เสาร์ ๕
เสาร์ 5 หรือ เสาร์ ๕ เป็นบทประพันธ์ของ "ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร" (นามปากกา: ดาเรศร์)
เรื่องบู๊ๆของ ขบวนการเสาร์ห้า กับ ปฏิบัติการลับ กวาดล้างองค์กรข้ามชาติ จาร์ก้า และ เรื่องรักๆ ของ เสาร์ห้า กับ หน่วย 5 จ
"วันเสาร์ห้า หมายถึง วันเสาร์ที่ตรงกับขึ้นหรือแรมห้าค่ำ เดือนห้า" หลวงพ่อเริ่มเล่า "เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนนั้น มีวันเสาร์ห้า แรมห้าค่ำ เดือนห้าที่มีฤกษ์ประกอบงามที่สุด พระห้าองค์ที่เป็นเพื่อนรักใคร่กันสนิทสนมมาก และต่างมีวิชาความรู้ติดตัวกันพอสมควร ประชุมคิดกันว่า วันเสาร์ห้าที่จะถึงนั้น จะนั่งปรกปลุกเสกของตลอดคืน ภิกษุทั้งห้าองค์นั้นมีพระเครื่องที่เก่าแก่ที่งามที่สุดและรักที่สุดองค์ละองค์ มีพระกริ่ง คลองตะเคียน พระยอดธง พระท่ากระดาน พระสมเด็จ และพระนางพญา" "เสาร์ห้าคืนนั้น ที่นี่แหละ พระห้าองค์นั่นก็นั่งปรกตลอดคืน เพ่งจิตเฉพาะพระเครื่องของใครก็ของใคร ประมาณสักตีห้า พระเครื่องแต่ละองค์ที่วางราบไว้แต่หัวค่ำ ก็ผงกองค์ขึ้นตั้งอยู่สักอึดใจ แล้วก็เอนราบลงไปใหม่ฟ้าสางพอดี เช้าขึ้นเราก็แยกย้ายกันไป ก่อนจากกันเราคิดกันว่าจะมอบพระเครื่องที่ขลังได้ที่ให้กับทายาทหรือลูกศิษย์ที่พอที่จะเป็นหัวแก้วหัวแหวนก้นกุฎีได้ หลวงพ่อเมี้ยนก็เสนอว่า เราจะออกหาเด็กที่เกิดในคืนวันนั้นคือวันเสาร์ห้า ต้องเป็นผู้ชายแล้วขอรับไว้เป็นลูก ก็ได้เด็กเกิดตามที่ต้องการทุกองค์ พ่อได้ไอ้ดอนที่กาญจนบุรีนี่เอง เลี้ยงมันมาจนโตพอ มันจะไปเป็นทหาร พ่อก็มอบพระท่ากระดานให้ มติที่ประชุมอีกเหมือนกันที่ตกลงว่า ไม่ว่าเด็กนั้นสกุลเดิมจะอย่างไร เราจะเปลี่ยนเป็นสกุลพระเครื่องให้ทั้งหมด จึงได้มี เทิด ยอดธง มีกริ่ง คลองตะเคียน มีดอน ท่ากระดาน ยอด นางพญา และ เดี่ยว สมเด็จ"
การสร้าง
แก้เสาร์ ๕ ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2519 โดย บางกอกการภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย วินิจ ภักดีวิจิตร เป็นภาพยนตร์ 35 มม. พากย์เสียงในฟิล์ม ยิ่งใหญ่ตระการตาด้วย พระเอก 5 นางเอก 6 พร้อมดาวร้ายอีก 20 คน
นำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์โดย ฉลอง ภักดีวิจิตร ได้นำผลงานของน้องชายตนเองชิ้นนี้กลับมาปัดฝุ่นทำใหม่ในปี พ.ศ. 2552 โดยออกอากาศทางช่อง 7 สี ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.20-22.20 น. ออกอากาศอีกครั้ง ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 13.00 - 14.55 น. (เริ่มออกอากาศอีกครั้งวันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - ) นำแสดงโดย วัชรบูล ลี้สุวรรณ, รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง, รพีภัทร เอกพันธ์กุล, อานัส