เหตุจลาจลย่างกุ้ง พ.ศ. 2473

เหตุจลาจลย่างกุ้ง เป็นความรุนแรงระหว่างเชื้อชาติระหว่างแรงงานชาวพม่าและอินเดีย เกิดเหตุขึ้นครั้งแรกเมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 แล้วจึงแพร่กระจายไปยังบริเวณที่มีชาวอินเดียอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน และบาดเจ็บร่วมพันคน ต่อมา เกิดเหตุจลาจลในเรือนจำในวันที่ 24 มิถุนายน ระหว่าง เจ้าหน้าที่เรือนจำชาวอินเดียและผู้ต้องขังชาวพม่า และในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นก็เกิดกบฏสยาซาน

ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2473 เป็นช่วงที่เกิดเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ แรงงานอินเดียที่ท่าเรือนัดหยุดงานเพื่อขอขึ้นค่าแรง แรงงานชาวพม่าได้นัดหยุดงานด้วย ต่อมา ได้มีการตกลงเพิ่มค่าแรงให้ชาวอินเดีย แต่ไม่เพิ่มให้ชาวพม่า เมื่อเริ่มมาทำงาน ชาวอินเดียได้เยาะเย้ยชาวพม่า ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น โดยชาวพม่าได้รวมกลุ่มกันทำร้ายชาวอินเดียจนไม่กล้าออกจากบ้าน เมื่ออังกฤษระงับเหตุได้ มีผู้เสียชีวิตถึง 300- 500 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย เหตุจลาจลในเรือนจำนั้น เจ้าหน้าที่ชาวอินเดียถูกปืนยิงเสียชีวิต ผู้ต้องขังเสียชีวิต 34 คน บาดเจ็บ 60 คน

อ้างอิง แก้

  • Brown, Ian (2013). Burma's Economy in the Twentieth Century. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Chakravarti, Nalini Ranjan (1971). The Indian Minority in Burma: The Rise and Decline of an Immigrant Community. London: Oxford University Press.
  • King, Victor T. (2008). The Sociology of Southeast Asia: Transformations in a Developing Region. Copenhagen: NIAS.
  • Warren, James (2002). "The Rangoon Jail Riot of 1930 and the Prison Administration of British Burma". South East Asia Research. 10 (1): 5–29.