เหตุฆาตกรรมชารีบูกีน อัลตันตูยา
ชารีบูกีน อัลตันตูยา (มองโกเลีย: Шаарийбуугийн Алтантуяа; Shaariibuugiin Altantuyaa; ชารีโบกีง อัลตันตุยา หรือ อัลตันตูยา ชารีบู; Altantuya Shaariibuu, 6 พฤษภาคม 1978 – 18 ตุลาคม 2006) เป็นสตรีชาวมองโกเลียและเหยื่อฆาตกรรมที่เสียชีวิตจากระเบิด PETN กับ RDX หรือไม่ก็จากการฆาตกรรมทางอื่นแล้วอำพรางศพทิ้งด้วยการระเบิด ในวันที่ 18 ตุลาคม 2006 พบศพของเธอมนพื้นที่รกร้างแห่งหนึ่งในเมืองชะฮ์อาลัม ประเทศมาเลเซีย[1][2] กรณีการเสียชีวิตของเธอมีความสำคัญมากในการเมืองร่วมสมัยของมาเลเซียอันเป็นผลจากข้อกล่าวหาว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการฆาตกรรมนี้เป็นบุคคลใกล้ชิดของอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นาจิบ ราซัก
เหตุฆาตกรรมชารีบูกีน อัลตันตูยา | |
---|---|
อัลตันตูยาเมื่อปี 2001 ที่อูลานบาตาร์ ประเทศมองโกเลีย | |
ศาล | ศาลสูงชะฮ์อาลัม |
ตัดสิน | 9 เมษายน 2009 |
สมาชิกศาล | |
ผู้พิพากษา | Mohd. Zaki Mohd. Yasin |
คำสำคัญ | |
ฆาตกรรม |
ในตอนแรก ศาลสูงชะฮ์อาลัมมีคำตัดสินให้ผู้ต้องหา อับดุล ราซัก บากินดา พ้นโทษ และลดหย่อนโทษประหารชีวิตให้กับผู้ถูกต้องหาอีกสองคน คือหัวหน้าสายตรวจ อาซีละฮ์ ฮาดรี (Chief Inspector Azilah Hadri) และ สิบโท ซีรุล อัซฮาร์ อูมาร์ (Corporal Sirul Azhar Umar) ในวันที่ 9 เมษายน 2009 หลังการตัดสินคดีความยาวนาน 159 วัน[3] ต่อมา ในวันที่ 23 สิงหาคม 2013 ทั้ง ซีรุล และ ฮาซีละฮ์ ถูกตัดสินพ้นโทษโดยศาลอุทธรณ์ นำมาสู่การถกเถียงอย่างหนักไปทั่วมาเลเซีย[4] ในวันที่ 13 มกราคม 2015 ศาลสหพันธรัฐมาเลเซีย ซึ่งเป็นศาลสูงสุดของประเทศ ได้ย้อนคำตัดสินพ้นโทษของทั้งสองบุคคล และตัดสินอีกครั้งว่าทั้งคู่มีผิดฐานฆาตกรรม ต้องโทษประหารชีวิต[5] อย่างไรก็ตาม ซีรุลหลบหนีไปยังประเทศออสเตรเลีย และความพยายามของทางการมาเลเซียในการขอส่งตัวนักโทษข้ามแดนถูกระงับลงตากกฎหมายของออสเตรเลียที่ห้ามการส่งนักโทษข้ามแดนไปยังประเทศที่ยังมีโทษประหารชีวิตอยู่[6]
หลังการเลือกตั้งทั่วไปในมาเลเซีย ปี 2018 ที่ซึ่งอดีตพรรคผู้นำ บารีซันเนซันนัลพ่ายแพ้เป็นครั้งประวัติศาสตร์ ผู้ชนะการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรี มาฮาตีร์ โมฮามัด และคณะ ซึ่งรวมบิดาของอัลคันตูยา มีความหวังว่าจะมีการตรวจสอบกรณีฆาตกรรมของเธอเพิ่มเติมอีกครั้งเพื่อหามูลเหตุจูงใจในการฆาตกรรม และเพื่อทวงคืนความยุติธรรมให้กับเธอ ซีรุลระบุว่าเขาจะยินยอมเปิดเผยว่ามีอะไรเกิดขึ้นจริงบ้างในการฆาตกรรม ก็ต่อเมื่อเขาได้รับการอภัยโทษโดยสมบูรณ์เพื่อให้เขาเดินทางกลับมาเลเซียได้[7] ในวันที่ 16 ธันวาคม 2019 ฆาตกร อาซีละฮ์ ฮาดรี ขณะถูกคุมขังรอโทษประหารชีวิตในเรือนจำกาจัง กล่าวหาว่าเขาได้รับคำสั่งฆ่าอัลตันตูยามาจากนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก และ อับดุล ราซัก บากินดา พรรคพวกของนาจิบ[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ "PI points finger at Malaysia No. 2 leader in new twist to Mongolian's murder". International Herald Tribune. 3 July 2008. สืบค้นเมื่อ 3 July 2008.
- ↑ BERNAMA (2014-06-25). "Kami tak pernah kata bahan letupan C4 diguna untuk bunuh Altantuya". Utusan Borneo (ภาษามาเลย์). สืบค้นเมื่อ 2020-04-29.
- ↑ "Policemen to die in Malaysian case". BBC News. 9 April 2009. สืบค้นเมื่อ 9 April 2009.
- ↑ Tariq, Qishin. "Altantuya murder: Court of Appeal frees cops - Nation - The Star Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2022-06-19.
- ↑ "Federal Court overturns acquittal of two policemen for murder of Altantuya".
- ↑ "IGP says waiting for Australia's reply on Sirul's extradition". 16 January 2015.
- ↑ "Sirul ready to reveal all in Altantuya case - if he gets full pardon". The Star. 19 May 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-05-20.
- ↑ Nadeswaran, R. (2019-12-16). "'Najib ordered me to kill Altantuya' - Azilah's shocking allegation from death row". Malaysiakini. สืบค้นเมื่อ 2022-01-25.