เบียทริซ อะโบยาเด
เบียทริซ อะโบยาเด (อังกฤษ: Beatrice Aboyade; 24 สิงหาคม ค.ศ. 1935[1] – ) เป็นบรรณารักษ์ชาวไนจีเรียและศาสตราจารย์เกษียณอายุด้านบรรณารักษ์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยอีบาดัน โดยได้รับการอธิบายว่าเป็นผู้บุกเบิกด้านบรรณารักษ์ศาสตร์ในประเทศไนจีเรียโดยบริการสารานุกรมห้องสมุดกับสารสนเทศโลก ซึ่งอะโบยาเดทำงานในห้องสมุดมหาวิทยาลัยอีบาดันและมหาวิทยาลัยอีเล-อีเฟ[2][3]
เบียทริซ โอลาบิมเพ อะโบยาเด | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | อีเจบูโอเด รัฐโอกัน | 24 สิงหาคม ค.ศ. 1935
คู่สมรส | ศาสตราจารย์ โอเจทันจี อะโบยาเด (ถึงแก่กรรม) |
บุตร | 4 คน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยอีบาดัน มหาวิทยาลัยมิชิแกน |
ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา
แก้อะโบยาเดสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประถมศึกษาคริสตจักรของพระคริสต์ โพโรกัน อีเจบูโอเด เธอได้ดำเนินการต่อไปที่ควีนส์คอลเลจ เลกอส เพื่อศึกษาระดับมัธยมศึกษาระหว่าง ค.ศ. 1948 ถึง 1951 ครั้นระหว่าง ค.ศ. 1952 ถึง 1953 เธอสำเร็จการศึกษาระดับไฮสกูลที่ควีนส์คอลเลจ อีเด เธอได้รับปริญญาสาขาภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกจากมหาวิทยาลัยอีบาดันใน ค.ศ. 1960 จากนั้นจึงได้รับปริญญาเพิ่มเติมจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนใน ค.ศ. 1964 กระทั่งใน ค.ศ. 1970 เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอีบาดัน ทั้งนี้ เธอแต่งงานกับศาสตราจารย์ โอเจทันจี อะโบยาเด ผู้เป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1961 จนกระทั่งเขาเสียชีวิตใน ค.ศ. 1994[4]
อาชีพ
แก้อะโบยาเดไม่ได้เป็นบรรณารักษ์ แต่ใช้เวลาช่วงสั้น ๆ ที่บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงไนจีเรีย ก่อนที่เธอจะเข้าร่วมห้องสมุดของมหาวิทยาลัยอีบาดันในฐานะผู้ช่วยบรรณารักษ์ใน ค.ศ. 1962 ในไม่ช้าเธอก็เข้ารับตำแหน่งใหม่ในฐานะหัวหน้าผู้จัดทำรายการบัญชีที่มหาวิทยาลัยอีเฟใน ค.ศ. 1965 สามปีต่อมาเธอกลับมาที่มหาวิทยาลัยอีบาดันเพื่อเป็นผู้นำบริการผู้อ่าน กระทั่งใน ค.ศ. 1972 เธอเริ่มสอนที่นั่นเมื่อได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในภาควิชาบรรณารักษศาสตร์[1]
ใน ค.ศ. 1978 เธอได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากอาจารย์อาวุโสเมื่อดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านบรรณารักษศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอีบาดัน[1] รวมถึงดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาห้องสมุด, จดหมายเหตุ และสารสนเทศศึกษาที่มหาวิทยาลัยดังกล่าว[4] เธอยังดำเนินการระบบสารสนเทศการพัฒนาชนบท (RUDIS) ซึ่งเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลให้แก่คนในชนบทในทวีปแอฟริกา[2] ซึ่งงานของเธอกับระบบสารสนเทศการพัฒนาชนบทเผยให้เห็นว่าห้องสมุดในชนบทของประเทศไนจีเรียมีความต้องการใช้งานเป็นหลัก โดยหนังสือห้องสมุดดังกล่าวได้รับการนำมาใช้เพื่อแสดงวิธีปรับปรุงสาธารณูปโภค เช่น ถนน, ไฟฟ้า, การเงิน และประปา ที่ผู้อ่านจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโอกาสการจ้างงานที่ไม่ใช่ในท้องถิ่น ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับปุ๋ย และโอกาสในการซื้อขาย[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Robert, Wedgeworth (1993). World Encyclopedia of Library and Information Services (3 ed.). America: America Library Association. p. 1. ISBN 0838906095. สืบค้นเมื่อ 8 February 2019.
- ↑ 2.0 2.1 Wedgeworth, Robert (1993). World Encyclopedia of Library and Information Services. Chicago: American Library Association. pp. 1. ISBN 9780838906095.
- ↑ Nigerian Women Annual: Who's Who. Benin City: Gito & Associates. 1990. p. 15. ISSN 0795-7807.
- ↑ 4.0 4.1 "ABOYADE, Prof. (Mrs.) Beatrice Olabimpe". Biographical Legacy and Research Foundation.