ฬาพานิช, พาทิศ พิสิฐกุล, กวินตรา โพธิจักร, ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม, กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า,มาริสา แอนนิต้า, ปรียานุช อาสนจินดา, กรุง ศรีวิไล และดาราอีกคับคั่ง โดยตอนจบของละครได้เรตติ้ง 25 เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 19.1 ซึ่งเป็นละครที่มีเรตติ้งสูงที่สุดอันดับ 1 ประจำปี พ.ศ. 2552
ปี พ.ศ. 2554 ฉลอง ภักดีวิจิตร สร้างละครภาคต่อของเสาร์ ๕ โดยใช้ชื่อว่า เสาร์ ๕ ตอนทับทิมสยาม ออกอากาศทางช่อง 7 สี ทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เวลา 20.20-22.20 นำแสดงโดย วัชรบูล ลี้สุวรรณ, รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง, รพีภัทร เอกพันธ์กุล, อานัส ฬาพานิช, พาทิศ พิสิฐกุล, กวินตรา โพธิจักร, ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม, วรรษพร วัฒนากุล, รฐกร สถิรบุตร, ปรียานุช อาสนจินดา, กัญจน์ ภักดีวิจิตร, ชัชฎาภรณ์ ธนันทา, แมทธิว ดีน ฉันทวานิช, พัชชุดาญ์ พันธุ์พิพัฒน์, กรุง ศรีวิไล และนักแสดงอีกคับคั่ง[1]
ปี พ.ศ. 2565 ไนน์บีเวอร์ ฟิล์มส์ โดย โอริเวอร์ บีเวอร์ ได้นำกลับมารีเมคใหม่ โดยอิงต้นฉบับเวอร์ชัน 2565 นำแสดงโดยนักแสดงรุ่นใหม่ของช่อง 7 จิณณะ นวรัตน์, ภัทรพลฒ์ เดชพงษ์วรานนท์, ชนกันต์ พูนศิริวงศ์, รัฐธีร์ วรโรจน์โยธิน, สพล อัศวมั่นคง, อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์, ปภาดา กลิ่นสุมาลย์, ศรัณย่า ชุณหศาสตร์, เมณิษา ชุมสายสกุล, ณัฐชา ชยางคงนนท์, ณัฐพล ไรยวงศ์, แพทริก ฟอร์สเนอร์ และนักแสดงอีกคับคั่ง [2] ต่อจาก สามีชั่วคืน เริ่ม 25 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:20:30นาที
ตัวละคร
แก้อ้างอิงนิยาย
แก้- ตัวละครเอกฝ่ายชาย
- เทิด ยอดธง : ชายหนุ่มที่เกิดวันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง ครองพระยอดธง
- เดี่ยว สมเด็จ : ชายหนุ่มที่เกิดวันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง ครองพระสมเด็จ
- ดอน ท่ากระดาน : ชายหนุ่มที่เกิดวันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง ครองพระท่ากระดาน
- ยอด นางพญา : ชายหนุ่มที่เกิดวันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง ครองพระนางพญา
- กริ่ง คลองตะเคียน : ชายหนุ่มที่เกิดวันเสาร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง ครองพระกริ่งคลองตะเคียน
- ตัวละครเอกฝ่ายหญิง
- ชลดา (ชล) : น้องสาวนายพล เป็นหัวหน้าหน่วยพิเศษที่มาช่วยในภารกิจของเสาร์ 5 เป็นคนฉลาด คล่องแคล่ว เชี่ยวชาญการต่อสู้ทุกรูปแบบ ไม่เกรงกลัวสิ่งใด รักกับเทิด ยอดธง
- ดวงกมล (แตน) : เป็นหน่วยจู่โจมพิเศษ ปลอมตัวเป็นหลานสาวของพ.ต.ท.เติมพงษ์ รักกับดอน ท่ากระดาน
