เอลตาฆิน (สเปน: El Tajín) เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนโคลัมบัสในรัฐเบรากรุซทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก และเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในสมัยคลาสสิกของมีโซอเมริกา เอลตาฆินเป็นส่วนหนึ่งของเขตวัฒนธรรมเบรากรุซสมัยคลาสสิก มีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ ค.ศ. 600 ถึง ค.ศ. 1200 ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการสร้างวิหาร วัง สนามเล่นบอล และพีระมิดจำนวนมาก[1] ตั้งแต่ช่วงที่เอลตาฆินล่มสลาย (คือ ค.ศ. 1230) จนถึง ค.ศ. 1785 ดูเหมือนว่าไม่มีชาวยุโรปคนใดรับรู้ถึงการมีอยู่ของเมืองนี้จนกระทั่งผู้ตรวจการของรัฐคนหนึ่งได้มาพบพีระมิดแห่งช่องเว้าโดยบังเอิญ[2] กล่าวกันว่าชื่อเอลตาฆินมีที่มาจากพระนามของเทพเจ้าแห่งฝนฟ้าคะนองของชาวโตโตนัก[3]

เอลตาฆิน
นครสมัยก่อนอารยธรรมสเปน *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
พีระมิดแห่งช่องเว้า
พิกัด20°26′52.8″N 97°22′40.0″W / 20.448000°N 97.377778°W / 20.448000; -97.377778พิกัดภูมิศาสตร์: 20°26′52.8″N 97°22′40.0″W / 20.448000°N 97.377778°W / 20.448000; -97.377778
ประเทศ เม็กซิโก
ภูมิภาค **ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii), (iv)
อ้างอิง631
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1992 (คณะกรรมการสมัยที่ 16)
พื้นที่240 ha (590 เอเคอร์)
เอลตาฆินตั้งอยู่ในเม็กซิโก
เอลตาฆิน
ที่ตั้งของเอลตาฆินในเม็กซิโกและมีโซอเมริกา
เอลตาฆินตั้งอยู่ในมีโซอเมริกา
เอลตาฆิน
เอลตาฆิน (มีโซอเมริกา)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เอลตาฆินได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกใน ค.ศ. 1992 เนื่องจากมีความสำคัญทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม[4] สถาปัตยกรรมดังกล่าวได้แก่การใช้ช่องเว้าและวัตถุประสานเป็นเครื่องตกแต่งในรูปแบบที่ไม่ปรากฏในพื้นที่อื่นของมีโซอเมริกา[5] โบราณสถานที่รู้จักกันดีที่สุดของแหล่งนี้คือพีระมิดแห่งช่องเว้า แต่โบราณสถานสำคัญอื่น ๆ ยังมีกลุ่มอาคารริมธาร สนามเล่นบอลทิศเหนือและทิศใต้ และหมู่วังที่ตาฆินชิโก[6] มีการค้นพบสนามเล่นบอลที่แหล่งนี้ 20 สนาม (3 สนามล่าสุดได้รับการค้นพบในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013)[7] ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา เอลตาฆินเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดในรัฐเบรากรุซสำหรับนักท่องเที่ยว[8] โดยมีผู้มาเยี่ยมชมมากถึง 386,406 คนใน ค.ศ. 2017[9]

เอลตาฆินยังเป็นสถานที่จัดงานเทศกาลกุมเบรตาฆินซึ่งจัดขึ้นในเดือนมีนาคมของทุกปี มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองและชาวต่างประเทศ ตลอดจนคอนเสิร์ตของเหล่านักดนตรียอดนิยม[10]

อ้างอิง แก้

  1. Wilkerson, S. Jeffery K. (1987). El Tajin: A Guide for Visitors. pp. 72–73. ISBN 968-499-293-9.
  2. Wilkerson, S. Jeffery K. (1987). El Tajin: A Guide for Visitors. p. 12. ISBN 968-499-293-9.
  3. Watson, Iain (April 2002). "The Art of Mesoamerica, From Olmec to Aztec (3rd Edition)2002204Mary Ellen Miller. The Art of Mesoamerica, From Olmec to Aztec (3rd Edition). London : Thames and Hudson 2001. 240 pp., £8.95 The World of Art series". Reference Reviews. 16 (4): 32. doi:10.1108/rr.2002.16.4.32.204. ISBN 0-500-20345-8. ISSN 0950-4125.
  4. "El Tajin, Pre-Hispanic City". World Heritage Organization/UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2010-02-09.
  5. Wilkerson, S. Jeffery K. (1987). El Tajin: A Guide for Visitors. p. 45. ISBN 968-499-293-9.
  6. Schuster, Angela M. H. (1998-02-13). "El Tajín, Abode of the Dead "The Photography of Nicolas Sapieha"". Archeology magazine. สืบค้นเมื่อ 2010-02-09.
  7. Various. "El Tajin, Veracruz, Mexico, Ruin Site, Pyramid of the Niches". Softseattravel.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-08. สืบค้นเมื่อ 2012-11-03.
  8. "El Tajín, patrimonial mundial" [El Tajin, world heritage] (ภาษาสเปน). Mexico: INAH. 2007-12-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-04. สืบค้นเมื่อ 2010-02-09.
  9. "Estadística de Visitantes" (ภาษาสเปน). INAH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2012. สืบค้นเมื่อ 25 March 2018.
  10. Reyes-Heroles C, Regina (2009-02-25). "Tajín, un espacio para vivir la magia" [Tajin, a space to experience the magic]. CNN Expansion (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2010-02-09.