แม่นางชามครอบ[1] หรือ ฮาจิกาซูกิ (ญี่ปุ่น: 鉢かづきโรมาจิHachikazuki) เป็นคติชนญี่ปุ่นประเภทโอโตงิ-โซชิ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหญิงสาวในตระกูลสูงศักดิ์ผู้มีชามสวมอยู่บนศีรษะและภายหลังได้แต่งงานกับท่านชาย[2]

แม่นางชามครอบและท่านชายไซโชปฏิญาณรักต่อกัน

"แม่นางชามครอบ" เขียนขึ้นครั้งแรกในยุคมูโรมาจิ (ศตวรรษที่ 14-16)[3] อากาฮง (หนังสือแดง) ที่มีภาพวาดสำหรับเด็กจำนวนมากได้รับการตีพิมพ์ในช่วงกลางยุคเอโดะ (ศตวรรษที่ 18, ราวปี ค.ศ. 1735-1745) โดยอูโรโกงาตายะ[3]

เรื่องย่อ

แก้
 
แม่นางชามครอบ ภาพวาดในแบบซันโซชิ-เอมากิ

ในสมัยก่อน มีสามีภรรยาคู่หนึ่งอาศัยกับบุตรสาวผู้งดงาม ซึ่งบางครั้งเรียกว่าฮาจิบิเมะ[4] ก่อนที่มารดาของเด็กสาวจะเสียชีวิตได้บอกกับเด็กสาวให้สัญญาว่าจะสวมชามไม้บนไว้ศีรษะอยู่เสมอเพื่อปิดบังความงดงามของเธอ ในฉากเปิดอีกรูปแบบหนึ่งเล่าว่าเด็กสาวเกิดมาพร้อมมีชามไม้สวมบนศีรษะ[5] ไม่ว่าเรื่องราวจะเริ่มต้นแบบใด ภายหลังบิดาของเด็กสาวก็แต่งงานใหม่ และแม่เลี้ยงของเด็กสาวก็โหดร้ายกับเด็กสาว

เด็กสาวหนีออกจากบ้านไปอีกเมืองหนึ่งและเข้าทำงานในตำแหน่งต่ำต้อยในคฤหาสน์ของขุนนางตนหนึ่ง วันหนึ่งบุตรชายของขุนนางแอบมองเข้าไปข้างในชามไม้ก็เห็นว่าเด็กสาวเป็นผู้มีความงดงามมากจึงตกหลุมรัก เมื่อถึงเวลาที่เขาต้องเลือกภรรยา แม่นางชามครอบเข้าร่วมในการคัดเลือกเจ้าสาวแล้วได้รับเลือกโดยเด็กหนุ่มบุตรชายคนนาง เด็กสาวบอกว่าชามจะต้องอยู่บนศีรษะตนตลอดพิธีสมรส

หลังทั้งคู่ได้สมรสกัน ชามก็หล่นลงมาจากศีรษะของแม่นางชามครอบ จึงพบว่าภายในชามมีอัญมณีและสมบัติอื่น ๆ[6] ในเรื่องเล่าอีกรูปแบบหนึ่ง ชามได้แตกออกเป็นชิ้น ๆ และกลายเป็นอัญมณีล้ำค่า[7]

อ้างอิง

แก้
  1. อรรถยา สุวรรณระดาและคณะ. นิทานเก่าเรื่องเล่าญี่ปุ่น. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2567, หน้า 51.
  2. Mulhern, Chieko Irie. "[Reviewed Work: Japanese Folk Literature: A Core Collection and Reference Guide. by Joanne P. Algarin]". In: Monumenta Nipponica 39, no. 2 (1984): 202. Accessed July 24, 2021. doi:10.2307/2385022.
  3. 3.0 3.1 "The Bowl-Bearer Princess". Library of Congress. January 1, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2022.
  4. Joly, Henri L. Legend in Japanese art; a description of historical episodes, legendary characters, folk-lore myths, religious symbolism. London ; New York: John Lane, The Bodley Head. 1908. p. 272.
  5. Seki, Keigo (1966). "Types of Japanese Folktales". Asian Folklore Studies. 25 (1): 115. doi:10.2307/1177478. JSTOR 1177478.
  6. Joly, Henri L. Legend in Japanese art; a description of historical episodes, legendary characters, folk-lore myths, religious symbolism. London ; New York: John Lane, The Bodley Head. 1908. p. 272.
  7. Cox, Marian Roalfe. Cinderella; three hundred and forty-five variants of Cinderella, Catskin, and Cap o'Rushes. London: The Folk-lore Society. 1893. pp. 107-108.

อ่านเพิ่มเติม

แก้
  • 小林 健二 (2007). "御伽草子「鉢かづき」諸本における本文の流動と固定--宰相の乳母と嫁比べの進言者をめぐって" [On the text-variation of the Hachikazuki stories: a study of the characterization and roles of Saisho's nurse and the advisor of the bride-contest]. In: The Journal of Kokugakuin University 108 (7): 13-23. ISSN 0288-2051. https://ci.nii.ac.jp/naid/40015514802/en/