เมืองปั่น (မိုင်းပန်) เอกสารไทยส่วนใหญ่เรียก เมืองพาน ตั้งอยู่ในจังหวัดล้างเค้อ รัฐฉาน ประเทศพม่า มีพรมแดนติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอนของไทย การตั้งถิ่นฐานในเมืองพานมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ชุมชนแรกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้คือชนเผ่าชาวไทใหญ่ ในสมัยก่อน เมืองพานเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรที่มีความสำคัญในทางการค้า เนื่องจากตั้งอยู่ในจุดที่สามารถเชื่อมต่อกับอาณาจักรเพื่อนบ้าน เช่น จีน ล้านนา ล้านช้าง

เมืองปั่น

မိုင်းပန်မိူ (พม่า) / မိူင်းပၼ်ႇ (ไทใหญ่)
เมือง
เมืองปั่นตั้งอยู่ในประเทศพม่า
เมืองปั่น
เมืองปั่น
ที่ตั้งในประเทศเมียนมา
พิกัด: 20°19′10″N 98°21′45″E / 20.31944°N 98.36250°E / 20.31944; 98.36250
ประเทศ พม่า
รัฐฉาน
จังหวัดล้างเค้อ
ความสูง815 เมตร (2,674 ฟุต)
เขตเวลาUTC+6.30 (MST)

ประวัติศาสตร์

แก้

เมืองพานถูกตั้งขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอลองพญา ที่ตั้งเดิมอยู่ราวสามกิโลเมตรทางใต้ของเมืองพานในปัจจุบัน ในช่วงนี้ไม่แทบไม่ปรากฎข้อมูลของเมืองพาน จึงสันนิฐานว่าเป็นเพียงชุมชนขนาดเล็กมากและไม่มีความสำคัญ ต่อมาในระหว่างพ.ศ. 2410-2417 เมืองพานในสมัยขุนทุอูสามารถตีเมืองใกล้เคียงมาเป็นเมืองขึ้นทั้งหมดสี่แห่งตามลำดับ ได้แก่ เมืองโต๋น, เมืองหาง, เมืองจวด และเมืองทา ประชากรของเมืองพานจึงเพิ่มขึ้นเป็นมีประชากรสามพันครัวเรือน ขุนทุอูจึงสร้างเมืองขึ้นใหม่ทางเหนือใกล้กับเมืองพานเดิม

ในพ.ศ. 2321 หลังจากที่เจ้ากาวิละแห่งนครลำปาง สามารถขับไล่พม่าออกจากล้านนาแล้ว ก็มอบหมายให้เจ้าคำฟั่น ผู้อนุชา ยกทัพไปตีเมืองพาน ได้ตัวเจ้าฟ้าหน่อคำและกวาดต้อนผู้คนลงมา

ระหว่างพ.ศ. 2431 ถึง 2432 อังกฤษเริ่มแผ่อิทธิพลขึ้นมาถึงหัวเมืองไทใหญ่ของสยาม สยามอ้างว่าหัวเมืองเหล่านี้ขึ้นต่อเชียงใหม่ แต่อังกฤษสงสัยว่าเมืองไทใหญ่พวกนี้ขึ้นต่อเชียงใหม่จริงหรือ อาณานิคมอินเดียจึงเสนอให้ตั้งคณะกรรมการร่วมสองฝ่ายเพื่อไต่สวนด้วยกัน ในตอนแรกสยามก็ดูตอบสนอง แต่พอถึงเวลาจริงก็ไม่ยอมส่งผู้ใดเข้าร่วม ทางการอังกฤษจึงดำเนินการไต่สวนด้วยตนเอง ท้ายที่สุด สยามก็เสียแดนแดนส่วนนี้ในพ.ศ. 2535

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จักรวรรดิญี่ปุ่นประกาศมอบ 12 เมืองในรัฐฉานให้แก่ประเทศไทย ซึ่งรวมเมืองพานอยู่ด้วย รัฐบาลไทยจึงผนวกดินแดนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2486[1] และจัดตั้งเป็น อำเภอเมืองพาน ต่อมาหลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยจำต้องคืนเมืองพานให้แก่สหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2488

อ้างอิง

แก้
  1. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. หน้า 574