โคกินวากาชู (ญี่ปุ่น: 古今和歌集) เรียกสั้น ๆ ว่า โคกินชู (ญี่ปุ่น: 古今集) หมายถึง ประชุมบทร้อยกรองแบบญี่ปุ่นตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน เป็นหนังสือประชุมบทร้อยกรองแบบวากะ ที่จัดทำโดยสำนักพระราชวังในต้นยุคเฮอัง โดยพระราชดำริของจักรพรรรดิอูดะ (Emperor Uda ค.ศ. 887–897) และจัดทำโดยพระราชรับสั่งของจักรพรรดิไดโงะ (Emperor Daigo ค.ศ 897–930) ราชโอรส ราวปี ค.ศ. 905 และสำเร็จในปี ค.ศ. 920 มีหลักฐานว่า ร้อยกรองบทสุดท้ายรวบรวมเข้าไปในราวปี ค.ศ. 914 ผู้รวมรวมเป็นกวีในราชสำนัก 4 คน นำโดย คิ โนะ สึรายูกิ (Ki no Tsurayuki), โอชิโกจิ มิตสึเนะ (Ōshikōchi Mitsune), มิบุ โนะ ทาดามิเนะ (Mibu no Tadamine) รวมถึง คิ โนะ โทโมโนริ (Ki no Tomonori) ซึ่งเสียชีวิตก่อนที่จะรวบรวมประชุมบทร้อยกรองนี้เสร็จ

ส่วนหนึ่งจากเอกสารตัวเขียนโคกินวากาชู (ฉบับเก็นเอ, สมบัติแห่งชาติ); ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว

ความสำคัญ

แก้

โคกินชู เป็นประชุมร้อยกรองแบบญี่ปุ่น 21 ประเภท (二十一代集, Nijūichidaishūthe) เล่มแรกที่รวบรวบขึ้นโดยพระราชประสงค์ของพระจักรพรรดิ และเป็นประชุมร้อยกรองที่แสดงถึงลักษณะของบทร้อยกรองแบบญี่ปุ่นในสมัยนั้นได้อย่างชัดเจน และกลายเป็นกฎของระบบการแต่งวากะ หรือ บทร้อยกรองแบบญี่ปุ่นสืบต่อมาจนถึงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นประชุมร้อยกรองเล่มแรกที่แบ่งบทกวีออกเป็นประเภท กวีตามฤดูกาล และ บทกวีที่เกี่ยวกับความรัก บทกวีเกี่ยวกับฤดูกาลในโคกินชู สร้างแรงบันดาลใจจนพัฒนาเป็นรูปแบบของการแต่ง กวีแบบไฮกุ ในปัจจุบัน

คำนำของ โคกินชู ที่เขียนโดยคิ โนะ สึยูรายูกิ นั้นยังเขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแตกต่างจากหนังสือเล่มในยุกนั้นที่มักจะมีการเขียนคำนำเป็นภาษาจีน และในโคกินชู นี้ยังมีคำนำภาษาจีนที่เขียนโดยคิ โนะ โทโมโนริ (Ki no Tomonori) ด้วย ความคิดในการรวบรวมบทร้อยกรองตั้งแต่ยุคอดีตถึงปัจจุบันนั้น ยังเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่สำคัญ ร้อยรองในประชุมร้อยกรอง จึงมีความหลากหลายทั้งรูปแบบและการใช้ภาษา แสดงให้เห็นรูปแบบของการพัฒนาของการแต่งกวีแบบวากะ

โครงสร้างหมวดหมู่

แก้

ยังไม่มีข้อสรุปในปัจจุบันว่า จำนวนบทร้อยกรองใน โคกินชู แท้จริงแล้วมีจำนวนเท่าไร แต่ โคกินวากาชู ฉบับออนไลน์[1] มีบทกวีจำนวน 1,111 บท แบ่งเป็น 21 ส่วน ตามแบบของประชุมบทร้อยกรองแบบจีนที่เคยจัดทำกันมาก่อนหน้านี้อย่างเช่น มันโยชู

การแบ่งหมวดหมู่ โคกินชู ตามชื่อภาษาญี่ปุ่น[1], แบบอ่านปัจจุบัน[2][3], และแปลภาษาอังกฤษ[4].

หัวข้อ การแบ่งภาค
ฤดูกาล 1-2 บทกวีฤดูวสันต์ 春歌 haru no uta
3 บทกวีฤดูคิมหันต์ 夏歌 natsu no uta
4-5 บทกวีฤดูสารท 秋歌 aki no uta
6 บทกวีฤดูเหมันต์ 冬歌 fuyu no uta
 
7 บทกวีเฉลิมฉลอง 賀歌 ga no uta
8 บทกวีพลัดพราก 離別歌 wakare no uta
9 นิราศ 羈旅歌 tabi no uta
10 ปริศนากวี 物名 mono no na
ความรัก 11-15 ความรัก 恋歌 บทกวีรัก
อื่น ๆ 16 ความเศร้า 哀傷歌 aishō no uta
17-18 เบ็ดเตล็ด 雑歌 kusagusa no uta
19 รูปแบบเบ็ดเตล็ด 雑躰歌 zattai no uta
20 Traditional Poems
from the Bureau of Song
大歌所御歌 ōutadokoro no on'uta


ประชุมบทกวียังบันทึกชื่อผู้แต่งของกวีในแต่ละบท และแรงบันดาล (ญี่ปุ่น: topicโรมาจิทับศัพท์: dai) เท่าที่ทราบ กวรหลักในโคกินชู ประกอบด้วบ อาริวาระ โนะ นาริฮิระ (Ariwara no Narihira), โอโนะ โนะ โคมาจิ (Ono no Komachi), เฮ็นโจ (Henjō) ฟูจิวาระ โนะ โอกิกาเซะ (Fujiwara no Okikaze) และกวีมีชื่ออีกมากมาย นอกจากนั้น ยังรวบรวมบทกวีของผู้จัดทำทั้ง 4 คนด้วย และบทกวีของราชวงศ์

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Online edition of the Kokin wakashu at the UVa Library Japanese Text Initiative.
  2. Miner (1985), pages 186-187
  3. McCullough
  4. Brower, pg 482

ข้อมูล

แก้
  • Saeki, Umetomo (1958). Nihon Koten Bungaku Taikei: Kokin Wakashū. Iwanami Shoten. ISBN 4-00-060008-7.
  • Kojima, Noriyuki; Eizō Arai (1989). Shin Nihon Koten Bungaku Taikei: Kokin Wakashū. Iwanami Shoten. ISBN 4-00-240005-0.
  • Miner, Earl; H. Odagiri; R. E. Morrell (1985). The Princeton Companion to Classical Japanese Literature. Princeton University Press. pp. 186–187. ISBN 0-691-06599-3.
  • McCullough, Helen Craig (1985). Kokin Wakashū: The First Imperial Anthology of Japanese Poetry. Stanford University Press. ISBN 0-8047-1258-1.
  • Brower, Robert H.; Earl Roy Miner (1961). Japanese court poetry. Stanford University Press. LCCN 61-10925.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้