- กุ้ง : หน่วยจู่โจมพิเศษ เป็นลูกน้องในทีมชลดา ปลอมตัวมาปฏิบัติการร่วมกัน รักกับกริ่ง คลองตะเคียน
อ้างอิงละครเวอร์ชันปี 2552
แก้- ตัวละครเอกฝ่ายชาย
- เทิด ยอดธง : เสาร์ ๕ ที่มีความสามารถพิเศษในการหายตัวเพียงกลั้นหายใจ แต่มีจุดอ่อนที่ความสามารถที่ใช้มีข้อจำกัดเพียง 1 ชั่วโมง
- เดี่ยว สมเด็จ : เสาร์ ๕ ที่มีความสามารถพิเศษในการได้ยินระยะไกล
- ยอด นางพญา : เสาร์ ๕ ที่มีความสามารถพิเศษในการเดินผ่านสิ่งกีดขวาง แต่มีจุดอ่อนที่ความสามารถที่ใช้มีข้อจำกัดเพียง 1 ชั่วโมง
- ดอน ท่ากระดาน : เสาร์ ๕ ที่มีความสามารถพิเศษในการมองเห็นในระยะไกล แต่มีจุดอ่อนที่ต้องใช้สมาธิและห้ามมิให้ผู้อื่นรบกวน และความสามารถที่ใช้มีข้อจำกัดเพียง 1 ชั่วโมง
- กริ่ง คลองตะเคียน : เสาร์ ๕ ที่มีความสามารถพิเศษในการปลอมตัว และเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว แต่มีจุดอ่อนที่ความสามารถที่ใช้มีข้อจำกัดเพียง 1 ชั่วโมง
- ตัวละครเอกฝ่ายหญิง
- ชลดา : เป็นหน่วยพิเศษที่รอดชีวิตมาจากการตามล่าของเสือสนธิ์ เป็นน้องสาวของพลตรีเชษฐ และยังมีหน้าตาคล้ายน้อยหน่า คนรักของเจ้าพ่ออินทร์ที่เสียชีวิตไปแล้ว คนรักของ เทิด
- พ.ญ.บุษกร : เพื่อนของเสาร์ ๕ ที่สนิทสนมมาตั้งแต่เล็กๆ มีความเชี่ยวชาญด้านเชื้อโรคเคมี คนรักของ เดี่ยว
- ดวงกมล (แตน) : เป็นหน่วยจู่โจมพิเศษ ปลอมตัวเป็นหลานสาวของพ.ต.ท.เติมพงษ์ คนรักของ ยอด
- มาเรีย : ตำรวจสากลที่เข้ามาสืบเรื่องราวโดยปลอมตัวเป็นลูกน้องของเสือสนธิ์ คนรักของ ดอน
- ยูกิ : นักฆ่านินจาสาวจากญี่ปุ่น คนรักของ กริ่ง
อ้างอิงละครเวอร์ชันปี 2565
แก้ตัวละครเอกฝ่ายชาย
เทิด ยอดธง : นั่งสมาธิจนได้คาถากำบังกาย แต่ใช้ได้ในชั่วกลั้นลมหายใจ
เดี่ยว สมเด็จ : นั่งสมาธิจนได้ทิพยโสต หรือหูทิพย์ ได้ยินในระยะไกล
ดอน ท่ากระดาน : ได้คาถาหมัดเหล็ก
ยอด นางพญา : ได้ตาทิพย์ มองเห็นอดีตได้เมื่อสัมผัสตัว
กริ่ง คลองตะเคียน : ได้คาถาลิงลม เคลื่อนไหวร่างกายรวดเร็ว
ตัวละครเอกฝ่ายหญิง
ร้อยตรีหญิง ชลดา (ดา) : เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรอง ขอร่วมทีมมาเพื่อตามหา วัฒนา คนรักที่หลงผิดมาเข้าร่วมกับลัทธิจาร์ก้า โดยมี เทิด ยอดธง ที่แอบหลงรักเธออยู่ คอยช่วยเหลือ
หมอบัว : หมออาสาที่มาอยู่ที่หมู่บ้านทุ่งสมิง จนได้เจอกับ เดี่ยว สมเด็จ และได้รักกัน ท่ามกลางอุปสรรครักสามเส้ากับ ยอด นางพญา ที่หลงรักหมอบัวเช่นกัน
ร้อยตรีหญิง ดวงกมล (แตน) : สายลับของหน่วยราชการที่แฝงตัวมาอยู่ที่ห้วยเสือหมอบและทุ่งสมิง และได้มารู้จักและรักกับ ดอน ท่ากระดาน
ม่านฟ้า : เจ้าหญิงรัฐประจิม ที่มีปัญหากับกลุ่มจาร์ก้า และหนีออกมาจนได้รับบาดเจ็บและเจอกับ ยอด นางพญา
