แผลเป็นเป็นบริเวณเนื้อเยื่อเส้นใยซึ่งเกิดแทนผิวหนังปกติหลังเกิดการบาดเจ็บ แผลเป็นเกิดจากกระบวนการชีววิทยาซ่อมแซมบาดแผลในผิวหนัง ตลอดจนในอวัยวะและเนื้อเยื่ออื่นของร่างกาย ฉะนั้นจึงเป็นส่วนธรรมชาติของกระบวนการหาย (healing) บาดแผลแทบทุกชนิด (เช่น หลังอุบัติเหตุ โรคหรือการผ่าตัด) ล้วนส่งผลให้เกิดแผลเป็นไม่มากก็น้อย ยกเว้นรอยโรคที่เล็กมาก ๆ แต่ยกเว้นสัตว์ที่มีการเจริญทดแทนอย่างสมบูรณ์มีเนื้อเยื่อที่เจริญโดยไม่มีการสร้างแผลเป็น

แผลเป็น
เนื้อเยื่อแผลเป็นบนแขน
สาขาวิชาตัจวิทยา, ศัลยกรรมตกแต่ง

เนื้อเยื่อแผลเป็นประกอบด้วยโปรตีน (คอลลาเจน) ชนิดเดียวกับเนื้อเยื่อที่มันทดแทน แต่องค์ประกอบเส้นใยของโปรตีนจะต่างไป คือ แทนที่จะเป็นการจัดเรียงสานตะกร้าแบบสุ่มของเส้นใยคอลลาเจนที่พบในเนื้อเยื่อปกติ แต่ในภาวะเกิดพังผืด คอลลาเจนเชื่อมโยงข้ามและก่อเป็นการปรับแนวอย่างเป็นระเบียบในทิศทางเดียวกัน[1] การปรับแนวของเนื้อเยื่อแผลเป็นคอลลาเจนนี้ปกติมีคุณภาพทำหน้าที่ด้อยกว่าการปรับแนวแบบสุ่มของคอลลาเจนตามปกติ ตัวอย่างเช่น แผลเป็นในผิวหนังทนทานต่อรังสีอัลตราไวโอเลตน้อยกว่า และต่อมเหงื่อและปุ่มรากขนไม่เจริญทดแทนในเนื้อเยื่อแผลเป็น กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด หรืออาการหัวใจล้ม ทำให้เกิดแผลเป็นในกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งทำให้เสียกำลังของกล้ามเนื้อและอาจทำให้หัวใจวายได้ ทว่า มีเนื้อเยื่อบางชนิด เช่น กระดูก ที่สามารถฟื้นฟูได้โดยไม่มีความเสื่อมทางโครงสร้างหรือการทำหน้าที่

อ้างอิง แก้

  1. Sherratt, Jonathan A. (2010). "Mathematical Modelling of Scar Tissue Formation". Department of Mathematics, Heriot-Watt University. สืบค้นเมื่อ 20 August 2010. This is composed of the same main protein (collagen) as normal skin, but with differences in details of composition. Most crucially, the protein fibres in normal tissue have a random (basketweave) appearance, while those in scar tissue have pronounced alignment in a single direction.