ดาวเทียม LANDSAT 5 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวด McDonald Douglas Delta 3920 จากฐานทัพอากาศ Vandenberg, California เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2527 ปัจจุบันยังโคจรและบันทึกข้อมูล

คุณลักษณะดาวเทียม แก้

เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8 เมตร
น้ำหนัก 2,000 กิโลกรัม
ความสูงของการโคจร 705 กิโลเมตร
ลักษณะการโคจร สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์โดยผ่านขั้วโลก
เอียงทำมุมกับแกนโลก 98.2 องศา
เวลาท้องถิ่นในการบันทึกข้อมูล 9:30 น.
เวลาในการโคจรรอบโลก 1 รอบ 99 นาที
จำนวนรอบของการโคจรใน 1 วัน 14.5 รอบ
บันทึกข้อมูลซ้ำที่เดิม ทุก 16 วัน
ระบบบันทึกข้อมูล MSS (Multispectral Scanner), และ TM (Thermatic Mapper)
ข้รายละเอียดภาพ 80 เมตร (MSS), 30 เมตร (TM)
ความกว้างของภาพ 185 กิโลเมตร
อายุการทำงานที่คาดหมาย 5 ปี

อุปกรณ์บันทึกข้อมูล แก้

ความยาวคลื่น (ไมโครเมตร) ประเภทข้อมูลที่ได้
ระบบ Multspectral Scanner( MSS) รายละเอียดภาพ 80 เมตร
แบนด์ 4 : 0.5 - 0.6 (น้ำเงินเขียว) แยกพืชและสภาพความเขียว
แบนด์ 5 : 0.6 - 0.7 (แดง) แยกชนิดพืช
แบนด์ 6 : 0.7 - 0.8 (อินฟราเรดใกล้) แยกพืชและแหล่งน้ำ
แบนด์ 7 : 0.8 - 1.1 (อินฟราเรดใกล้) พืช, ความชื้นในดิน, เมฆ และหิมะ

ระบบ Thematic Mapper (TM) รายละเอียดภาพ 30 เมตร แก้

แบนด์ 1 : 0.45 - 0.52 (น้ำเงิน) ตรวจสอบลักษณะน้ำชายฝั่ง, แยกพืชและสภาพความเขียว
แบนด์ 2 : 0.52 - 0.60 (เขียว) แยกชนิดพืช
แบนด์ 3 : 0.60 - 0.69 (แดง) ความแตกต่างของการดูดกลืนคลอโรฟีลล์ในพืชพรรณต่าง ๆ
แบนด์ 4 : 0.77 - 0.90 (อินฟราเรดใกล้) ความแตกต่างของน้ำและส่วนที่ไม่ใช่น้ำ,

ปริมาณ มวลชีวะ

แบนด์ 5 : 1.55 - 1.75 (อินฟราเรดคลื่นสั้น) พืช, ความชื้นในดิน, แยกความแตกต่างเมฆและหิมะ
แบนด์ 6 : 10.40 - 12.50 (อินฟราเรดความร้อน) ความร้อนผิวหน้า, ความชื้นของดิน, ความเครียดของพืช
แบนด์ 7 : 2.08 - 2.35 (อินฟราเรดสะท้อน) แยกชนิดหิน

ข้อมูลเพิ่มเติม แก้

  1. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. เก็บถาวร 2010-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. ผลิตภัณฑ์และบริการ สทอภ.
  3. http://www.gistda.or.th/index.php/service/74
  4. http://en.wikipedia.org/wiki/Landsat_5