ร้อยตรีหญิง เนตรนภา (กุ้ง) : เป็นเจ้าหน้าที่หน่วยสื่อสาร คนรักเก่าของ กริ่ง คลองตะเคียน มีปมปัญหาคือความต่างศักดิ์ทำให้กริ่งปิดใจกับความรักที่เคยล้มเหลว
ตัวละครสำคัญ (ปี 2565)
เมฆา : ลูกบุญธรรมของผู้นำลัทธิจาร์ก้า มีพลังไสยเวทย์ที่แกร่งกล้า หลงรักกุ้ง
วัฒนา : คนรักของชลดา มีอาชีพเป็นครูที่มีอุดมการณ์ อยากสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมจนไปเข้าร่วมกับลัทธิจาร์ก้า
พ.ต.ท.เติมพงษ์ : นายตำรวจผู้ปลอมตัวเป็นสัปเหร่อให้กับหมู่บ้านห้วยเสือบหมอบและหมู่บ้านทุ่งสมิง
เจ้าพ่ออินทร์ : ผู้มีอิทธิพลประจำหมู่บ้านห้วยเสือหมอบ ไม่ถูกกับเสือสนธิ์
เสือสนธิ์ : ผู้มีอิทธิพลประจำหมู่บ้านทุ่งสมิง
ภาพยนตร์เรื่อง เสาร์ 5 พ.ศ. 2519
แก้เสาร์ ๕ | |
---|---|
โปสเตอร์ภาพยนตร์ เสาร์ ๕ | |
กำกับ | วินิจ ภักดีวิจิตร |
เขียนบท | บทประพันธ์ : ดาเรศร์ (ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร) บทภาพยนตร์ : สราวุฒิ |
อำนวยการสร้าง | อุไรวรรณ ภักดีวิจิตร |
นักแสดงนำ | กรุง ศรีวิไล สรพงษ์ ชาตรี ไพโรจน์ ใจสิงห์ นิรุตต์ ศิริจรรยา สิงหา สุริยง ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ปิยะมาศ โมนยะกุล เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช ศศิมา สิงห์ศิริ ดวงใจ หทัยกาญจน์ |
กำกับภาพ | สันทัด ศรีสัมพันธุ์ |
ตัดต่อ | ธราธร |
ดนตรีประกอบ | สุรพล โทณะวณิก |
ผู้จัดจำหน่าย | บางกอกการภาพยนตร์ [3] |
วันฉาย | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 ฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย |
ความยาว | 140 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
นักแสดง
แก้ปี | พ.ศ. 2519 |
---|---|
ชื่อเรื่อง | เสาร์ ๕ |
ผู้ผลิต | บางกอกการภาพยนตร์ |
บทประพันธ์ | ดาเรสร์ (ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร) |
บทภาพยนตร์ | สราวุฒิ |
ผู้กำกับการแสดง | วินิจ ภักดีวิจิตร |
ตัวละคร | นักแสดงหลัก |
เทิด ยอดธง | กรุง ศรีวิไล |
กริ่ง คลองตะเคียน | สรพงษ์ ชาตรี |
เดี่ยว สมเด็จ | ไพโรจน์ ใจสิงห์ |
ดอน ท่ากระดาน | นิรุตต์ ศิริจรรยา |
ยอด นางพญา | สิงหา สุริยง |
ร้อยตรีหญิงชลดา พิชิตพาลชน (ชล / จ.1) | ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ |
ร้อยตรีหญิงเนตรนภางค์ สุขวิไล (กุ้ง / จ.5 ) | ปิยะมาศ โมนยะกุล |
จ.2 (นามแฝง) | เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ |
จ.3 (นามแฝง) | มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช |
จ.4 (นามแฝง) | ดวงใจ หทัยกาญจน์ |
ร้อยตรีหญิงดวงกมล พยุหโยธิน (แตน) | ศศิมา สิงห์ศิริ |
ตัวละคร | นักแสดงสมทบ |
บาร์บาร่า | บาร์บารา |
พลตรีเชษฐ์ พิชิตพาลชน | สมชาย สามิภักดิ์ |
