เผด็จศึก พิษณุราชันย์

เผด็จศึก พิษณุราชันย์ (เกิด 12 ตุลาคม 2500) เป็นอดีตยอดมวยไทยที่โด่งดังในช่วงปลายทศวรรษที่ 2510 ถึงกลางทศวรรษที่ 2520 เขาเป็นนักมวยไทยยอดเยี่ยมแห่งปีเมื่อปี 2522

เผด็จศึก พิษณุราชันย์
สถิติ
ชื่อจริงคำเสร็จ เทพจั้ง
ฉายานักมวยถ้วยพระราชทาน
ส่วนสูง1.7 เมตร (5 ฟุต 7 นิ้ว)
เกิด12 ตุลาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
ค่ายมวยพิษณุราชันย์

ประวัติและอาชีพ แก้

เผด็จศึกมีชื่อจริงว่า คำเสร็จ เทพจั้ง เริ่มฝึกมวยไทยเมื่ออายุ 14 ปี เขาชกประมาณ 40 ไฟต์ในจังหวัดต่างๆ โดยเอาชนะแชมป์ในอนาคต เช่น ลมอีสาน ส.ธนิกุล, น่านฟ้า สีหราชเดโช และนกหวีด เดวี่ ในปี 2517 เขาย้ายมากรุงเทพฯ และเข้ามาสังกัดค่ายพิษณุราชันย์

เผด็จศึกเป็นนักมวยที่ดีที่สุดคนหนึ่งในช่วงต้นทศวรรษที่ 2520 โดยเอาชนะเสมอสิงห์ เทียนหิรัญ, หนองคาย ส.ประภัสสร, สกัด พรทวี, วิชาญน้อย พรทวี, ณรงค์น้อย เกียรติบัณฑิต, ดีเซลน้อย ช.ธนะสุกาญจน์, โพธิ์ไทร สิทธิบุญเลิศ และจิตติ เมืองขอนแก่น[1]

ในปี 2522 เขาได้รับเลือกให้เป็นนักมวยไทยยอดเยี่ยมแห่งปี เขาได้เข้ารับถ้วยพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[2] เผด็จศึกเป็นนักมวยที่สมบูรณ์แบบด้วยศอกอันแหลมคมและพลังหมัดอันหนักหน่วง ในช่วงจุดสูงสุดในอาชีพของเขา เขาได้รับค่าตัวสูงถึง 120,000 บาท[3]

หลังจากแขวนนวมแล้ว เผด็จศึกก็เปิดร้านและเป็นเทรนเนอร์มวยไทยตามค่ายต่าง ๆ[4] เขาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และสอนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน ตั้งแต่ปี 2558[5]

อ้างอิง แก้

  1. 123 Greatest Muay Thai fighters of all-tme. p. 117. สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.
  2. "แสงจากพ่อ: นักชกถ้วยพระราชทาน (19 ธ.ค. 59)". youtube.com. Thai PBS. สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.
  3. Trefeu, Serge. "Once upon a time, Muay Thai's Greatest Champions (chapter II)". siamfightmag.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-23. สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.
  4. "Padejsuk Pitsanurachan แม่ไม้มวยไทยเผด็จศึก พิษณุราชันย์". youtube.com. สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.
  5. von Duuglas-Ittu, Sylvie. "Interview with Legend Padejseuk Pitsanurachan (cc: English Subtitles): 1979 Fighter of the Year". youtube.com. สืบค้นเมื่อ 9 September 2021.