เฟย์ ดันนาเวย์

นักแสดงชาวอเมริกัน

เฟย์ ดันนาเวย์ (อังกฤษ: Faye Dunaway; เกิด 14 มกราคม ค.ศ. 1941) เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน เธอได้รับรางวัลด้านการแสดงมากมาย รวมถึงรางวัลออสการ์, รางวัลไพรม์ไทม์เอมมี, รางวัลแบฟตา กับอีกสามรางวัลลูกโลกทองคำ

เฟย์ ดันนาเวย์
ดันนาเวย์ใน ค.ศ. 1997
เกิดโดโรธี เฟย์ ดันนาเวย์
(1941-01-14) มกราคม 14, 1941 (83 ปี)
แบสคอม รัฐฟลอริดา สหรัฐ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแบสคอม
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงาน1961–ปัจจุบัน
คู่สมรสปีเตอร์ วูล์ฟ (สมรส 1974; หย่า 1979)
เทร์รี โอ'นีล (สมรส 1983; หย่า 1987)
บุตร1

เริ่มอาชีพตั้งแต่ช่วงต้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 บนละครบรอดเวย์ และมีผลงานภาพยนตร์ครั้งแรกใน เดอะแฮปเพนนิง (1967) ในปีเดียวกัน เธอมีชื่อเสียงจากบทบอนนี พาร์กเกอร์ในภาพยนตร์ชีวประวัติเรื่อง หนุ่มห้าว สาวเหี้ยม ของอาเธอร์ เพนน์ ซึ่งทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์เป็นครั้งแรก ภาพยนตร์ที่โดดเด่นที่สุดคือแนวอาชญากรรมเรื่อง เกมรักหักเหลี่ยมจารกรรม (1968), แนวดรามาเรื่อง เดอะอะเรนจ์เมนต์ (1969), แนวตะวันตกเรื่อง นรกสั่งฆ่า (1970), ดัดแปลงจากนวนิยายในชื่อเดียวกันของอาแล็กซ็องดร์ ดูว์มาเรื่อง เดอะทรีมัสเกตเทียส์ (1973), แนวลึกลับ–นีโอนัวร์เรื่อง ไชน่าทาวน์ (1974) ซึ่งทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์เป็นครั้งที่สอง, แนวโลดโผน–ดรามาเรื่อง ตึกนรก (1974) แนวการเมืองเขย่าขวัญเรื่อง 3 วันอันตราย (1975), แนวเสียดสีเรื่อง เน็ตเวิร์ก (1976) ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม[1]

ดันนาเวย์เริ่มสร้างความท้าทายให้ตนเองโดยการรับบทที่ดูโตขึ้น เริ่มด้วยภาพยนตร์ชีวประวัติปี ค.ศ. 1981 เรื่อง คุณแม่สุดที่รัก ในบทโจน ครอว์ฟอร์ด[2] รวมถึงภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงหลายเรื่อง ได้แก่ ซูเปอร์เกิร์ล (1984), บาร์ฟลาย (1987), เรื่องเล่าของสาวรับใช้ (1990), อาริซอน่า ฝันสลาย (1994), ดอนฮวน คุณเคยรักผู้หญิงจริงซักครั้งมั้ย (1995), เดอะทไวไลต์ออฟเดอะโกลส์ (1997), เจีย (1998) และ พิษแห่งแรงดึงดูดรัก (2002) เธอยังได้แสดงละครเวทีอีกหลายเรื่อง รวมถึง อะแมนฟอร์ออลซีซันส์ (1961–63), อัฟเตอร์เดอะฟอล (1964), โฮแกนส์โกต (1965–67), รถรางคันนั้นชื่อปรารถนา (1973)[3] และได้รับรางวัลซาราห์ซิดดอนส์ในบทนักร้องโอเปร่า มาเรีย คาลลาส ใน มาสเตอร์คลาส (1996)

อ้างอิง แก้

  1. Dunaway (1995), p. 316.
  2. Dunaway (1995), p. 336.
  3. Dunaway (1995), p. 220.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้