พ.ต.ท.เติมพงษ์ วีระปกรณ์ (แต้ม) | ทม วิศวชาติ |
พิภพ ภู่ภิญโญ | |
โทนีโน่ (ตำรวจสากล) | เมือง อพอลโล่ |
เสือ | ชุมพร เทพพิทักษ์ |
นายญี่ปุ่น | วิน วันชัย |
ก้อง | บุญส่ง เคหะทัต |
กรอย | ทิพย์วัลย์ เอี่ยมเสถียร |
โรเบิร์ต | ไมเคิ้ล พอล |
แม่กริ่ง | ดวงดาว มนต์ดารา |
ละครโทรทัศน์เรื่อง เสาร์ 5 ภาค 1 พ.ศ. 2552
แก้เสาร์ 5 ภาค 1 | |
---|---|
ประเภท | โลดโผน, ชีวิต |
สร้างโดย | บริษัท บางกอก ออดิโอวิชั่นส์ จำกัด |
เขียนโดย | ดาเรสร์ |
บทโดย | นอร์แมน วีรธรรม |
กำกับโดย | ฉลอง ภักดีวิจิตร |
แสดงนำ | วัชรบูล ลี้สุวรรณ รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง รพีภัทร เอกพันธ์กุล อานัส ฬาพานิช พาทิศ พิสิฐกุล กวินตรา โพธิจักร ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า มาริสา อานิต้า ปรียานุช อาสนจินดา กัญจน์ ภักดีวิจิตร ชาลี กรรณสูต กรุง ศรีวิไล |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | เพลง เสาร์ 5 ขับร้องโดย กัญจน์ ภักดีวิจิตร |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | เพลง ศัตรูคู่รัก ขับร้องโดย กัญจน์ ภักดีวิจิตร เพลง แคนคนป่า ขับร้องโดย กัญจน์ ภักดีวิจิตร |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนฤดูกาล | 2 |
จำนวนตอน | 18 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | สุรางค์ เปรมปรีดิ์ |
ผู้อำนวยการสร้าง | ฉลอง ภักดีวิจิตร |
สถานที่ถ่ายทำ | ประเทศไทย |
ความยาวตอน | 120 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7 เอชดี |
ออกอากาศ | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 |
นักแสดง
แก้ปี | พ.ศ. 2552 |
---|---|
ชื่อเรื่อง | เสาร์ ๕ |
สถานีออกอากาศ | ช่อง 7HD |
ผู้ผลิต | บางกอกออดิโอ |
บทประพันธ์ | ดาเรสร์ (ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร) |
บทโทรทัศน์ | นอร์แมน วีรธรรม |
ผู้กำกับการแสดง | ฉลอง ภักดีวิจิตร |
ตัวละคร | นักแสดง |
เทิด ยอดธง | วัชรบูล ลี้สุวรรณ |
เดี่ยว สมเด็จ | รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง |
ยอด นางพญา | รพีภัทร เอกพันธ์กุล |
ดอน ท่ากระดาน | อานัส ฬาพานิช |
กริ่ง คลองตะเคียน | พาทิศ พิสิฐกุล |
ร้อยเอกหญิงชลดา ชาตินักรบ | กวินตรา โพธิจักร |
ร้อยเอกแพทย์หญิง บุษกร บุญยะรัตน์ (นุ่น) | ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม |
ดวงกมล พยุหโยธิน (แตน) | กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า |
มาเรีย | มาริสา อานิต้า |
ยูกิ | ปริยานุช อาสนจินดา |
แคน | กัญจน์ ภักดีวิจิตร |
เจ้าพ่ออินทร์ | โอริเวอร์ บีเวอร์ |
พันโท เติมพงษ์ วีระปกรณ์ (ลุงแต้ม) | กรุง ศรีวิไล |
เสือสนธิ์ | ฤทธิ์ ลือชา |
