เหตุระเบิดในโมกาดิชู 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560 แรงระเบิดครั้งใหญ่จากระเบิดติดรถบรรทุกในกรุงโมกาดิชู เมืองหลวงของประเทศโซมาเลีย ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 587 คน[1] และบาดเจ็บประมาณ 316 คน[3][4][5]

เหตุระเบิดในโมกาดิชู 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามในโซมาเลีย (พ.ศ. 2552–ปัจจุบัน)
สภาพความเสียหายหลังเกิดเหตุระเบิด
โมกาดิชูตั้งอยู่ในโซมาเลีย
โมกาดิชู
โมกาดิชู
โมกาดิชู (โซมาเลีย)
สถานที่โมกาดิชู, โซมาเลีย
พิกัด2°01′57″N 45°18′16″E / 2.0325338°N 45.3045756°E / 2.0325338; 45.3045756
วันที่14 ตุลาคม 2560 (UTC+03:00)
ประเภทระเบิดติดรถบรรทุก
ตาย587 คน[1]
เจ็บประมาณ 316 คน[2]

แม้ว่ายังไม่มีกลุ่มใดออกมาอ้างความรับผิดชอบ[6][7][8][9] แต่เจ้าหน้าที่ของโซมาเลียก็เชื่อว่าการโจมตีครั้งนี้เป็นฝีมือของกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของกลุ่มติดอาวุธอัชชะบาบ จากคำให้การอย่างภาคภูมิใจของสมาชิกสำคัญคนหนึ่งซึ่งถูกจับกุมในขณะขับพาหนะอีกคันที่ซุกซ่อนระเบิดเข้าไปในกรุงโมกาดิชูในวันเกิดเหตุ[10]

เพื่อเป็นการไว้อาลัยเหตุระเบิด โมฮัมเหม็ด อับดุลลาฮี โมฮัมเหม็ด ประธานาธิบดีโซมาเลีย ประกาศไว้ทุกข์ทั่วประเทศเป็นเวลา 3 วัน[3]

ภูมิหลัง

แก้

ในช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2554 ภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกเผชิญกับภัยแล้งและการขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโซมาเลียตอนใต้ ทำให้ผู้คนนับหมื่นคนข้ามพรมแดนไปยังเอธิโอเปียและเคนยาเพื่อหลบภัย[11] กลุ่มอัชชะบาบขู่ว่าจะขับไล่กลุ่มช่วยเหลือที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ก่อนที่กองกำลังภารกิจสหภาพแอฟริกาในโซมาเลีย (African Union Mission in Somalia) จะดำเนินการผลักดันให้นักรบกลุ่มดังกล่าวออกไปจากพื้นที่[12][13]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 อัชชะบาบอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุระเบิดครั้งหนึ่งในกรุงกัมปาลาของยูกันดา เพื่อตอบโต้การสนับสนุนและการปรากฏของยูกันดาในภารกิจสหภาพแอฟริกาในโซมาเลีย[14]

ในปี พ.ศ. 2560 โซมาเลียยังคงประสบภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 40 ปี ด้วยมหันตภัยจากสภาพอากาศประกอบกับสงครามและการปกครองที่ไม่ดี อัชชะบาบสั่งห้ามความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ที่กลุ่มควบคุมอยู่ โดยบังคับให้ผู้คนหลายแสนคนเลือกระหว่างความอดอยากกับการลงโทษอย่างรุนแรง[15]

สหรัฐอเมริกามีส่วนเกี่ยวข้องทางการทหารในโซมาเลียจนถึงปี พ.ศ. 2537 และได้ถอนตัวออกไปหลังจากนั้น ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2560 สหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้โซมาเลียเป็น "พื้นที่ที่มีความเป็นศัตรูกันอย่างต่อเนื่อง" และอนุมัติให้ส่งทหารของตนไปปฏิบัติการในโซมาเลียอีกครั้ง

