เฮอร์เบิร์ต สมิธ

จอร์จ เฟรดเดอริก เฮอร์เบิร์ต สมิธ (26 พฤษภาคม ค.ศ. 1872 – 20 เมษายน ค.ศ. 1953) เป็นนักแร่วิทยาชาวอังกฤษผู้ซึ่งปฏิบัติงานกับพิพิธภัณฑ์บริติช (ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ)[1] เขาค้นพบแร่พาราทาคาไมต์ในปี ค.ศ. 1906 และพัฒนาเครื่องวัดการหักเหของแสงของช่างทำเครื่องประดับเพื่อระบุอัญมณีได้อย่างทันที[2] แร่สมิไทต์และเฮอร์เบิร์ตสมิไทต์ได้รับการตั้งชื่อตามจากเขา[1] เช่นเดียวกับวอลลาบีสีหินเฮอร์เบิร์ต (Herbert's rock-wallaby) หนึ่งในเจ็ดสกุลของสัตว์ชนิดดังกล่าว[3]

เฮอร์เบิร์ต สมิธ

เกิด26 พฤษภาคม ค.ศ. 1872(1872-05-26)
เอ็ดจ์บัสตัน, ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต20 เมษายน ค.ศ. 1953(1953-04-20) (80 ปี)
การศึกษาวิทยาลัยวินเชสเตอร์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด วิทยาเขตนิวคอลเลจ
มีชื่อเสียงจากหินอัญมณี (ค.ศ. 1912)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขานักแร่วิทยา, นักอัญมณีวิทยา
สถาบันที่ทำงานพิพิธภัณฑ์บริติช (ประวัติศาตร์ธรรมชาติ), ลอนดอน
มาตรดัชนีหักเหของเฮอร์เบิร์ต สมิธ

ชีวิตช่วงต้นและอาชีพ

แก้

สมิธเกิดในปี ค.ศ. 1872 เข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยวินเชสเตอร์ จากนั้นจึงศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด วิทยาเขตนิวคอลเลจ เขาเรียนวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1891 ถึง 1895 ซึ่งได้รับคะแนนดีเลิศ และสำเร็จการศึกษาในสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1896[4] สมิธได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยในพิพิธภัณฑ์บริติช (ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ) ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1896[5] เขาทำงานในแผนกแร่วิทยาของพิพิธภัณฑ์จนถึงปี ค.ศ. 1921 เมื่อเขาได้รับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการพิพิธภัณฑ์ สืบต่อจากชาร์ลส์ อี. ฟาแกน[6]

ในอาชีพนักแร่วิทยาของเขา สมิธทำงานในหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการกำหนดองค์ประกอบและโครงสร้างของแร่ เขาเขียนบทความเกี่ยวกับโครงสร้างของแร่ทองคำเทลลูไรด์ คาลาเวอไรต์ (AuTe2);[7] และเขาอธิบายเกี่ยวกับแร่พาราทาคาไมต์ทองแดง–สังกะสีออกซีคลอไรด์ชนิดใหม่[8] สมิธยังพัฒนาเครื่องมือใหม่สำหรับการวัดคุณสมบัติทางผลึกศาสตร์และแสงของแร่กับอัญมณีในทางปฏิบัติ (โกนิโอมิเตอร์ (goniometers) และมาตรดัชนีหักเห (refractometer))[4]และเขียนตำราเรียนเกี่ยวกับอัญมณีและอัญมณีวิทยาซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1912[9][10] และผ่านการตีพิมพ์หลายครั้ง โดยฉบับพิมพ์ที่ 13 ได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1958[11]

ในบทบาทเลขานุการพิพิธภัณฑ์ เขาทำหน้าที่กำกับดูแลการขยายพิพิธภัณฑ์และการสร้างอาคารใหม่สำหรับแผนกกีฏวิทยา และเขารับผิดชอบงานฉลองครบรอบ 50 ปีของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในปี ค.ศ. 1931 นอกจากนี้ เขายังเริ่มต้นการขายโปสการ์ดต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ และก่อตั้งสโมสรกีฬาสำหรับเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์[6] เขาทำหน้าที่เป็นเลขานุการพิพิธภัณฑ์จนถึงปี ค.ศ. 1935[12] ก่อนจะกลับมาที่แผนกแร่วิทยาเป็นเวลาสองปีก่อนจะเกษียณอายุ[4] ซึ่งเกษียณอายุในปี ค.ศ. 1937[13]

ในปี ค.ศ. 1927 ร่วมกับสมาคมข้าราชการพลเรือนสหราชอาณาจักร สมิธได้จัดเตรียมรถไฟพิเศษเพื่อนำข้าราชการไปที่ริชมอนด์, ยอร์กเชอร์ เพื่อชมสุริยุปราคา[14][6] สมิธได้นำเศษกระจกสีควันบุหรี่มาให้ชม และเขียนคู่มือเกี่ยวกับสุริยุปราคา เมืองริชมอนด์ตั้งอยู่ในแนวสุริยุปราคาเต็มดวง และนักท่องเที่ยวหลายพันคนเข้าร่วมขบวนรถไฟท่องเที่ยวพิเศษในวันนั้น รวมถึงเวอร์จิเนีย วูล์ฟ ซึ่งบรรยายเหตุการณ์ดังกล่าวในไดอารี่และเรียงความของเธอเรื่อง เดอะซันแอนดเดอะฟิช (The Sun and the Fish) ในปี ค.ศ. 1928[15][16] ขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ดวงอาทิตย์ถูกเมฆบดบัง[6]