ฟาจง | ปวารา อภิลพูลลาภ |
ยาโต้ | ชาลี กรรณสูต |
บรรลือ | พงศนารถ วินศิริ |
เมฟู | ชนิศร์นันท์ บุศราคัมวงศ์ |
โชติ | เบคิม ฤทธิ์ |
อธิบดีอภิชัย บุญยะรัตน์ | พัฒนา โต๊ะชาลี |
พันเอกเชษฐ์ ชาตินักรบ | เอก อัครเมธา |
อาจณรงค์ | พิเชษฐ์ ศรีราชา |
โชต | เบคิม ฤทธิ์ |
เสือวงศ์ | อมต อินกานนท์ |
ฟานิโน่ | ฌอน โจนส์ |
ยาโค่ | ยุพข่าน |
นักฆ่ามือสังหาร | บิล จักรธิป |
ครก | ทับ ท่ากระดาน |
สาก | โก บางกอก |
ต่ำ | บิลลี่ ผีน่ารัก |
เส็ง | ธัญญะ ใจเที่ยง |
ละครโทรทัศน์เรื่อง เสาร์ 5 ภาค 2 พ.ศ. 2554
แก้เสาร์ 5 ตอน ทับทิมสยาม ภาค2 | |
---|---|
ประเภท | ละครโทรทัศน์ |
สร้างโดย | บริษัท บางกอก ออดิโอวิชั่นส์ จำกัด |
เขียนโดย | ภูเขา |
บทโดย | ดรรชนี และ ภูเขา |
กำกับโดย | ฉลอง ภักดีวิจิตร |
แสดงนำ | วัชรบูล ลี้สุวรรณ รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง รพีภัทร เอกพันธ์กุล อานัส ฬาพานิช พาทิศ พิสิฐกุล กวินตรา โพธิจักร ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม วรรษพร วัฒนากุล รฐกร สถิรบุตร ปริยานุช อาสนจินดา แมทธิว ดีน ฉันทวานิช พัชชุดาญ์ พันธุ์พิพัฒน์ กรุง ศรีวิไล |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | เสาร์ 5 ทับทิมสยาม ขับร้องโดย กัญจน์ ภักดีวิจิตร |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | เคนทวงแค้น ขับร้องโดย กัญจน์ ภักดีวิจิตร |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนตอน | 18 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | สุรางค์ เปรมปรีดิ์ |
ผู้อำนวยการสร้าง | ฉลอง ภักดีวิจิตร |
สถานที่ถ่ายทำ | ประเทศไทย |
ความยาวตอน | 120 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7 เอชดี |
ออกอากาศ | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 |
นักแสดง
แก้ปี | พ.ศ. 2554 |
---|---|
เทิด ยอดธง | วัชรบูล ลี้สุวรรณ |
เดี่ยว สมเด็จ | รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง |
ยอด นางพญา | รพีภัทร เอกพันธ์กุล |
ดอน ท่ากระดาน | อานัส ฬาพานิช |
กริ่ง คลองตะเคียน | พาทิศ พิสิฐกุล |
ชลดา | กวินตรา โพธิจักร |
บุษกร | ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม |
กระแต | วรรษพร วัฒนากุล |
เจนนี่ | รฐกร สถิรบุตร |
ยูกิ | ปริยานุช อาสนจินดา |
นาตาชา | พัชชุดาญ์ พันธุ์พิพัฒน์ |
เคน | กัญจน์ ภักดีวิจิตร |
สตีเฟ่น | แมทธิว ดีน |
ม่านฟ้า | ชัชฎาภรณ์ ธนันทา |
ดร.วิทยา | อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
บัวชุม | วิยะดา อุมารินทร์ |
เจ้าพ่ออินทร์ | โอลิเวอร์ บีเวอร์ |
เสือสนธิ์ | ฤทธิ์ ลือชา |
ดร.ฟอร์ด | โทนี คาร์เน่ |
พ.ต.อ.เติมพงษ์ วีระปกรณ์ (แต้ม) | กรุง ศรีวิไล |
