แย้มปีนัง
สปีชีส์ของพืช
แย้มปีนัง | |
---|---|
แย้มปีนัง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Gentianales |
วงศ์: | Apocynaceae |
สกุล: | Strophanthus |
สปีชีส์: | S. gratus |
ชื่อทวินาม | |
Strophanthus gratus (Wall. and Hook.) Baill.[1] | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
แย้มปีนัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Strophanthus gratus (Wall. and Hook.) Baill.) มีชื่อพื้นเมือง เช่น บานทน และ หอมปีนัง เป็นไม้ที่มีดอกหอมแรง แย้มปีนังเป็นไม้พุ่ม แตกกิ่งมาก ลำต้นตั้งตรง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน ใบดกทึบ ค่อนข้างหนา ผิวเรียบมัน สีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียวปนม่วง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย 5-20 ดอก กลิ่นหอม กลีบดอกสีม่วงแกมชมพู เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ผลเป็นฝัก รูปเรียวยาว เมล็ดสีน้ำตาล มีขน[2] ขึ้นง่ายในดินทั่วไป ออกดอกตลอดปี หากปลูกในที่ร่มมากจะกลายเป็นไม้เลื้อยได้
เมล็ด มีสารที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ คือสาร ouabain มีความเป็นพิษสูงไม่ควรรับประทาน หากเข้าสู่ร่างกาย ทำให้คลื่นไส้ ท้องเสีย หัวใจเต้นแรง และเร็ว ต้องรีบทำให้อาเจียน และนำส่งโรงพยาบาลทันที[2]
ระเบียงภาพ
แก้-
ลักษณะดอกในมุมต่างๆ
-
แย้มปีนัง
-
แย้มปีนัง
-
แย้มปีนัง
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แย้มปีนัง
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Strophanthus gratus ที่วิกิสปีชีส์