โจเซฟ เอสตราดา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โจเซฟ "เอรัป" เอเฮร์ซีโต เอสตราดา (Joseph "Erap" Ejercito Estrada) อดีตประธานาธิบดีคนที่ 13 ของฟิลิปปินส์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2541 ถึง พ.ศ. 2544
โจเซฟ เอสตราดา | |
---|---|
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ คนที่ 13 | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 – 20 มกราคม พ.ศ. 2544 | |
รองประธานาธิบดี | กลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย |
ก่อนหน้า | ฟิเดล รามอส |
ถัดไป | กลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย |
รองประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ คนที่ 11 | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน, พ.ศ. 2535 – 30 มิถุนายน, พ.ศ. 2541 | |
ประธานาธิบดี | ฟิเดล รามอส |
ก่อนหน้า | Salvador Laurel |
ถัดไป | กลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย |
นายกเทศมนตรีกรุงมะนิลา | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 | |
ก่อนหน้า | Alfredo Lim |
ถัดไป | Isko Moreno |
Chairman of the Presidential Anti-Crime Commission | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2540 | |
ประธานาธิบดี | ฟิเดล รามอส |
Senator of the Philippines | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2530 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกเทศมนตรีเมืองซานฮวน เขตเมโทรมะนิลา | |
ดำรงตำแหน่ง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2512 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2529 | |
ก่อนหน้า | Braulio Sto. Domingo |
ถัดไป | Reynaldo San Pascual |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | Jose Marcelo Ejercito 19 เมษายน ค.ศ. 1937 Tondo, Manila, Philippines |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
พรรคการเมือง | PMP (1991–present) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | Nacionalista (1969–1987) Liberal Party (1987–1991) UNA (2012-present) |
คู่สมรส | Luisa Pimentel |
บุตร | Jinggoy Estrada Jackie Ejercito Estrada JV Ejercito |
ศิษย์เก่า | Mapúa Institute of Technology (Dropped out) |
วิชาชีพ | Actor Businessperson Politician |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | Official website |
เอสตราดาเกิดที่มะนิลา มีชื่อเสียงจากการเป็นพระเอกภาพยนตร์ โดยรับบทนำในภาพยนตร์กว่า 100 เรื่อง ในระยะเวลา 33 ปีที่ประกอบอาชีพนักแสดง จากนั้นได้หันมาเล่นการเมืองท้องถิ่น เป็นนายกเทศมนตรีเมืองซานฮวน ในเขตเมโทรมะนิลา เป็นเวลา 17 ปี แล้วลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาสูงของฟิลิปปินส์ และดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในสมัยของฟิเดล รามอส
เอสตราดาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2540 และชนะการเลือกตั้งอย่างขาดลอย เนื่องจากชื่อเสียงเดิมในฐานะพระเอกภาพยนตร์ยอดนิยม เขาพ้นจากตำแหน่งหลังจากถูกยื่นถอดถอน ด้วยข้อหาคอร์รัปชัน และถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาฉ้อฉล ในปี พ.ศ. 2550 แต่ได้รับการอภัยโทษจากประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในสมัยของเอสตราดา
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2553 เอสตราดาได้ลงสมัครอีกครั้ง แต่พ่ายแพ้ให้กับเบนิกโน อากีโนที่ 3