นายพลจางลี่ | พิพัฒน์พล โกมารทัต |
เปาซาง | ฐษชัย ชนะอรรถกาล |
อธิบดีอภิชัย | พัฒนา โต๊ะชาลี |
พันเอกเชษฐ์ พิชิตพาลชน | เอก อัครเมธา |
อาจณรงค์ | พิเชษฐ์ ศรีราชา |
อับดุล ราฮีม | ยุพข่าน |
อาจารย์ซัมดอง | นันทพล กมุทวนิช |
ต่ำ | บิลลี่ ผีน่ารัก |
ฮวง | อะตอม สัมพันธ์ภาพ |
หนำ | ธัญญะ ใจเที่ยง |
ละครโทรทัศน์เรื่อง เสาร์ 5 รีเมค พ.ศ. 2565
แก้เสาร์ 5 (MIRACULOUSE 5) | |
---|---|
แนว | บู๊ แอ็คชั่น โรแมนติก คอมมิวดี้ |
สร้างโดย | NINE BEVER FILMS COLTD |
บทประพันธ์ | ดาเรสร์ |
บทละครโทรทัศน์ | ภูเขา |
กำกับโดย | โอริเวอร์ บีเวอร์ |
นักแสดง | จิณณะ นวรัตน์ อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ ภัทรพลฒ์ เดชพงษ์วรานนท์ ปภาดา กลิ่นสุมาลย์ ชนกันต์ พูนศิริวงศ์ เมณิษา ชุมสายสกุล รัฐธีร์ วรโรจน์โยธิน ศรัณย่า ชุณหศาสตร์ สพล อัศวมั่นคง ณัฐชา รัตน์ชยาคานนท์ ณัฐพล ไรยวงศ์ |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | ขุดรากถอนโคน ขับร้องโดย จิรศักดิ์ ปานพุ่ม |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | เธอกับฉันรวมกันเท่ากับรัก ขับร้องโดย พลพล พลกองเส็ง |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนตอน | 18 ตอน |
การผลิต | |
ผู้จัดละคร | คณะกรรมการพิจารณาการผลิตละครโทรทัศน์ |
ควบคุมงานสร้าง | พิเชษฐ ศรีราชา โอริเวอร์ บีเวอร์ |
สถานที่ถ่ายทำ | ประเทศไทย |
ความยาวตอน | 115 นาที |
ออกอากาศ | |
สถานีโทรทัศน์ | ช่อง 7 เอชดี |
ออกอากาศ | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 – 3 เมษายน พ.ศ. 2565 |
นักแสดง
แก้เสาร์ 5 (ปี 2565) | ดำเนินการ |
---|---|
ออกอากาศ | ช่อง 7 HD |
บทประพันธ์ | ดาเรสร์ |
บทโทรทัศน์ | ภูเขา |
ควบคุมการผลิต | พิเชษฐ์ ศรีราชา โอริเวอร์ บีเวอร์ |
กำกับการแสดง | โอริเวอร์ บีเวอร์ |
ผลิตโดย | NINE BEVER FILMS COLTD |
กำกับคิวบู๊ | เซนะ |
ตัวละคร | นักแสดงหลัก |
ร้อยเอกเทิด ยอดธง (ผู้กองเทิด) | จิณ จิณณะ |
ร้อยตรีหญิงชลดา พิชิตพาลชน (ดา) | อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ |
ร้อยตำรวจเอกเดี่ยว สมเด็จ (ผู้กองเดี่ยว) | ภัทรพลฒ์ เดชพงษ์วรานนท์ |
หมอบัว | ปภาดา กลิ่นสุมาลย์ |
ยอด นางพญา | ชนกันต์ พูนศิริวงศ์ |
เจ้าหญิงม่านฟ้า | เมณิษา ชุมสายสกุล |
ดอน ท่ากระดาน | รัฐธีร์ วรโรจน์โยธิน |
ร้อยตรีหญิงดวงกมล พยุหโยธิน (แตน) | ศรัณย่า ชุณหศาสตร์ |
กริ่ง คลองตะเคียน | สพล อัศวมั่นคง |
ร้อยตรีหญิงเนตรนภา สุขวิไล (กุ้ง) | ณัฐชา รัตน์ชยาคานนท์ |
เมฆา | ณัฐพล ไรยวงค์ |
ตัวละคร | นักแสดงสมทบ |
ครูวัฒนา (วัฒน์) | กณิณ ปัทมนันถ์ |
บาร์บาร่า | สิรินทร์ ก่อเกียรติ |
เจ้ายอดขุนพล | นนทพันธ์ ใจกันทา |
