เรือเหาะโครงแข็ง
เรือเหาะโครงแข็ง เป็น เรือเหาะ ประเภทหนึ่งที่มีโครงโลหะอยู่ภายใน ตัวเรือ เพื่อรักษารูปของเรือเหาะแทนการใช้เพียง แก๊ส ภายในตัวเรือเหมือนกับ เรือเหาะแรงดัน หรือ เรือเหาะโครอ่อน [1] ที่เป็นลูกผสมระหว่างเรือเหาะโครงแข็งและเรือเหาะแรงดัน เรือเหาะโครงแข็งมักถูกเรียกว่า เซ็พเพอลิน ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกใช้โดยเรือเหาะที่ต่อขึ้นโดย ลูฟชิฟเบา เซ็พเพอลิน เท่านั้น
ในปี 1900 เคานต์ เฟอร์ดินันด์ ฟอน เซ็พเพอลิน ประสบความสำเร็จกับการ ขึ้นบินครั้งแรก ของเรือเหาะลำแรกของเขา ในช่วงก่อน สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมนีเป็นผู้นำในด้านนี้ โดยส่วนมากเป็นผลมาจากงานของ เซ็พเพอลิน และบริษัท ลูฟชิฟเบา เซ็พเพอลิน ของเขา ในช่วงสงครามเรือเหาะโครงแข็งถูกใช้ใน การทิ้งระเบิดเกาะอังกฤษ โดยเยอรมนี เรือเหาะโครงแข็งหลายลำถูกสร้างขึ้นมาและใช้ในงานพาณิชย์เป็นหลักในช่วงปี 1900 จนถึงปลาย 1930 จนกระทั่งเกิดเหตุการ วินาศภัยฮินเดินบวร์ค ในวันที่ 6 พฤษภาคม 1937 ยุกรุ่งเรืองของเรือเหาะโครงแข็งก็ได้จบลงอย่างกะทันหัน เหตุการครั้งนั้นไม่เพียงแค่เกิดกับเรือเหาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่านั้น มันยังสร้างชื่อเสียให้กับเรือเหาะโครงแข็งลำอื่นๆ อีกด้วย ทำให้สาธารณะชนเริ่มกังวลในเรื่องความปลอดภัยของเรือเหาะ หลายประเทศเลือกที่จะระงับการใช้และทำลายเรือเหาะโครงแข็งที่มีอยู่
อ้างอิง
แก้- ↑ Konstantinov, Lev (2003). "The Basics of Gas and Heat Airship Theory". Montgolfier. Kyiv, Ukraine: AEROPLAST Inc. 1: 4–6, 8.