เอฟเอพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1993–94

เอฟเอพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1993–94 (รู้จักกันในชื่อ FA Carling Premiership ด้วยเหตุผลด้านการสนับสนุน) เป็นฤดูกาลที่สองของพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของฟุตบอลอาชีพในอังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด คว้าแชมป์ลีกโดยมีแต้มเหนือ แบล็กเบิร์นโรเวอร์ส 8 แต้ม โดยเป็นแชมป์ลีกสมัยที่สองติดต่อกัน สวินดอนทาวน์ อยู่ท้ายตารางของลีกในฤดูกาลแรกของพวกเขาในฟุตบอลลีกสูงสุด และตกชั้นพร้อมกับ เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด และ โอลดัมแอทเลติก นอกจากนี้ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ยังทำลายสถิติการทำแต้มสูงสุดของพวกเขาเองในฤดูกาลเดียวในฤดูกาลที่แล้ว ก่อนที่ เชลซี ในยุคของ โชเซ่ มูรินโญ่ จะทำลายสถิติของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดลงในฤดูกาล 2004–05

เอฟเอพรีเมียร์ลีก
ฤดูกาล1993–94
วันที่14 สิงหาคม 1993 – 08 พฤษภาคม 1994
ทีมชนะเลิศแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
แชมป์พรีเมียร์ลีกสมัยที่ 2
แชมป์ลีกสูงสุดอังกฤษสมัยที่ 9
ตกชั้นเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด
โอลดัมแอทเลติก
สวินดอนทาวน์
แชมเปียนส์ลีกแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
คัพวินเนอร์สคัพอาร์เซนอล
เชลซี
ยูฟ่าคัพแบล็กเบิร์นโรเวอส์
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด
แอสตันวิลลา
จำนวนประตู1,195
ผู้ทำประตูสูงสุดแอนดี โคล (34 ประตู)
ทีมเหย้า
ชนะสูงสุด
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 7–1 สวินดอนทาวน์
(12 มีนาคม 1994)
ทีมเยือน
ชนะสูงสุด
สวินดอนทาวน์ 0–5 ลิเวอร์พูล
(22 สิงหาคม 1993)
สวินดอนทาวน์ 0–5 ลีดส์ยูไนเต็ด
(7 พฤษภาคม 1994)
จำนวนประตูสูงสุดนอริชซิตี 4–5 เซาแทมป์ตัน
(9 เมษายน 1994)
ชนะติดต่อกัน
มากที่สุด
8 นัด[1]
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ไม่แพ้ติดต่อกัน
มากที่สุด
22 นัด[1]
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ไม่ชนะติดต่อกัน
มากที่สุด
15 นัด[1]
สวินดอนทาวน์
แพ้ติดต่อกัน
มากที่สุด
7 นัด[1]
ทอตนัมฮอตสเปอร์
จำนวนผู้ชมสูงสุด45,347[2]
แอสตันวิลลา พบ ลิเวอร์พูล
(7 พฤษภาคม 1994)
จำนวนผู้ชมต่ำสุด4,739[2]
วิมเบิลดัน พบ คอเวนทรีซิตี
(26 ธันวาคม 1993)

ในฤดูกาลนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนกฎเช่น ให้ปลอกแขนกัปตันทีมมีตราสัญลักษณ์ของพรีเมียร์ลีกและคำว่า Captain อยู่บนปลอกแขนเพื่อจะได้ระบุตัวได้ง่ายยิ่งขึ้นกว่าเดิม ยกเลิกกฎเบอร์เสื้อตามตำแหน่งเพื่อไม่ให้เกิดการสับสนเนื่องจากสมัย ดิวิชัน 1 มีนักเตะที่สวมเบอร์เหล่านั้นจำนวนมากเวลาลงเล่นในตำแหน่งนั้น เช่น เบอร์ 11 ของ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด บางครั้ง ลี ชาร์ป เป็นตัวจริงก็สวมเบอร์ 11 ไรอัน กิ๊กส์ จึงต้องเปลี่ยนไปสวมเบอร์อื่น พอนัดถัดมา ไรอัน กิ๊กส์ เป็นตัวจริงในตำแหน่งนั้น ก็สวมเบอร์ 11 ลี ชาร์ป ที่เป็นตัวจริงนัดที่แล้วจึงต้องสวมเบอร์อื่นแทน

