พิกัดภูมิศาสตร์: 14°43′S 75°08′W / 14.717°S 75.133°W / -14.717; -75.133

เส้นนัซกา (สเปน: líneas de Nazca) เป็นกลุ่มภาพลายเส้นที่ทะเลทรายนัซกาทางตอนใต้ของประเทศเปรู[1][2] สร้างขึ้นในช่วง 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ. 500 โดยผู้คนที่ทำรอยบากหรือรอยบากตื้น ๆ บนพื้นทะเลทราย เอาก้อนกรวดออก และปล่อยดินสีต่าง ๆ ออกมา[3] มีการวาดเส้นนัซกาถึงสองระยะหลัก คือ ระยะปารากัซใน 400 ถึง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช และระยะนัซกาใน 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ. 500[4] จนกระทั่ง ค.ศ. 2020 มีการค้นพบภาพลายเส้นใหม่ระหว่าง 80 ถึง 100 รูปด้วยการใช้โดรน และนักโบราณคดีเชื่อว่าอาจพบได้มากกว่านี้[5]

เส้นและภาพเขียนบนพื้นดิน
แห่งนัซกาและปัลปา *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ภาพถ่ายทางอากาศของหนึ่งในเส้นนาซกาเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 เป็นรูปร่างที่มีชื่อว่า "ลิง"
พิกัด14°43′S 75°08′W / 14.717°S 75.133°W / -14.717; -75.133
ประเทศ เปรู
ภูมิภาค **ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i), (iii), (iv)
อ้างอิง700
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1994 (คณะกรรมการสมัยที่ 18)
พื้นที่75,358.47 เฮ็กเตอร์
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
เส้นนัซกา
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
พิกัด14°43′S 75°08′W / 14.717°S 75.133°W / -14.717; -75.133
เส้นนัซกาตั้งอยู่ในเปรู
เส้นนัซกา
ที่ตั้งเส้นนัซกา ในเปรู

เส้นส่วนใหญ่มักเป็นเส้นตรงผ่านภูมิประเทศ แต่ก็มีการออกแบบเป็นรูปสัตว์และพืชด้วย เส้นนัซกาบางส่วนสามารถมองเห็นรูปร่างได้ดีจากข้างบน (ที่ประมาณ 500 เมตร [1,600 ฟุต]) แม้ว่จะมองเห็นได้จากเชิงเขาโดยรอบและบริเวณที่สูงอื่น ๆ ก็ตาม[6][7][8] รูปร่างเหล่านี้มักสร้างจากเส้นที่ยาวต่อเนื่อง โดยรูปที่ใหญ่ที่สุดมีเส้นที่ยาวประมาณ 370 เมตร (400 หลา)[9] เนื่องจากที่ตั้งที่โดดเดี่ยวและสภาพภูมิอากาศบนที่ราบสูงที่แห้งแล้ง ไร้ลม และคงที่ ทำให้เส้นส่วนใหญ่ได้รับการรักษาตามธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่พบได้ยากมากอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั่วไปชั่วคราว ณ ค.ศ. 2012 กล่าวกันว่าเส้นต่าง ๆ ทรุดโทรมลงเนื่องจากผู้คนเข้ามาจับจองที่ดินบริเวณตรงนี้[10]

รูปร่างมีความแตกต่างไปตามความซับซ้อน โดยมีเส้นแบบง่ายกับรูปร่างและรูปทรงเรขาคณิตกว่าร้อยภาพ และรูปแบบอิงตามสัตว์มากกว่า 70 ภาพ เช่น นกฮัมมิงเบิร์ด แมงมุม ปลา แร้งคอนดอร์ นกยาง ลิง กิ้งก่า สุนัข แมว และมนุษย์ ส่วนรูปร่างอื่น ๆ เช่น ต้นไม้ และดอกไม้[3] นักวิชาการตีความจุดประสงค์ของการออกแบบแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไป พวกเขาให้ความหมายในทางศาสนา[11][12][13][14] เส้นนัซกาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกใน ค.ศ. 1994

อ้างอิง แก้

  1. Sebastian Dorsch; Jutta Vinzent (2017). SpatioTemporalities on the Line: Representations-Practices-Dynamics. Walter de Gruyter GmbH & Co KG. pp. 97–. ISBN 978-3-11-046578-5.
  2. Anthony F. Aveni (1990). The Lines of Nazca. American Philosophical Society. ISBN 9780871691835.
  3. 3.0 3.1 "Nazca Lines". Guía Go2peru (ภาษาอังกฤษ). 2017-02-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-29. สืบค้นเมื่อ 2018-10-29.
  4. Centre, UNESCO World Heritage. "Lines and Geoglyphs of Nasca and Palpa". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-02-20.
  5. Jones, Sam (18 October 2020). "Huge cat found etched into desert among Nazca Lines in Peru". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 26 March 2021.
  6. Gardner's Art Through the Ages: Ancient, medieval, and non-European art. Harcourt Brace Jovanovich; 1991. ISBN 978-0-15-503770-0.
  7. Hinman, Bonnie (2016).Mystery of the Nazca Lines. ABDO; ISBN 978-1-68077-242-5. pp. 6–.
  8. Anthony F. Aveni (2000). Between the Lines: The Mystery of the Giant Ground Drawings of Ancient Nasca, Peru. University of Texas Press. ISBN 978-0-292-70496-1. pp. 88–.
  9. Glomb, Jason (8 November 2010). "Nasca Lines". National Geographic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2019.
  10. Taj, Mitra (August 15, 2012). "Pigs and squatters threaten Peru's Nazca lines". Reuters. สืบค้นเมื่อ August 15, 2012.
  11. Helaine Selin (2013). Nature Across Cultures: Views of Nature and the Environment in Non-Western Cultures. Springer Science & Business Media; ISBN 978-94-017-0149-5. pp. 286–.
  12. Richard A. Freund (2016). Digging Through History: Archaeology and Religion from Atlantis to the Holocaust. Rowman & Littlefield. ISBN 978-1-4422-0883-4. pp. 22–.
  13. Mary Strong (2012). Art, Nature, and Religion in the Central Andes: Themes and Variations from Prehistory to the Present. University of Texas Press. ISBN 978-0-292-73571-2. pp. 33–.
  14. Religion and the Environment. Palgrave Macmillan UK; 2016. ISBN 978-0-230-28634-4. pp. 110–.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้