แม่เหล็กไฟฟ้า (ชนิดแม่เหล็ก)

แม่เหล็กไฟฟ้า (อังกฤษ: electromagnet) เป็นแม่เหล็กชนิดหนึ่งที่สนามแม่เหล็กของมันผลิตจากกระแสไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้าปกติประกอบด้วยลวดพันเข้ากับคอยล์ (coil) กระแสที่ไหลผ่านลวดจะก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กซึ่งกระจุกอยู่ในหลุมซึ่งเป็นศูนย์กลางของคอยล์ สนามแม่เหล็กจะหายไปเมื่อปิดกระแสไฟฟ้า ความโค้งของลวดมักพันอยู่รอบแกนแม่เหล็กที่ทำจากวัสดุเฟร์โรแม็กเนติก (ferromagnetic) หรือเฟร์ริเม็กนิติก (ferrimagnetic) เช่น ธาตุเหล็ก แกนแม่เหล็กจะรวมฟลักซ์แม่เหล็กและสร้างแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงขึ้น

แม่เหล็กไฟฟ้าอย่างงา่ยประกอบด้วยขดลวดพันอยู่กับแกนเหล็ก ความเข้มของสนามแม่เหล็กแปรผันตรงกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวด[1]

ประโยชน์สำคัญของแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อเทียบกับแม่เหล็กถาวร คือ สามารถเปลี่ยนสนามแม่เหล็กได้อย่างรวดเร็วโดยการควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อยู่ในขด แต่แม่เหล็กไฟฟ้าต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงสนามแม่เหล็กอยู่ตลอดเวลา

แม่เหล็กไฟฟ้าใช้กันแพร่หลายเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น เช่น มอเตอร์ เครื่องปั่นไฟ ลำโพง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องเอ็มอาร์ไอ หรืออุปกรณ์คัดแยกแม่เหล็ก เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. Nave, Carl R. (2012). "Electromagnet". Hyperphysics. Dept. of Physics and Astronomy, Georgia State Univ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2014. สืบค้นเมื่อ September 17, 2014.