แมวของชเรอดิงเงอร์
แมวของชเรอดิงเงอร์ (อังกฤษ: Schrödinger's cat) เป็นการทดลองทางความคิด ซึ่งบางทีมีผู้บรรยายว่าเป็นปฏิทรรศน์ คิดค้นโดยแอร์วีน ชเรอดิงเงอร์ นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย[1] ใน ค.ศ. 1935 การทดลองดังกล่าวแสดงสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นปัญหาของการตีความกลศาสตร์ควอนตัมแบบโคเปนเฮเกน (Copenhagen interpretation) ที่ใช้กับวัตถุในชีวิตประจำวัน โดยฉากนี้เสนอแมวตัวหนึ่งที่อาจทั้งยังมีชีวิตและตายแล้วในเวลาเดียวกัน[2][3][4][5][6][7][8] เป็นสถานะที่เรียก หลักการซ้อนทับควอนตัม (quantum superposition) อันเป็นผลจากการถูกเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ระดับเล็กกว่าอะตอมแบบสุ่มซึ่งอาจเกิดหรือไม่ก็ได้ การทดลองทางความคิดดังกล่าวมักมีการหยิบยกขึ้นมาในการอภิปรายทฤษฎีของการตีความกลศาสตร์ควอนตัม ชเรอดิงเงอร์ประดิษฐ์คำว่า เวอร์ชเรงคุง (ความพัวพัน) ในระหว่างการพัฒนาการทดลองความคิดนี้

แมวของชเรอดิงเงอร์: แมว คนโทพิษ และแหล่งกำเนิดกัมมันตรังสีอยู่ในกล่องปิดสนิท หากเครื่องเฝ้าสังเกตภายในกล่องตรวจพบกัมมันตภาพรังสี (คือ มีการสลายของอะตอม) คนโทจะปล่อยยาพิษซึ่งจะทำให้แมวตาย การตีความกลศาสตร์ควอนตัมแบบโคเปนเฮเกนบอกว่าหลังจากผ่านไประยะหนึ่ง แมวจะยังอยู่และตายในเวลาเดียวกัน แต่ถ้าดูในกล่องจริง ๆ ผู้สังเกตจะเห็นว่าแมวอยู่หรือตายอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่อยู่และตายในเวลาเดียวกัน กรณีเช่นนี้ก่อให้เกิดคำถามว่าหลักการซ้อนทับควอนตัม (quantum superposition) สิ้นสุดลงและความเป็นจริงเหลือเฉพาะความเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นเมื่อใดแน่
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Schrödinger, Erwin (November 1935). "Die gegenwärtige Situation in der Quantenmechanik (The present situation in quantum mechanics)". Naturwissenschaften. 23 (48): 807–812. Bibcode:1935NW.....23..807S. doi:10.1007/BF01491891.
- ↑ Moring, Gary (2001). The Complete Idiot's Guide to Theories of the Universe. Penguin. pp. 192–193. ISBN 1440695725.
- ↑ Gribbin, John (2011). In Search of Schrodinger's Cat: Quantum Physics And Reality. Random House Publishing Group. p. 234. ISBN 0307790444.
- ↑ Greenstein, George; Zajonc, Arthur (2006). The Quantum Challenge: Modern Research on the Foundations of Quantum Mechanics. Jones & Bartlett Learning. p. 186. ISBN 076372470X.
- ↑ Tetlow, Philip (2012). Understanding Information and Computation: From Einstein to Web Science. Gower Publishing, Ltd. p. 321. ISBN 1409440400.
- ↑ Herbert, Nick (2011). Quantum Reality: Beyond the New Physics. Knopf Doubleday Publishing Group. p. 150. ISBN 030780674X.
- ↑ Charap, John M. (2002). Explaining The Universe. Universities Press. p. 99. ISBN 8173714673.
- ↑ Polkinghorne, J. C. (1985). The Quantum World. Princeton University Press. p. 67. ISBN 0691023883.
บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:วิทยาศาสตร์ |