เดซาโกตา (อินโดนีเซีย: Desakota) คือคำที่ใช้ในสาขาภูมิศาสตร์เมืองในการอธิบายพื้นที่ที่มีการแผ่ขยายไปยังบริเวณโดยรอบของเมืองขนาดใหญ่ซึ่งมีรูปแบบของการใช้ที่ดินและการตั้งถิ่นฐานของเมืองและเกษตรกรรมอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่น

ภาพถ่ายดาวเทียมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล บริเวณที่ทอดยาวไปตามแนวถนนสายหลักคือพื้นที่เดซาโกตา

คำนี้ถูกตั้งขึ้นโดยเทร์รี มักกี นักวิจัยชุมชนเมืองจากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียประมาณ ค.ศ. 1990 มาจากคำในภาษาอินโดนีเซียประกอบด้วย desa (หมู่บ้าน) และ kota (นคร) [1] พื้นที่เดซาโกตามักเกิดขึ้นในทวีปเอเชียโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบตัวอย่างได้ในภูมิภาคที่เป็นชุมชนเมืองบนเกาะชวา[2] ซึ่งมีประชากรหนาแน่น เป็นพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมรอบนอกของกลุ่มเมืองจาการ์ตา ("จาโบเดตาเบิก") และยังรวมถึงภาคมหานครอย่างกรุงเทพมหานครหรือมะนิลาเช่นกัน[3]

พื้นที่เดซาโกตาตั้งอยู่บริเวณนอกเขตชานเมืองซึ่งการเดินทางในชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างสะดวก เช่น ระยะทางมากกว่า 30 หรือ 50 กิโลเมตรจากใจกลางเมือง เดซาโกตามักจะแผ่ขยายไปยังบริเวณข้างเคียงของถนนสายหลักและเส้นทางคมนาคม บางครั้งอาจมีการรวมกลุ่มจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เดซาโกตามีลักษณะเด่นคือมีความหนาแน่นของประชากรสูงและมีการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอย่างหนาแน่น (โดยเฉพาะบริเวณที่มีการปลูกข้าวแบบทดน้ำ) แต่แตกต่างจากพื้นที่ชนบทที่มีประชากรหนาแน่นที่มีลักษณะคล้ายชุมชนเมืองมากขึ้น[4] หลักเกณฑ์ประกอบด้วย เครือข่ายการขนส่งที่พัฒนาแล้ว การเคลื่อนย้ายของประชากรที่สูง กิจกรรมที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากภาคเกษตร การอยู่ร่วมกันของรูปแบบการใช้ที่ดินที่แตกต่างกันจำนวนมาก การมีส่วนร่วมของสตรีในการจ้างแรงงาน และการใช้ที่ดินที่ไม่เป็นระเบียบ[5]

เมื่อพิจารณาถึงขอบเขตที่ไร้รูปแบบและคลุมเครือ การอุบัติของภูมิภาคเดซาโกตาทำให้เกิดความยากลำบากในการบริหาร เนื่องจากการวางแผน ออกข้อบังคับ หรือออกแบบให้เป็นในทางเดียวกันเป็นไปได้ยากที่จะใช้จริง ภูมิภาคเดซาโกตามีลักษณะเฉพาะในเรื่องของการเคลื่อนย้ายของสินค้าและการบริการสูงและแบบรูปของการตั้งถิ่นฐานเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปเดซาโกตาไม่สามารถปฏิบัติตามการแบ่งแยกพื้นที่เพื่อจัดเขตตามหน้าที่เฉพาะตามที่ประยุกต์รูปแบบในภูมิศาสตร์เมือง มีรูปแบบการใช้ที่แตกต่างแต่อยู่ใกล้กันอย่างสมบูรณ์ เช่น การเกษตรแบบดั้งเดิม อุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับครัวเรือน สวนสนุกกับสนามกอล์ฟ ศูนย์การค้ากับร้านค้าปลีก และรูปแบบการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ชุมชนแออัดไปจนถึงชุมชนรั้วรอบขอบชิดซึ่งอยู่ร่วมกัน[6]

นอกเหนือจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังมีพื้นที่ที่มีคุณสมบัติคล้ายกันในประเทศจีน[7][8][9] อินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน[10] และเกาหลีใต้[11]

ดูเพิ่ม แก้

วรรณกรรม แก้

  • Bunnell, Tim; Drummond, Lisa B.W.; Ho, K.C., บ.ก. (2002). Critical Reflections on Cities in Southeast Asia. Singapur: Times Academic Press. ISBN 978-981-210-192-1.
  • Guldin, Gregory Eliyu (1997). Desakotas and Beyond: Urbanization in Southern China. Farewell to Peasant China: Rural Urbanization and Social Change in the Late Twentieth Century. Armonk NY: M. E. Sharpe. p. 47.
  • Hebbert, Michael (1994). Sen-biki amidst Desakota: Urban Sprawl and Urban Planning in Japan. Planning for Cities and Regions in Japan. Liverpool: Liverpool University Press. pp. 70–91.
  • McGee, Terry G. (1991). The Emergence of Desakota Regions in Asia: Expanding a Hypothesis. The Extended Metropolis: Settlement Transition Is Asia. Honolulu: University of Hawaii Press. pp. 3–25. ISBN 978-0-8248-1297-3.
  • McGee, T.G. (2009), The Spatiality of Urbanization: The Policy Challenges of Mega-Urban and Desakota Regions of Southeast Asia (PDF), UNU-IAS Working Paper, United Nations University Institute of Advanced Studies, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-02, สืบค้นเมื่อ 2019-07-16
  • Pelling, Mark; Mustafa, Daanish (2010), Vulnerability, Disasters and Poverty in Desakota Systems (PDF), Environment, Politics and Development Working Paper, Department of Geography, King’s College London, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-02, สืบค้นเมื่อ 2019-07-16

อ้างอิง แก้

  1. Cairns, Stephen (2002), "Troubling Real-estate: Reflecting on Urban Form in Southeast Asia", Critical Reflections on Cities in Southeast Asia, p. 117
  2. McGee, Terry G. (2002), "Reconstructing 'The Southeast Asian City' in an Era of Volatile Globalization", Critical Reflections on Cities in Southeast Asia, pp. 33–34
  3. McGee (2002), Reconstructing 'The Southeast Asian City', pp. 47–48
  4. McGee (1991), The Emergence of Desakota Regions in Asia., pp. 6–7
  5. Chia, Lin Sien; Perry, Martin (2003), "Introduction", Southeast Asia Transformed: A Geography of Change, Singapur: Institute of Southeast Asian Studies, p. 12, ISBN 978-981-230-119-2
  6. Cairns (2002), Troubling Real-estate, p. 118
  7. Guldin (1997), Desakotas and Beyond, pp. 48, 62
  8. Sui, Daniel Z.; Zeng, Hui (2001), "Modeling the dynamics of landscape structure in Asia's emerging desakota regions: A case study in Shenzhen", Landscape and Urban Planning, vol. 53 no. 1–4, pp. 37–52, doi:10.1016/s0169-2046(00)00136-5
  9. Xie, Yichun; Batty, Michael; Zhao, Kang, Simulating Emergent Urban Form: Desakota in China (PDF), CASA Working Paper, Centre for Advanced Spatial Analysis, University College London
  10. Stone, C.S.; Chi, Chang-Liang (2012). "Contesting Urban and Rural Space in Desakota Regions of Taiwan — A Case Study of I-Lan County". Environment and Urbanization ASIA. 3 (1): 93–120. doi:10.1177/097542531200300106.
  11. Hebbert (1994), Sen-biki amidst Desakota, p. 71