เหตุเครื่องบินสโมสรฮอกกี้โลโคโมติฟยาโรสลัฟล์ตก พ.ศ. 2554

เหตุเครื่องบินสโมสรฮอกกี้โลโคโมติฟยาโรสลัฟล์ตก พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554 เมื่อเวลา 16.02 น. ตามเวลาท้องถิ่น เมื่ออากาศยานโดยสารแบบยัค-42 ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารทีมฮ็อกกีน้ำแข็งอาชีพ และเจ้าหน้าที่โค้ชของทีมโลโคโมติฟยาโรสลัฟล์แห่งคอนตีเนนทัลฮอกกี้ลีก (KHL) ตกใกล้กับยาโรสลัฟล์ ประเทศรัสเซีย ทีมกำลังออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังมินสค์ ประเทศเบลารุส เพื่อเริ่มต้นแข่งขัน KHL ฤดูกาล 2011-12[3] ผู้เล่นทุกคนในรายชื่อทีมหลักและผู้เล่นสี่คนจากทีมสำรองอยู่บนอากาศยานลำนั้น ซึ่งชนเข้ากับเสาหอคอย และประสบอุบัติเหตุตกไม่นานหลังนำเครื่องขึ้น ราว 2.5 กิโลเมตรจากท่าอากาศยานตูโนชนา รายงานเบื้องต้นว่า ผู้โดยสารบนเครื่องทั้งหมด 45 คนได้รับยืนยันว่าเสียชีวิต ยกเว้นสองคน เป็นผู้เล่นหนึ่งคนและสมาชิกลูกเรือหนึ่งคน[3][4]

เหตุเครื่องบินสโมสรฮอกกี้โลโคโมติฟยาโรสลัฟล์ตก พ.ศ. 2554
สรุปอุบัติการณ์
วันที่7 กันยายน ค.ศ. 2011 (2011-09-07)
สรุปกำลังสืบสวน
จุดเกิดเหตุแม่น้ำวอลกา ใกล้กับยาโรสลัฟล์ รัสเซีย
57°33′07″N 40°07′16″E / 57.5518528°N 40.121212°E / 57.5518528; 40.121212พิกัดภูมิศาสตร์: 57°33′07″N 40°07′16″E / 57.5518528°N 40.121212°E / 57.5518528; 40.121212
ประเภทอากาศยานยาคอฟเลฟ ยัค-42ดี
ดําเนินการโดยยัคเซอร์วิส
ต้นทางท่าอากาศยานตูโนชนา ยาโรสลัฟล์ ประเทศรัสเซีย
ปลายทางท่าอากาศยานมินสค์-1 มินสค์ ประเทศเบลารุส
ผู้โดยสาร37[1]
ลูกเรือ8[1]
เสียชีวิต43[2]
รอดชีวิต2[1][2]

อากาศยาน แก้

อากาศยานลำที่เกิดอุบัติเหตุ ยาคอฟเลฟ ยัค-42ดี หมายเลขทะเบียน RA-42434 และหมายเลขการผลิต 4520424305017 บินครั้งแรกใน พ.ศ. 2536 และถูกส่งไปยังโอเรลแอร์เอ็นเทอร์ไพรซ์ หลังปฏิบัติงานกับบืยโคโว อะเวีย มันได้ถูกส่งไปปฏิบัติงานกับฝูงบินเอโร เรนท์ และต่อมาปฏิบัติงานโดยยัคเซอร์วิส ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอากาศยานลำที่ประสบอุบัติเหตุ[5] โอเลก พันเทเลเยฟ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ที่อาเวียพอร์ท ชี้ว่า ยัค-42 ได้รับการออกแบบมาให้มีอายุใช้งาน 36 ปี และเครื่องบินลำดังกล่าว ตามจำนวนชั่วโมงบิน จำนวนครั้งที่นำเครื่องขึ้นและลงจอด ยังมีอายุการใช้งานเหลืออยู่อีก 60% ตามข้อมูลของพันเทเลเยฟ ในการบินพลเรือน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "อากาศยานลำเก่า" แต่พิจารณาความเหมาะสมในการใช้งาน (airworthiness) แทน[6] ตามข้อมูลของรัฐมนตรีช่วยกระทรวงคมนาคม วาเลรี โอคูลอฟ เครื่องยนต์หนึ่งในสามของเครื่องบินถูกเปลี่ยนหนึ่งเดือนก่อนเกิดเหตุ[7] อากาศยานลำดังกล่าวมีกำหนดจะถูกปลดระวางในปลาย พ.ศ. 2554 เพื่อยกเครื่องยนต์ครั้งใหญ่ตามกำหนด[8]

ใน พ.ศ. 2552 ยัคเซอร์วิสถูกสอบสวนโดยคณะกรรมาธิการยุโรป หลังมีความกังวลด้านความเหมาะสมในการใช้งานและความปลอดภัยทางอากาศ ทางการรัสเซียออกข้อจำกัดต่อบริษัท และทำให้ยัคเซอร์วิสต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาตรฐานสากล[9] ใน พ.ศ. 2553 ยัคเซอร์วิสถูกห้ามทำการบินเข้าไปในน่านฟ้ายุโรป กระทรวงคมนาคมรัสเซีย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ห้ามยัคเซอร์วิสมิให้บินเข้าไปในยุโรป วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ข้อจำกัดการทำการถูกยกเลิกโดยทางการรัสเซีย อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการยุโรปยังไม่พอใจกับอุปกรณ์บังคับที่มีอยู่บนเครื่องบินยัคเซอร์วิสทุกลำ และห้ามเครื่องบินโดยสารขนาดเล็กยัค-40 สองลำ (หมายเลขทะเบียน RA-87648 และ RA-88308) มิให้ทำการบินในน่านฟ้ายุโรป[10]

