เรือหุ้มเกราะพลเรือเอก แชร์
เรือหุ้มเกราะพลเรือเอก แชร์ (เยอรมัน: Das Panzerschiff Admiral Scheer) เป็นเรือลาดตระเวนหนักลำที่สองในชั้นเรือด็อยทช์ลันท์ (Deutschland-Klasse) ประจำการในกองทัพเรือของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งชื่อตามพลเรือเอก ไรน์ฮาร์ท แชร์ อธิบดีคนแรกของกรมสมรภูมินาวี เรือลำนี้ต่อขึ้นที่อู่นาวีไรช์ (Reichsmarinewerft) ในเมืองวิลเฮ็ล์มฮาเฟินเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1931[1] เมื่อแรกสร้างเสร็จ ไรชส์มารีเนอจำแนกเรือลำนี้เป็น เรือหุ้มเกราะ (Panzerschiff) ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940 ได้มีการจำแนกเรือในชั้นนี้ใหม่เป็นเรือลาดตระเวนหนัก
เรือพลเรือเอก แชร์ ทอดสมอที่ยิบรอลตาร์ ค.ศ. 1936
| |
ประวัติ | |
---|---|
ไรช์เยอรมัน | |
ชื่อ | พลเรือเอก แชร์ |
ตั้งชื่อตาม | ไรน์ฮาร์ท แชร์ |
อู่เรือ | อู่นาวีไรช์วิลเฮ็ล์มฮาเฟิน |
ปล่อยเรือ | 25 มิถุนายน 1931 |
เดินเรือแรก | 1 เมษายน 1933 |
เข้าประจำการ | 12 พฤศจิกายน 1934 |
ท่าจอด | คีล |
ความเป็นไป | ถูกอังกฤษโจมตีจนใช้การไม่ได้เมื่อ 9 เมษายน ค.ศ. 1945 |
ลักษณะเฉพาะ | |
ชั้น: | ด็อยทช์ลันท์ |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): |
|
ความยาว: | 186 เมตร |
ความกว้าง: | 21.34 เมตร |
กินน้ำลึก: | 7.25 เมตร |
ระบบพลังงาน: | 39,720 กิโลวัตต์ (53,260 แรงม้า) |
ระบบขับเคลื่อน: |
|
ความเร็ว: | 28.3 กิโลเมตร/ชั่วโมง |
พิสัยเชื้อเพลิง: | 16,900 กิโลเมตร |
อัตราเต็มที่: |
|
ยุทโธปกรณ์: |
|
เกราะ: |
|
ฝ่ายเยอรมนีอ้างว่าเรือลำนี้มีระวางน้ำไม่เกิน 10,000 ตัน เป็นไปตามข้อจำกัดขนาดเรือที่ระบุในสนธิสัญญาแวร์ซาย แต่แท้จริงแล้วเรือลำนี้มีระวางน้ำเต็มที่กว่า 15,420 ตันซึ่งละเมิดสนธิสัญญาดังกล่าว เรือลำนี้ติดตั้งป้อมปืนใหญ่สามลำกล้องขนาด 11 นิ้ว (28 เซนติเมตร) จำนวนสองป้อม เรือลำนี้ถูกออกแบบให้มีความเร็วที่เรือลาดตระเวนลำอื่นๆก็ไล่ไม่ทัน ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 28 นอต (52 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ทำให้มีเรือรบของฝ่ายอังกฤษ-ฝรั่งเศสเพียงไม่กี่ลำที่เร็วพอจะแล่นตามเรือพลเรือเอกแชร์ทันและมีอานุภาพพอจะจมมันลง[2]
เรือพลเรือเอก แชร์ มีส่วนร่วมในสงครามกลางเมืองสเปนใน ค.ศ. 1936 และต่อมามีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่สอง เรือลำเสียหายจากระเบิดจากเครื่องบินของกองทัพอากาศหลวงอังกฤษขณะลอยลำอยู่ที่อ่าวเมืองคีลในคืนวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1945[3] จนมีสภาพคว่ำอยู่กลางอ่าว