ขจร วรรณพร | กุลธวัช บัวเจริญ |
พลตรีเชษฐ์ พิชิตพาลชน | พลรัตน์ รอดรักษา |
ตี๋เล็ก | ณัฐชนน ภูวนนท์ |
เจ้าพ่ออินทร์ | กฤตย์ อัทธเสรี |
เสือสนธิ์ | ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง |
พันตำรวจโทเติมพงษ์ วีระปกรณ์ (สารวัตรแต้ม) / สัปเหร่อแต้ม | พิเชษฐ ศรีราชา |
ผจญ วรรณพร / ท่านประมุข | ทัตพงษ์ พงษทัต |
ป้าเฮี๊ยบ | ธัญพร สนธิขันธ์ |
ลิลลี่ / ลำดวน | วาเนสซ่า บีเวอร์ |
ผู้กองโทนีโน่/สายลับหมายเลข 9 | แพทริค ฟอร์สเนอร์ |
ลุงมั่น | รณกร ทรงแสง |
ชิต | ธนัช ศรีบรรจง |
สายพิณ | ดินา ป๋อพริ้ง |
พันโทวันชาติ (ผู้พันวันชาติ) | วิชยุตม์ ศุภพร |
เอื้อง | ปาณิสรา ประถมปัทมะ |
เสือวงศ์ | ชะเอ ณ บางช้าง |
พศิน | ธีระศักดิ์ พานนนท์ |
ส่างหม่อง | วงศพัทธ์ ปานแสน |
เสือเวียง | สมนึก โอภาส |
สมชาย | วรธนพจน์ ตันติวิริยางกูร |
ตัวละคร | นักแสดงรับเชิญ |
เจ้าหลวง | พงศนารถ วินศิริ |
เสือโหน่ง | อุดร เพชรสิงห์ |
จอมุ | มาร์ค บีเวอร์ |
จาคอป | สหัสวรรษ ชอบชิงชัย |
ศร | ธนา ศรีสุข |
ยูริ | ณฐกร ไตรกิศยเวช |
ชะมด | เขตต์ตะวัน บรรลือหาญ |
พรานคง | ธนพร เชื้อเสือน้อย |
ฤๅษีพนมไพร | จักรธิป ทองทิพย์ |
จ่าสมหมาย | ธิติพัทธ์ สุนทรจิรวัฒน์ |
หลวงพ่อแช่ม | โยธิน มาพบพันธ์ |
พันตรีโยธิน สุขวิไล (พ่อของกุ้ง) | เอกตะวัน คุ้มชาติ |
ยิ่ง (พ่อของยอด นางพญา) | กฤตภาส จันทนะโพธิ |
เสือ | นพฤทธิ์ ศรีบุตร |
ตัวละคร | นักแสดงรับเชิญพิเศษ |
พันเอก อานัส ฬาพานิช | อานัส ฬาพานิช |
พันเอก รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง | รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง |
พันเอก รพีภัทร เอกพันธ์กุล | รพีภัทร เอกพันธ์กุล |
พันเอก วัชรบูล ลี้สุวรรณ | วัชรบูล ลี้สุวรรณ |
พันเอก พาทิศ พิสิฐกุล | พาทิศ พิสิฐกุล |
ตัวละคร | นักแสดงรับเชิญกิตติมศักดิ์ |
พลเอก จามร จุฑาเทพ | ฉลอง ภักดีวิจิตร |
เพลงประกอบละคร
แก้- พ.ศ. 2552
- เพลง เสาร์ 5 ขับร้อง กัญจน์ ภักดีวิจิตร
- เพลง แคนคนป่า ขับร้อง กัญจน์ ภักดีวิจิตร
- เพลง ศัตรูยอดรัก ขับร้อง กัญจน์ ภักดีวิจิตร
- พ.ศ. 2554
- เพลง เสาร์ 5 ทับทิมสยาม ขับร้อง กัญจน์ ภักดีวิจิตร
- เพลง เคนทวงแค้น ขับร้อง กัญจน์ ภักดีวิจิตร
- พ.ศ. 2565
- เพลง ขุดรากถอนโคน ขับร้อง แมว จิรศักดิ์
- เพลง เธอกับฉันรวมกันได้เท่ากับรัก ขับร้อง พลพล พลกองเส็ง
อ้างอิง
แก้- ↑ "เสาร์ 5 ละครฮาแห่งปี?/ต่อพงษ์ จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-01. สืบค้นเมื่อ 2013-06-28.
- ↑ เปิดโผนักแสดงนำ “เสาร์ 5” เจนใหม่ ละครบู๊สุดคลาสสิกในตำนาน/ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ เสาร์ 5 (2519 กรุง-สรพงศ์-ไพโรจน์) โดย มนัส กิ่งจันทร์