เติงกูลามีเด็น (มลายู: Tengku Lamidin) เป็นพระยาเมืองปัตตานีในช่วงปี พ.ศ. 2328-2334 โดยเป็นรายาปกครองปาตานีองค์ที่ 1 หลังจากอาณาจักรปาตานีเสียเมืองแก่สยามในปี พ.ศ.พ.ศ. 2328

ประวัติ แก้

หลังจากสยามสามารถยึดอาณาจักรปาตานีได้ในปี พ.ศ. 2328 ก่อนจะนำทัพกลับกรุงเทพได้แต่งตั้ง เติงกูลามีเด็น ขึ้นปกครองปาตานีโดยให้อยู่ภายใต้การปกครองของนครศรีธรรมราช เติงกูลามีเด็นเป็นบุตรของนิสุไลมาน ดาตูปูยุดที่2 เป็นหลานของรายาบือนังปาดัน เป็นเหลนของวันดาอิม ดาตูยามู-จามปา

เติงกูลามีเด็นได้พยายามฟื้นฟูบ้านเมืองที่เสียหายจากสงครามแต่เนื่องจากบ้านเมืองได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงได้ย้ายไปสร้างวังแห่งใหม่ที่ปราวันซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงเก่าในสมัยอาณาจักรลังกาสุกะ โดยให้ดาโต๊ะปังกาลันเป็นผู้ดูแลเมืองหลวงที่กรือเซะ

ในสมัยการปกครองของเติงกูลามีเด็นได้คิดทำการกอบกู้เอกราชปาตานีจากอำนาจสยาม โดยได้ส่งศาสน์ให้พระเจ้าองเชียงสือ กษัตริย์แห่งอันนาม(เวียดนามในปัจจุบัน)ให้ยกทัพตีกรุงเทพทางทิศตะวันออก ส่วนท่านเองจะยกทัพตีกรุงเทพทางทิศใต้ แต่พระเจ้าองเชียงสือได้นำเรื่องดังกล่าวกราบทูล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทราบ จึงส่งพระยากลาโหมราชเสนาลงมาปราบในที่สุดเติงกูลามีเด็นเสียชีวิตลงในสงครามครั้งนั้น และได้กวาดต้อนประชาชนปาตานีกลับกรุงเทพ หลังจากนั้นได้แต่งตั้งดาโต๊ะปังกาลันเป็นผู้ปกครองปาตานีพร้อมทั้งแต่งตั้ง(ขวัญซ้าย) ไปเป็นผู้ตรวจการสอดส่องดูแลการปกครองของดาโต๊ะปังกาลัน[1][2]

ผลของสงครามครั้งนั้น บรรดาแม่ทัพนายกองที่รอดชีวิต พร้อมด้วยบุตรธิดาของเติงกูลามีเด็นและราษฎรถูกจับเป็นเชลย ถูกกวาดต้อนเข้ากรุงเทพ โดยให้เชลยเหล่านี้อยู่ในที่ต่างๆทั้งในกรุงเทพและปริมณฑล เช่น เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตพระประแดง เขตหนองจอก เขตมีนบุรีในปัจจุบัน

บุตรธิดา แก้

เติงกูลามีเด็น มีบุตรธิดา 3 คน โดยทั้งสามถูกนำเข้าสู่กรุงเทพไปอยู่ที่บ้านแขกรวมกับเชลยอื่นๆ ได้แก่

1.ต่วนอีตัม

2.ต่วนตีมุน

3.ต่วนกุนโด

อ้างอิง แก้

  1. ปัตตานีภายใต้การปกครองของสยาม เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF).P25.
  2. การแบ่งปัตตานีออกเป็น7หัวเมือง[ลิงก์เสีย] (PDF).P6-7.