เปลี่ยนเป็นกำหนดเบอร์เสื้อให้นักเตะแต่ละคนพร้อมชื่อแบบตายตัวเพื่อจะได้จดจำได้ง่ายขึ้น

ภาพรวม แก้

ผู้สนับสนุนลีก แก้

ตั้งแต่เริ่มต้นฤดูกาล 1993–94 เอฟเอ พรีเมียร์ลีก ได้รับการสนับสนุนจาก Carling Breweries

การซื้อขาย แก้

ก่อนเริ่มฤดูกาล รอย คีน กลายเป็นนักเตะที่มีค่าตัวแพงที่สุดที่เซ็นสัญญาโดยทีมฟุตบอลจากอังกฤษ มิดฟิลด์ชาวไอริชวัย 22 ปีรายนี้ย้ายจาก นอตทิงแฮมฟอเรสต์ ไปอยู่กับ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ด้วยค่าตัว 3.75 ล้านปอนด์

ระหว่างฤดูกาล 1993-94 ผู้เล่นจำนวนมากถูกย้ายระหว่างสโมสรในพรีเมียร์ลีกโดยมีค่าตัวเกิน 1 ล้านปอนด์ ได้แก่ เดวิด ไวท์ (แมนเชสเตอร์ซิตี ไป ลีดส์ ยูไนเต็ด), เดวิด โรคาสเซิล (จาก ลีดส์ยูไนเต็ด ไป แมนเชสเตอร์ซิตี), รอย เวเกอร์เล่ (แบล็กเบิร์นโรเวอร์ส ไป โคเวนทรีซิตี) และ ทิม ฟลาวเวอร์ส (เซาแทมป์ตัน ไป แบล็คเบิร์นโรเวอร์ส) ด้วยค่าตัว 2.5 ล้านปอนด์ ส่งผลให้ฟลาวเวอร์สกลายเป็นผู้รักษาประตูที่ค่าตัวแพงที่สุดในฟุตบอลอังกฤษในขณะนั้น

สรุป แก้

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เป็นผู้นำในพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 1993-94 ตลอดทั้งฤดูกาล ในที่สุดก็จบด้วยการเป็นแชมป์นำหน้า แบล็กเบิร์นโรเวอร์ส ซึ่งเป็นรองแชมป์ 8 แต้ม พวกเขายังได้แชมป์เอฟเอคัพหลังจากเอาชนะเชลซี 4-0 ในรอบชิงชนะเลิศ ดังนั้นจึงกลายเป็นเพียงทีมที่สี่ที่ทำได้ในศตวรรษที่ 20 (หลังจากทอตนัมฮอตสเปอร์ในปี 1961, อาร์เซนอลในปี 1971 และลิเวอร์พูลในปี 1986) พวกเขามีคะแนนนำในพรีเมียร์ลีกอยู่ที่ 11 แต้มภายในสิ้นเดือนตุลาคมและสูงสุดที่ 16 แต้มในอีกสองเดือนต่อมา แต่ผลการแข่งขันที่แย่ในเดือนมีนาคม ตามมาด้วยความพ่ายแพ้ต่อแบล็คเบิร์นเมื่อต้นเดือนเมษายน หมายความว่าตอนนี้พวกเขานำในลีกด้วยผลต่างประตูเท่านั้น แต่พวกเขาก็กลับมาคืนฟอร์มและรักษาแชมป์ไว้ได้ โดยยังเหลือการแข่งขันอีก 2 นัด