การโจมตี

แก้

ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560 รถบรรทุกคันหนึ่งซึ่งมีวัตถุระเบิดซุกซ่อนอยู่ถูกจุดชนวนระเบิดใกล้โรงแรมซาฟารีในเขตฮูดาน[16] แหล่งข่าวใกล้ชิดกับรัฐบาลระบุว่า รถบรรทุกคันดังกล่าวได้บรรทุกวัตถุระเบิดทั้งที่ประกอบขึ้นเองและในระดับที่ใช้ในการทหาร รถบรรทุกถูกกักไว้ที่ด่านแห่งหนึ่งในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วได้รับอนุญาตให้ไปต่อหลังจากที่หน่วยงานในท้องถิ่นได้รับรองให้ จากนั้นได้ถูกเจ้าหน้าที่ความมั่นคงสั่งให้หยุดระหว่างการจราจรติดขัด เมื่อเจ้าหน้าที่จะเริ่มตรวจค้น คนขับรถได้เร่งเครื่องและชนแผงกั้นจราจรทำให้รถบรรทุกระเบิด คาดว่าเป้าหมายที่แท้จริงน่าจะเป็นที่ทำการกระทรวงแห่งหนึ่ง แรงระเบิดทำให้โรงแรมซาฟารีและอาคารข้างเคียงพังถล่มลงมา ส่งผลให้มีผู้ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังหลายคน สถานเอกอัครราชทูตกาตาร์ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง[16]

ระเบิดครั้งที่สองตามมาในวันเดียวกัน โดยทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คนในเขตวาดาญีร[6] ระเบิดติดพาหนะอีกคันหนึ่งถูกสกัดกั้นและหยุดลงได้[17]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Death toll in Somalia terror attack rises to 358". Irish Independent.
  2. Abdi Guled (October 16, 2017). "Somalia truck bombing toll over 300, scores remain missing". Associated Press.
  3. 3.0 3.1 "Somalia Declares Three Days of Mourning for Mogadishu Attack". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 15 October 2017.
  4. "Hundreds dead in Mogadishu blast". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 15 October 2017. สืบค้นเมื่อ 15 October 2017.
  5. [1]
  6. 6.0 6.1 "Somalia: At least 30 dead in Mogadishu blasts". BBC News. 14 October 2017. สืบค้นเมื่อ 14 October 2017.
  7. Gayle, Damien (14 October 2017). "Somalia: deadly truck bombing in Mogadishu". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 14 October 2017.
  8. Guled, Abdi (14 October 2017). "Blast rocks Somalia's capital; police say 20 dead". CTVNews (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 14 October 2017.
  9. "Somalia bomb attacks: Death toll rises to 85 in twin blasts in Mogadishu". The Independent. 15 October 2017.
  10. Jason Burke (16 October 2017). "Mogadishu bombing: parents' grief for medical student killed in blast". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  11. "Somalia fleeing to Kenya in large numbers". BBC News. 28 June 2011. สืบค้นเมื่อ 16 October 2016.
  12. Associated Press (29 April 2013). "Famine Toll in 2011 Was Larger Than Previously Reported". New York Times. สืบค้นเมื่อ 16 October 2013.
  13. Meleagrou-Hitchens, Alexander (26 September 2012). "Factors Responsible for Al-Shabab's Losses in Somalia". ctc.usma.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-19. สืบค้นเมื่อ 16 October 2016.
  14. Bariyo, Nicholas (12 July 2010). "Deadly Blasts Rock Uganda's Capital". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 16 October 2016.
  15. Burke, Jason. "Mogadishu atrocity may provoke deeper US involvement in Somalia". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  16. 16.0 16.1 [2]
  17. Jason Burke (16 October 2017). "Mogadishu bombing: al-Shabaab behind deadly blast, officials say". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เหตุระเบิดในโมกาดิชู ตุลาคม พ.ศ. 2560