อนุสรณ์

แก้

ในปี ค.ศ. 1905 อาร์ เฮช ซอลลี นักแร่วิทยา ตั้งชื่อแร่เงินซัลไฟด์อาร์เซนิก (AgAsS2) ว่า แร่สมิธไทต์ตามชื่อของสมิธ แร่ชนิดนี้มาจากเหมืองหินเลนเกนบัคในหุบเขาบินน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเวลานั้น สมิธกำลังศึกษาชนิดกับแร่ชนิดอื่น ๆ จากสถานที่นั้น[17][6] ในปี ค.ศ. 2004 แร่ทองแดง–สังกะสีออกซีคลอไรด์ (ZnCu3(OH)6Cl2) ว่า เฮอร์เบิร์ตสมิธไทต์ ได้ตั้งชื่อตามสมิธ เนื่องจากพบว่ามีคุณสมบัติทางเคมีและโครงสร้างเหมือนกับพาราทาคาไมต์ ซึ่งสมิธค้นพบในปี ค.ศ. 1906[18]

ในปี ค.ศ. 1926 วอลลาบีสีหินเฮอร์เบิร์ตซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Petrogale herberti ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่สมิธ เพื่อสะท้อนถึงความช่วยเหลือที่เขาให้แก่ฮิวเบิร์ต วิลกินส์ ซึ่งค้นพบวอลลาบีตัวนี้ในระหว่างการเดินทางของเขา[3]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1949 สมิธได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช ชั้นตติยาภรณ์ สำหรับ "การให้บริการทางวิชาการเรื่องพืชและสัตว์ในหมู่เกาะอังกฤษ"[19]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Herbertsmithite: Mineral information, data and localities".
  2. Hurlbut Jr., C.S. (1984). "The jewelers refractometer as a mineralogical tool" (PDF). American Mineralogist. 69: 391–398.
  3. 3.0 3.1 Thomas, Oldfield (1926). "On various mammals obtained during Capt. Wilkin's expedition in Australia. Petrogale herberti". The Annals and Magazine of Natural History. Ninth Series. xvii: 626–7.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Dr. Herbert Smith". Nature. 135 (3423): 948. 1 June 1935. Bibcode:1935Natur.135R.948.. doi:10.1038/135948b0 – โดยทาง www.nature.com.
  5. "Page 7324 | Issue 26802, 11 December 1896 | London Gazette | The Gazette". www.thegazette.co.uk.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Smith, W. Campbell (25 June 1953). "Dr. G. F. Herbert Smith, C.B.E." Nature. 171 (4364): 1093–1094. Bibcode:1953Natur.171.1093S. doi:10.1038/1711093a0 – โดยทาง www.nature.com.
  7. Smith, G. F. Herbert; Prior, G. T. (26 May 1902). "On the remarkable problem presented by the crystalline development of Calaverite". Mineralogical Magazine and Journal of the Mineralogical Society. 13 (60): 122–150. Bibcode:1902MinM...13..122S. doi:10.1180/minmag.1902.13.60.03 – โดยทาง Cambridge University Press.
  8. Smith, G.F.H.; Prior, G.T. (1906). "Paratacamite, a new oxychloride of copper". Mineralogical Magazine. 14 (65): 170–177. Bibcode:1906MinM...14..170S. doi:10.1180/minmag.1906.014.65.09.
  9. Smith, G. F. Herbert (1912). Gem-stones and their distinctive characters. Methuen.
  10. J., J. W. (26 May 1912). "Gem-stones and their Distinctive Characters". Nature. 89 (2221): 294. Bibcode:1912Natur..89..294J. doi:10.1038/089294b0 – โดยทาง www.nature.com.
  11. Stuart, Alan (1959). "Reviewed Work: Gemstones. Thirteenth edition by G. F. Herbert Smith, F. C. Phillips". Science Progress. 47: 169–170. JSTOR 43417006.
  12. "Records of Central Administration of the Natural History Museum" – โดยทาง The National Archives.
  13. "Dr. G. F. Herbert Smith". Nature. 139 (3525): 873. 1 May 1937. Bibcode:1937Natur.139Q.873.. doi:10.1038/139873a0 – โดยทาง www.nature.com.
  14. "Total eclipse of the sun, 28 June 1927: printed papers relating to the Civil Service excursion led by George Frederick Herbert Smith". 25 October 1927 – โดยทาง UK National Archives.
  15. "The day the sun went out in the dales, and uncovering the Skeeby hoard". The Northern Echo. 7 April 2024.
  16. "Close-Up | Disembodied Intercourse: Reflections on Virginia Woolf's 'The Sun and the Fish'". www.closeupfilmcentre.com.
  17. Solly, RH (1905). "Some new minerals from the Binnenthal, Switzerland" (PDF). Mineralogical Magazine. 14 (64): 72–82. Bibcode:1905MinM...14...72S. doi:10.1180/minmag.1905.014.64.03.
  18. Braithwaite, RSW; Mereiter, K; Paar, WH; Clark, AM (1004). "Herbertsmithite, Cu3Zn(OH)6Cl2, a new species, and the definition of paratacamite" (PDF). Mineralogical Magazine. 68 (3): 527–539. doi:10.1180/0026461046830204.
  19. "Page 2803 | Supplement 38628, 3 June 1949 | London Gazette | The Gazette". www.thegazette.co.uk.