เรือนเครื่องสับ

เรือนเครื่องสับ คือประเภทหนึ่งของเรือนที่อยู่อาศัยของคนไทย ที่เรียกว่า เรือนไทย คู่กันกับ เรือนเครื่องผูก ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานหมายถึง "เป็นเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้"

เรือนหมู่ภาคกลาง ในเมืองโบราณ มีรูปแบบเรือนไทย เรือนเครื่องสับ

ส่วนใหญ่เรือนเครื่องสับเป็นเรือน 3 ห้อง กว้าง 8 ศอก แต่จะใหญ่โตมากขึ้นถ้าเจ้าของมีตำแหน่งสำคัญ เช่น เสนาบดี ช่างที่สร้างจะเป็นช่างเฉพาะทาง ก่อนสร้างจะมีการประกอบพิธีหลายๆอย่าง ในภาคกลางมักใช้ไม้เต็งรังทำพื้น เพราะแข็งมาก ทำหัวเทียนได้แข็งแรง ภาคเหนือนิยมใช้ไม้สัก ไม้ที่ไม่นิยมใช้ เช่น ไม้ตะเคียนทอง เพราะมียางสีเลือด ไม่น่าดู

ลักษณะทั่วไปของเรือนเครื่องสับ คือ เป็นเรือนที่ก่อสร้างแบบถาวร วัสดุที่ใช้มักจะเป็นไม้จริง การเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอาคารจะใช้วิธีบากเข้าสลัก เข้าเดือย ตอกด้วยลิ่มไม้

คำเรียกอื่นของเรือนเครื่องสับ แก้

  • เรือนถาวร
  • เรือนเครื่องประดุ
  • เรือนฝากระดาน

องค์ประกอบของเรือนเครื่องสับ แก้

เรือนเครื่องสับประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ เดี่ยวล่าง เดี่ยวบน และบนหลังคา

  • ฐานราก มีการก่อสร้างโดย 2 วิธีคือ ใช้เป็นงัว คือมีไม้ 3 หรือ 4 ท่อน วางเรียงซ้อนกันและตั้งเสาลงข้างบน อีกวิธีหนึ่งคือ ใช้แระ คือการตัดไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือกลม รองไปบนก้อนหลุม ฐานรากจะรับน้ำหนักเสา ซึ่งเสาจะอยู่บนแระ ส่วนที่ฐานรากจะเป็นงัว จะมีไม้กงพัดวางลงไป
  • เสา
  • พื้น
  • ฝา หมายถึง สิ่งที่กั้นระหว่างภายในและภายนอกของเรือน ฝาเรือนในเรือนเครื่องสับมีหลายประเภท ซึ่งถูกนำมาใช้ต่างกันตามประโยชน์ใช้สอย ที่พบเห็นเป็นส่วนใหญ่ในเรือนนอนคือ ฝาประกนและฝาสายบัว และฝาไหลในเรือนครัว
    • ฝาประกน หมายถึง ฝาเรือนไม้จริงที่ประกอบกันด้วยการเข้าลิ้น โดยลูกนอนหรือไม้แนวนอน จะถูกบรรจุในโครงไม้แนวตั้งเป็นแนวสลับกัน คล้ายแนวการก่ออิฐ และบรรจุด้วยลูกฟักไม้จริงในระหว่างช่องสี่เหลี่ยม โดยลูกฟักมักถูกประดับตกแต่งให้สวยงาม
    • ฝาสายบัว หมายถึง ฝาเรือนที่มีลักษณะคล้ายฝาประกนที่ไม่มีลูกนอน โดยโครงไม้แนวตั้งคล้ายฝาประกน ส่วนช่องว่างระหว่างโครงไม้นั้นถูกบรรจุด้วยไม้ เมื่อมองรูปด้านของฝาจะเห็นไม้แนวตั้งเป็นหลัก ทำให้มีลักษณะเหมือนสายบัว
    • ฝาไหล หมายถึง ฝาเรือนสองชั้น สามารถเลื่อนในแนวนอนเพื่อให้ช่องว่างของไม้แนวตั้งที่ตีสลับกัน ซ้อนทับกันเพื่อเกิดช่องเปิดเพื่อระบายอากาศ นิยมใช้กับเรือนครัว
  • หลังคา

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้