เมษสังกรานติ หรือ ปีใหม่สุริยคติฮินดู หมายถึงวันแรกในวัฏจักรปีแบบสุริยคติ หรือคือวันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินสุริย-จันทรคติแบบฮินดู[1] ในปฏิทินฮินดู มีปีใหม่จันทรคติเช่นกัน ซึ่งมีความสำคัญกว่าในเชิงศาสนา และมีวันที่แตกต่างกันไประหว่างระบบอมนฺต กับ ปุรีนามนฺต รอบปีแบบสุริยคติยังมีความสำคัญมากกว่าในปฏิทินของอัสสัม, โอริยา, ปัญจาบ, มลยาฬัม, ทมิฬ และ เบงกอล[2]

แกะ สัญลักษณ์ของราศีเมษ ภาพจากชันตรมันตระ (ชัยปุระ)

ตำราสันสกฤตโบราณถือว่าวันนี้เป็นวันที่แทนที่การเคลื่อนตัวแบบเฉพาะของดวงอาทิตย์[2] เมษสังกรานติเป็นหนึ่งในสิบสองสังกรานติของปฏิทินแบบอินเดีย โดยในคัมภีร์ดาราศาสตร์โบราณของอินเดียเชื่อมโยงวันเมษสังกรานติเข้ากับวันที่เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ราศีเมษ[3][4]

เมษสังกรานติมักตรงกับ 13 เมษายน มีบางปีที่ตรงกับ 14 เมษายน วันนี้ยังเป็นวันที่เป็นรากฐานของเทศกาลสำคัญในศาสนาฮินดู, ศาสนาซิกข์ และศาสนาพุทธ เช่นไวสาขี และวิสาขะ[5][6][7]

ศัพทมูล แก้

สังกรานติ (สํกฺรานฺติ) แปลว่า "การเปลี่ยนผ่าน" โดยเฉพาะในแง่ของการเคลื่อนที่ย้ายตัวของดวงดาว ส่วน เมษ แปลว่าแกะ หรือคือราศีเมษ[8] "เมษสังกรานติ" หมายถึงวันที่ชัดเจนตามระบบดาราศาสตร์ในปฏิทินสันสกฤตโบราณ ในการศึกษาระบบเวทางคะ ในศาสตร์ของชโยติศ และในเอกสารยุคถัดมา เช่น สุรยสิทธันตะ[2]

อ้างอิง แก้

  1. Robert Sewell; Śaṅkara Bālakr̥shṇa Dīkshita; Robert Schram (1996). Indian Calendar. Motilal Banarsidass Publishers. pp. 31–32. ISBN 978-81-208-1207-9.
  2. 2.0 2.1 2.2 Robert Sewell; Śaṅkara Bālakr̥shṇa Dīkshita; Robert Schram (1996). Indian Calendar. Motilal Banarsidass Publishers. pp. 29–35. ISBN 978-81-208-1207-9.
  3. K V Singh (2015). Hindu Rites and Rituals: Origins and Meanings. Penguin Books. p. 33. ISBN 978-93-85890-04-8.
  4. Glossary of Native, Foreign, and Anglicized Words Commonly Used in Ceylon in Official Correspondence and Other Documents. Asian Educational Services. 1996. pp. 66–67. ISBN 978-81-206-1202-0.
  5. K.R. Gupta; Amita Gupta (2006). Concise Encyclopaedia of India. Atlantic Publishers. p. 998. ISBN 978-81-269-0639-0.
  6. Christian Roy (2005). Traditional Festivals: A Multicultural Encyclopedia. ABC-CLIO. pp. 479–480. ISBN 978-1-57607-089-5.
  7. Mark Juergensmeyer; Wade Clark Roof (2011). Encyclopedia of Global Religion. SAGE Publications. p. 530. ISBN 978-1-4522-6656-5.
  8. Sankranti, Sanskrit English Dictionary, Koeln University, Germany