรุ่นส่งออกเริ่มขายเมื่อ พ.ศ. 2549 ซึ่งส่วนมากเป็นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร 1NZ-FE เป็นเครื่องยนต์พื้นฐาน[5]

โตโยต้า เบลต้า ได้ขายเป็นโตโยต้า วีออส รุ่นที่สองในประเทศจีน ไต้หวัน และบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในสหรัฐา แคนาดา ตะวันออกกลางและออสเตรเลียได้รับการจำหน่ายภายใต้ชื่อยาริส ซีดาน แทนที่โตโยต้า เอ็กโค รุ่นเก่าที่ผลิตขึ้นในประเทศญี่ปุ่น

คำว่า "เบลต้า (Belta)" ดัดแปลงมาจากภาษาอิตาลี "bella gente" ซึ่งแปลว่า "คนสวย"[4][6]

ระบบขับเคลื่อน แก้

โตโยต้า วิตซ์ (XP90) และโตโยต้า เบลต้า ใช้อะไหล่ร่วมกันมากมาย รวมถึงการใช้พื้นฐานและระบบขับเคลื่อนเดียวกันอีกด้วย อย่างไรก็ตาม โตโยต้า วิตซ์ได้ถูกออกแบบในสตูดิโอออกแบบของโตโยต้าที่ฝรั่งเศส ส่วนโตโยต้า เบลต้า ได้รับการออกแบบในสตูดิโอของโตโยต้าในประเทศญี่ปุ่น—ซึ่งเป็นการออกแบบรถยนต์ที่คล้ายคลึงกันเพื่อลูกค้าในตลาดที่แตกต่างกัน โดยทั้งสองรุ่นมีการออกแบบโดยจัดแดชบอร์ดไว้ตรงกลางที่คล้ายคลึงกัน (เป็นความพยายามของโตโยต้าในการสร้างมาตรฐานการออกแบบสำหรับทุกตลาดไม่ว่าเป็นการขับทางซ้ายหรือทางขวา) แต่ก็มีความแตกต่างด้านความสวยงามอยู่บ้าง โตโยต้า เบลต้า เป็นรถยนต์นั่งขนากเล็กมากเพียงรุ่นเดียวที่ออกแบบ สร้าง และจำหน่ายในญี่ปุ่น และไม่มีคู่แข่งโดยตรงในตลาดประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากคู่แข่งของโตโยต้า วิตซ์ไม่ได้ขายรุ่นซีดานในขณะนั้น

อ้างอิง แก้

  1. "Affiliates (Toyota wholly-owned subsidiaries)-Toyota Motor East Japan, Inc". Toyota Motor Corporation. 2012. สืบค้นเมื่อ 2014-07-21.
  2. 天津一汽丰田汽车有限公司 [Tianjin FAW Toyota Motor] (ภาษาจีน). TFTM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-09. สืบค้นเมื่อ 2010-10-17.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "2007 Toyota Vios Car Information Singapore". sgCarMart. สืบค้นเมื่อ 2016-04-14.
  4. 4.0 4.1 "Toyota Launches New Vehicle 'Belta' in Japan" (News Release). Toyota Motor Corporation. 2005-11-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-01.
  5. "2007 Toyota Yaris Review and Specs". JB car pages. สืบค้นเมื่อ 2008-08-13.
  6. "Vehicle Lineage Chart Data: Origin of a car's name". Toyota Motor Corporation.