นอริชซิตี, ลีดส์ยูไนเต็ด, นิวคาสเซิลยูไนเต็ด, เอฟเวอร์ตัน และ แอสตันวิลลา อยู่ในกลุ่มที่โชว์ฟอร์มได้ดีในช่วงต้นฤดูกาล ก่อนที่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จะเป็นผู้นำแบบไม่เห็นฝุ่น นอริชไปถึงรอบที่สามของ ยูฟ่าคัพ หลังจากที่เอาชนะ บาเยิร์นมิวนิค ได้ในรอบที่สอง แต่ฟอร์มในลีกของพวกเขาตกต่ำลงหลังจากที่ ไมค์ วอล์คเกอร์ ผู้จัดการทีมของพวกเขาย้ายไปเอฟเวอร์ตันในเดือนมกราคมแทนที่ ฮาเวิร์ด เคนดัลล์ และนอริชจบที่อันดับ 12 การนำของเอฟเวอร์ตันช่วงสั้น ๆ ในลีกในช่วงเปิดฤดูกาลนั้นตามมาด้วยฟอร์มที่ตกต่ำ และผู้จัดการทีม ฮาเวิร์ด เคนดัลล์ ลาออกจากตำแหน่งเมื่อต้นเดือนธันวาคมโดยทีมท็อฟฟี่สีน้ำเงิน อยู่ในครึ่งล่างของตาราง พวกเขารอดพ้นการตกชั้นอย่างหวุดหวิดในวันสุดท้ายของฤดูกาล แอสตันวิลลา จบอันดับ 10 อย่างน่าผิดหวังในลีก แต่คว้าแชมป์ฟุตบอลลีกคัพเป็นสมัยที่สี่

รองแชมป์พรีเมียร์ลีกได้แก่ แบล็กเบิร์นโรเวอส์ อันดับที่สามคือ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด ซึ่ง แอนดี โคล กองหน้าวัย 22 ปีเป็นดาวซัลโวสูงสุดของพรีเมียร์ลีกด้วยจำนวน 34 ประตูจาก 40 เกมรวม 41 ประตูในทุกรายการ อันดับที่สี่คือ อาร์เซนอล ซึ่งประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับยุโรปด้วยชัยชนะ 1-0 เหนือ ปาร์มา ในรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ

สวินดอนทาวน์ เก็บชัยชนะได้เพียง 5 เกมตลอดทั้งฤดูกาล และตกชั้นโดยเสีย 100 ประตูในลีกจาก 42 เกม โอลดัมแอทเลติก ซึ่งรอดพ้นการตกชั้นจากผลต่างประตูเมื่อฤดูกาลที่แล้ว ตกชั้นในวันสุดท้ายของฤดูกาลหลังจากล้มเหลวในการชนะนอริชซิตี ทีมสุดท้ายที่ตกชั้นคือ เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด ซึ่งตกชั้นจากลีกสูงสุดหลังจากแพ้ เชลซี 3-2 โดยประตูชัยมาในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ

ทีม แก้

22 ทีมเข้าแข่งขันในลีก - 19 ทีมชั้นนำจากฤดูกาลที่แล้วและ 3 ทีมที่เลื่อนชั้นจากดิวิชั่น 1 ทีมที่เลื่อนชั้นขึ้นมา ได้แก่ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด, เวสต์แฮมยูไนเต็ด และ สวินดอนทาวน์ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด และเวสต์แฮมยูไนเต็ดกลับมาสู่ลีกสูงสุดอีกครั้งหลังจากหายไปนานถึง 4 ปีและ 1 ปีตามลำดับ ขณะที่สวินดอนทาวน์ลงเล่นในลีกสูงสุดเป็นครั้งแรก พวกเขาเข้ามาแทนที่ คริสตัลพาเลซ, มิดเดิลส์เบรอ และ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ โดยสิ้นสุดช่วงเวลา 4 ปี 1 ปี และ 16 ปีตามลำดับ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "English Premier League 1993–94". statto.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2015. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
  2. 2.0 2.1 "Match Report". สืบค้นเมื่อ 14 March 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้