อุบัติเหตุ แก้

อากาศยานยัคเซอร์วิสติดหอบอกตำแหน่งซึ่งอยู่ห่าง 450 เมตรจากปลายรันเวย์ 05 ที่ท่าอากาศยานตูโนชนา ขณะกำลังนำเครื่องขึ้น โดยมีรายงานว่าอากาศยานลำดังกล่าวใช้พื้นที่รันเวย์มากเกินไปในการนำเครื่องขึ้นและไม่ได้รับความสูงที่จะนำเครื่องขึ้นอย่างเหมาะสม[11] หลังชนเข้ากับเสาเรดาร์ของหอ เครื่องบินได้ชนเข้ากับฝั่งแม่น้ำตูโนชนา ห่างจากจุดที่ไหลไปรวมกับแม่น้ำวอลกา 200 เมตร โดยสูญเสียส่วนหางไปเมื่อชน ขณะที่ส่วนหน้าของเครื่องแตกเป็นชิ้น ๆ[11] ที่จุดตก ส่วนหางยังอยู่ในน้ำ ขณะที่ชิ้นส่วนหน้าอยู่บนพื้นแห้ง[12] ตำแหน่งของซากเครื่องบินอยู่ห่างจากปลายรันเวย์อย่างน้อย 2 กิโลเมตร[13]

รายงานพยานระบุว่าเครื่องบิน "ระเบิดลุกเป็นไฟ" หลังชนเข้ากับเสาเรดาร์[14] ทิศทางของเครื่องบินเปลี่ยนหลังจากนั้น พยานอีกรายงานหนึ่งอธิบายว่า เครื่องยนต์ของเครื่องเงียบลงไม่กี่อึดใจก่อนเกิดอุบัติเหตุชน[15] อีกรายงานหนึ่งว่า เครื่องบินชนกับต้นไม้บางต้นก่อนตก[16] อีกรายงานหนึ่งว่า เครื่องบินแตกออกเป็นสองส่วนก่อนชน[12] กล้องเฝ้าตรวจความปลอดภัยซึ่งติดตั้งไว้บนเสาเรดาร์บันทึกการพุ่งเข้าของอากาศยานด้วยความเร็ว วิ่งออกปลายรันเวย์ เหนือพื้นดินไม่กี่เมตร และจมูกเชิดขึ้นไม่กี่อึดใจก่อนชนกับเสาเรดาร์[17]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Крушение самолета Як-42 в Ярославской области" (ภาษารัสเซีย). Ministry of Emergency Situations. 7 September 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011.
  2. 2.0 2.1 Full list of people on board of crashed Yak-42, Russia Today (7 September 2011)
  3. 3.0 3.1 "Russian ice hockey team wiped out in plane crash". Yaroslavl: RIA Novosti. 7 September 2011. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011.
  4. "Top KHL squad killed in passenger plane crash in Russia — RT". Rt.com. 2008-02-06. สืบค้นเมื่อ 2011-09-08.
  5. "Яковлев Як-42Д Бортовой №: RA-42434" (ภาษารัสเซีย). russianplanes.net. สืบค้นเมื่อ 8 September 2011.
  6. "Разбившийся Як-42 израсходовал 40% летного ресурса, сообщили эксперты" (ภาษารัสเซีย). Moscow: RIA Novosti. 7 September 2011. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011. (รัสเซีย)
  7. "Russian investigators probe KHL jet crash". CBC News. September 8, 2011. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
  8. "Дмитрий Медведев почтил память погибших в авиакатастрофе под Ярославлем". Presidential Administration of Russia. 8 September 2011. สืบค้นเมื่อ 9 September 2011. (รัสเซีย)
  9. "Commission Regulation (EC) No 1144/2009 of 26 November 2009 amending Regulation (EC) No 474/2006 establishing the Community list of air carriers which are subject to an operating ban within the Community". Eur-lex.europa.eu. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
  10. Kaminiski, David (September 9, 2011). "Yak Service had come under EU safety scrutiny". FlightGlobal. สืบค้นเมื่อ September 9, 2011.
  11. 11.0 11.1 Kaminiski, David (September 8, 2011). "Yak-42 failed to gain height and hit beacon: ministry". FlightGlobal. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
  12. 12.0 12.1 "Нелетная страна". Rosbalt. September 8, 2011. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
  13. "Accident description". Aviation Safety Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-16. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
  14. Maloveryan, Yuri (September 7, 2011). "Russia's Lokomotiv ice hockey team in air disaster". BBC News. สืบค้นเมื่อ September 9, 2011.
  15. "Poor-quality fuel emerges as possible cause in fatal Russian jet crash". The Globe and Mail. September 8, 2011. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
  16. Выживший бортинженер пытался спасти пилота (ภาษารัสเซีย). NTV. September 8, 2011. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
  17. "Last second Yak-42 were recorded on video". NTV (ภาษารัสเซีย). September 8, 2011. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.