เอ็ม. จี. รามจันทรัน

มรุตูร โกปาลัน รามัจจันติรัน หรือ มรุธูร โคปาลัน รามจันทรัน (ทมิฬ: மருதூர் கோபாலன் இராமச்சந்திரன், Marudhur Gopalan Ramachandran, 17 มกราคม 1917 – 24 ธันวาคม 1987) หรือรู้จักด้วยชื่อย่อ เอ็ม. จี. อาร์ (M.G.R.) เป็นนักการเมือง, นักแสดง, ผู้ใจบุญ และนักสร้างภาพยนตร์ชาวอินเดีย ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐทมิฬนาฑูจากปี 1977 จนเสียชีวิตในปี 1987 เอ็มจีอาร์เป็นผู้ก่อตั้งพรรค AIADMK และเป็นที่ปรึกษาของเจ. ชัยลลิตา[1] ในปี 1988 เอ็มจีอาร์ได้รับภารตรัตนะ เครื่องราชลำดับสูงสุดของพลเมืองอินเดีย หลังเขาเสียชีวิต

เอ็ม. จี. รามจันทรัน
ผู้ว่าการรัฐทมิฬนาฑูคนที่สาม
ดำรงตำแหน่ง
9 มิถุนายน 1980 – 24 ธันวาคม 1987
ผู้ว่าการ
ก่อนหน้าประธานาธิบดีควบตำแหน่ง
ถัดไปวี. อาร์. เนทุนเจฌิยัน (แทน)
เขตเลือกตั้งมทุรายเวสต์ (1980-1985)
อันทิปัตตี (1985-1987)
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน 1977 – 17 กุมภาพันธ์ 1980
ผู้ว่าการประภุทาส ปัตวารี
ก่อนหน้าประธานาธิบดีควบตำแหน่ง
ถัดไปประธานาธิบดีควบตำแหน่ง
เขตเลือกตั้งอรูปปุโกฏไฏ
สมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐทมิฬนาฑู
ดำรงตำแหน่ง
24 ธันวาคม 1984 – 24 ธันวาคม 1987
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มรุตูร โกปาลัน รามัจจันติรัน

17 มกราคม ค.ศ. 1917(1917-01-17)
นวัลปิติยา อำเภอกัณฑิ ซีลอน
(ปัจจุบันคือศรีลังกา)
เสียชีวิต24 ธันวาคม ค.ศ. 1987(1987-12-24) (70 ปี)
มัทราส รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย
สาเหตุการเสียชีวิตหัวใจล้มเหลว
ที่ไว้ศพอนุสรณ์สถานเอ็มจีอาร์
เชื้อชาติอินเดีย
พรรคการเมือง ออลอินเดียอัณณมุนเนตรากาฬักกัม (1972–1987)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คู่สมรส
  • Thangamani (สมรส 1939; เสียชีวิต 1942)
    Sadhanandavathi (สมรส 1942; เสียชีวิต 1962)
    วี เอ็น ชานกี (สมรส 1963)
ความสัมพันธ์เอ็ม จี จักรปาณี (พี่/น้องชาย)
ที่อยู่อาศัยรามปุรัม เจนไน
วิชาชีพ
รางวัล
ชื่อเล่น
  • Puratchi Thalaivar
  • Makkal Thilagam
  • Ponmana Chemmal
  • Vaathiyaar
  • M.G.R.

เอ็มจีอาร์ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดแบบคานธีและเข้าร่วมครองเกรสแห่งชาติ เขาเข้าสู่วงการแสดงภาพยนตร์เชได้สองสามปีก็ทำชื่อเสียงเดบิวต์ในภาพยนตร์ปี 1936 เรื่อง Sathi Leelavathi ในบทนักแสดงรอง และเริ่มไต่เต้าสู่บทบาทนักแสดงนำในทศวรรษ 1940s

เอ็มจีอาร์เข้าสู่พรรคทราวิฑมุนเนตรากฌคัม (DMK) และไต่เต้าไปจนถึงตำแหน่งสูง ๆ โดยใช้ความนิยมของตัวเองในฐานะนักแสดงภาพยนตร์ชื่อดังสร้างฐานเสียงทางการเมืองให้ตน ในปี 1972 เขาออกจากพรรค DMK เพื่อตั้งพรรคของตนเอง AIADMK ห้าปีถัดมา เขานำพรรค AIADMK และพันธมิตรร่วมชนะในการเลือกตั้งรัฐทมิฬนาฑูปี 1977 และกลายมาเป็นผู้ว่าการรัฐทมิฬนาฑู ถือเป็นนักแสดงภาพยนตร์คนแรกที่ได้เป็นผู้ว่าการรัฐของอินเดีย เขาดำรงตำแหน่งต่อเนื่องเป็นเวลาสิบปีจนเสียชีวิต เว้นแต่เพียงช่วงสั้น ๆ ในปี 1980 ที่รัฐบาลรัฐถูกยึดอำนาจโดยรัฐบาลกลางชั่วคราว ตลอดระยะเวลาที่เขาเป็นผู้ว่าการรัฐ เขานำพรรค AIADMK ชนะการเลือกตั้งในรัฐอีกสองครั้ง คือในปี 1980[2] และ 1984[3]

ในเดือนตุลาคม 1984 เขาได้รับการวินิจฉัยว่ามีไตวายจากเบาหวาน เขาเสียชีวิตเมื่อ 24 ธันวาคม 1987 ในบ้านพักของเขาในมนปักกัม ตราบจนปัจจุบัน เอ็มจีอาร์เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของทมิฬนาฑูและยังเป็นนักแสดงที่มีอิทธิพลสูงมากที่สุดคนหนึ่งในวงการภาพยนตร์ภาษาทมิฬ[4] อัตชีวประวัติส่วนบุคคลของเขาตีพมิพ์ในชื่อ Naan Yaen Piranthaen (เหตุใดข้าพเจ้าจึงเกิดมา) ตีพิมพ์ในปี 2003[5]

อ้างอิง แก้

  1. Sri Kantha, Sachi (8 April 2015). "M.G.R. Remembered – Part 26". Sangam.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2017. สืบค้นเมื่อ 19 May 2017.
  2. Kumaresan, S (27 April 2021). "From the archives: Why is 1980 Tamil Nadu Assembly election worthy of note?". New Indian Express. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-07. สืบค้นเมื่อ 27 April 2021.
  3. Kumaresan, S (28 April 2021). "From the archives: When MGR sailed on sympathy in 1984 polls". New Indian Express. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-28. สืบค้นเมื่อ 28 April 2021.
  4. "Modi to Mamata, M.G.R. to NTR: Vir Sanghvi lists 70 politicians who changed India". Hindustan Times. 15 August 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2019. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.
  5. "Janaki's son alone has copyright to M.G.R.'s autobiography: court". The Hindu. 4 July 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2016. สืบค้นเมื่อ 6 December 2016.