เอ็มเอสดอส
เอ็มเอสดอส (อังกฤษ: MS-DOS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ซึ่งพัฒนาโดยไมโครซอฟท์เป็นส่วนใหญ่ และเป็นระบบปฏิบัติการหลักสำหรับไอบีเอ็มพีซี คอมแพตทิเบิลในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และตั้งแต่นั้นก็ค่อย ๆ ถูกแทนที่โดยระบบปฏิบัติการที่มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ซึ่งประกอบด้วยระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์รุ่นต่าง ๆ[5]
![]() | |
![]() ส่วนต่อประสานผู้ใช้แบบรายคำสั่ง ซึ่งหน้าจอแสดงผลว่าไดเร็กทอรีปัจจุบันเป็นไดเร็กทอรีระดับบนสุดของไดรฟ์ C: | |
ผู้พัฒนา | ไมโครซอฟท์ |
---|---|
เขียนด้วย | x86 assembly[1] และในรุ่นหลังมีการใช้ภาษาซีด้วย |
ตระกูล | ดอส |
วันที่เปิดตัว | 12 สิงหาคม 1981[2] |
ยุติการพัฒนา | 8.0 (Windows Me) / 14 กันยายน 2000 |
ที่เก็บข้อมูล | |
วิธีการอัปเดต | การติดตั้งใหม่หมด (re-installation) |
ตัวจัดการแพกเกจ | ไม่มี |
แพลตฟอร์ม | x86 |
ได้รับอิทธิพลจาก | TOPS-10, CP/M |
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยาย | ส่วนต่อประสานรายคำสั่ง (COMMAND.COM), ส่วนต่อประสานผู้ใช้แบบข้อความ (ดอสเชลล์) |
สัญญาอนุญาต |
|
เว็บไซต์ทางการ | Internet Archive MS-DOS overview |
สถานะรับรอง | |
เอ็มเอสดอสรุ่น 1.x-7.0 สิ้นสุดการสนับสนุนเมื่อ 31 ธันวาคม 2001[4] ส่วนรุ่น 7.10 และ 8.0 สิ้นสุดการสนับสนุนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2006 |
แต่เดิม เอ็มเอสดอสมีเป้าหมายไปที่หน่วยประมวลผลอินเทล 8086 ซึ่งทำงานบนฮาร์ดแวร์ที่ใช้ฟลอปปีดิสก์ในการจัดเก็บและเข้าถึงระบบปฏิบัติการ รวมไปถึงโปรแกรมประยุกต์และข้อมูลผู้ใช้ด้วย และในรุ่นถัดมาก็ได้รองรับสื่อจัดเก็บข้อมูลมวลสูงชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติม ในขนาดและรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลายขึ้น รวมไปถึงหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่ ๆ และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเอ็มเอสดอสก็ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ทำให้ไมโครซอฟท์เติบโตจากบริษัทผู้พัฒนาภาษาโปรแกรมไปเป็นบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อันหลากหลาย ซึ่งช่วยให้ไมโครซอฟท์มีรายได้และทรัพยากรทางการตลาดที่สำคัญ นอกจากนี้เอ็มเอสดอสยังเป็นระบบปฏิบัติการพื้นฐานซึ่งวินโดวส์ใช้เพื่ออาศัยในการทำงาน เนื่องจากขณะนั้นวินโดวส์ยังเป็นเพียงส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้เท่านั้น
เอ็มเอสดอสมีการออกรุ่นทั้งหมดแปดรุ่น จนการพัฒนาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2000 โดยรุ่น 6.22 ซึ่งออกเมื่อปี ค.ศ. 1994 เป็นรุ่นสุดท้ายที่วางจำหน่ายแยกต่างหาก ส่วนรุ่น 7 และ 8 นั้นเป็นรุ่นที่มาพร้อมกับวินโดวส์ 9x ซึ่งมีหน้าที่ส่วนใหญ่อยู่เบื้องหลังในการเรียกระบบวินโดวส์ในยุคนั้น[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ Paterson, Tim (June 1983). "An Inside Look at MS-DOS". Seattle Computer Products. Seattle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2017. สืบค้นเมื่อ April 16, 2016.
- ↑ "MS-DOS: A Brief Introduction". The Linux Information Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2017. สืบค้นเมื่อ December 14, 2017.
- ↑ Hanselman, Scott; Wilcox, Jeff (2024-04-25). "Open sourcing MS-DOS 4.0". Microsoft Open Source Blog. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-25. สืบค้นเมื่อ 2024-04-26.
Today, in partnership with IBM and in the spirit of open innovation, we’re releasing the source code to MS-DOS 4.00 under the MIT license.
- ↑ "Obsolete Products Life-Cycle Policy". Support. Microsoft. July 30, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 6, 2006. สืบค้นเมื่อ April 6, 2010.
- ↑ Jerica Jean Lapuz (2023). "UNVEILING THE DEPTHS OF MS-DOS: AN IN-DEPTH EXPLORATION OF ITS ARCHITECTURE, COMMANDS, AND HISTORICAL SIGNIFICANCE" (ภาษาอังกฤษ). doi:10.13140/RG.2.2.14329.85608.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "A Compilation of 8 Historical Essays". สืบค้นเมื่อ January 30, 2016.[ลิงก์เสีย]