เซ็นทรัลพาร์ก
เซ็นทรัลพาร์ก (อังกฤษ: Central Park) เป็นสวนสาธารณะระดับเมือง ตั้งอยู่ระหว่างย่านอัปเปอร์เวสต์ไซด์และอัปเปอร์อีสต์ไซด์ของแมนแฮตตันในนครนิวยอร์ก และเป็นสวนสาธารณะที่มีการจัดภูมิทัศน์แห่งแรกในสหรัฐ มันเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่เป็นอันดับหกในเมืองด้วยพื้นที่ 843 เอเคอร์ (341 เฮกตาร์) และเป็นสวนสาธารณะระดับเมืองที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในสหรัฐ โดยมีการประมาณการผู้เข้าชม 42 ล้านคนต่อปี ณ ค.ศ. 2016 มันยังเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ถูกใช้ถ่ายทำภาพยนตร์มากที่สุดในโลกอีกด้วย
เซ็นทรัลพาร์ก | |
---|---|
Central Park | |
![]() ภาพมุมสูงของเซ็นทรัลพาร์กทางตอนใต้ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 | |
![]() แผนที่แบบโต้ตอบแสดงตำแหน่งของเซ็นทรัลพาร์ก | |
ประเภท | สวนสาธารณะระดับเมือง |
ที่ตั้ง | แมนแฮตตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐ |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 40°46′56″N 73°57′55″W / 40.78222°N 73.96528°W |
พื้นที่ | 843 เอเคอร์ (341 เฮกตาร์; 1.317 ตารางไมล์; 3.41 ตารางกิโลเมตร) |
ก่อตั้ง | 1857–1876 |
เจ้าของ | กรมอุทยานและนันทนาการนครนิวยอร์ก |
ผู้ดำเนินการ | องค์การอนุรักษ์เซ็นทรัลพาร์ก |
จำนวนผู้ใช้บริการ | ประมาณปีละ 42 ล้านคน |
เวลาให้บริการ | 06.00 ถึง 01.00 น. |
ขนส่งมวลชน | รถไฟใต้ดินและรถประจำทาง ดู "ระบบขนส่งสาธารณะ" |
ป้อนข้อมูลไม่ถูกต้อง | |
ป้อนข้อมูลไม่ถูกต้อง | |
สถาปนิก | เฟรเดอริก ลอว์ ออล์มสเตด (1822–1903), แคลเวิร์ต วอกซ์ (1824–1895) |
เลขอ้างอิง NRHP | 66000538 |
NYSRHP No. | 06101.000663 |
วันสำคัญ | |
ขึ้นทะเบียน NRHP | 15 ตุลาคม 1966[3] |
ทะเบียน NHL | 23 พฤษภาคม 1963 |
ขึ้นทะเบียน NYSRHP | 23 มิถุนายน 1980[1] |
ขึ้นทะเบียน NYCL | 26 มีนาคม 1974[2] |
การสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ในแมนแฮตตันได้รับการเสนอครั้งแรกในทศวรรษ 1840 และสวนสาธารณะขนาด 778 เอเคอร์ (315 เฮกตาร์) ได้รับการอนุมัติใน ค.ศ. 1853 ใน ค.ศ. 1858 เฟรเดอริก ลอว์ ออล์มสเตด และแคลเวิร์ต วอกซ์ ภูมิสถาปนิก ชนะการประกวดแบบสวนสาธารณะด้วย "แผนกรีนสเวิร์ด" ของพวกเขา การก่อสร้างเริ่มต้นใน ค.ศ. 185; สิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่เดิม รวมถึงชุมชนคนผิวดำส่วนใหญ่ที่ชื่อว่าเซเนกาวิลเลจ ถูกยึดโดยใช้อำนาจเวนคืนและถูกทำลาย พื้นที่ส่วนแรกของสวนเปิดให้ประชาชนเข้าชมในช่วงปลาย ค.ศ. 1858 มีการซื้อที่ดินเพิ่มเติมทางตอนเหนือของเซ็นทรัลพาร์กใน ค.ศ. 1859 และสวนสร้างเสร็จสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1876 หลังช่วงเวลาเสื่อมโทรมในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 รอเบิร์ต โมเสส กรรมการอุทยานนครนิวยอร์กริเริ่มโครงการทำความสะอาดเซ็นทรัลพาร์กในทศวรรษ 1930 องค์การอนุรักษ์เซ็นทรัลพาร์ก (The Central Park Conservancy) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1980 เพื่อต่อสู้กับการเสื่อมโทรมที่มากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ทำการบูรณะส่วนต่าง ๆ ของสวนตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา
สถานที่ท่องเที่ยวหลักของสวนแห่งนี้ ได้แก่ เดอะแรมเบิลและทะเลสาบ, เขตรักษาพันธุ์ธรรมชาติฮัลเลตต์, อ่างเก็บน้ำแจ็กเกอลีน เคนเนดี โอนาสซิส, และทุ่งหญ้าแกะ; สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ เช่น ลานสเกตน้ำแข็งวอลแมน, ม้าหมุนเซ็นทรัลพาร์ก, และสวนสัตว์เซ็นทรัลพาร์ก; พื้นที่ที่เป็นทางการ เช่น เซ็นทรัลพาร์กมอลล์และเบเทสดาเทอร์เรซ; และโรงละครเดลาคอร์ต ระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพแห่งนี้มีพืชและสัตว์หลายร้อยชนิด กิจกรรมนันทนาการรวมถึงการนั่งรถม้าและการทัวร์ด้วยจักรยาน การปั่นจักรยาน สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา และคอนเสิร์ตและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เชกสเปียร์ในสวน เซ็นทรัลพาร์กมีระบบถนนและทางเดินตัดผ่านและมีบริการขนส่งสาธารณะ
ขนาดและตำแหน่งทางวัฒนธรรมของมันทำให้เซ็นทรัลพาร์กเป็นแบบอย่างสำหรับสวนสาธารณะระดับเมืองทั่วโลก ด้วยอิทธิพลและความสำคัญของเซ็นทรัลพาร์ก ทำให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติใน ค.ศ. 1963 และสถานที่สำคัญทางทัศนียภาพของนครนิวยอร์กใน ค.ศ. 1974 เซ็นทรัลพาร์กเป็นทรัพย์สินของกรมอุทยานและนันทนาการนครนิวยอร์กแต่ได้รับการบริหารจัดการโดยองค์การอนุรักษ์เซ็นทรัลพาร์กตั้งแต่ ค.ศ. 1998 ภายใต้สัญญาหุ้นส่วนมหาชนและเอกชนกับรัฐบาลเทศบาล องค์การอนุรักษ์ ซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงผลกำไร ระดมทุนสำหรับงบประมาณการดำเนินงานประจำปีของเซ็นทรัลพาร์กและรับผิดชอบการดูแลพื้นฐานทั้งหมดของสวน
ภาพรวม
แก้เซ็นทรัลพาร์กมีอาณาเขตติดต่อกับเซ็นทรัลพาร์กเหนือที่ถนนที่ 110 เซ็นทรัลพาร์กใต้ที่ถนนที่ 59 เซ็นทรัลพาร์กตะวันตกที่ถนนที่ 8 และถนนที่ 5 ทางทิศตะวันออก สวนตั้งอยู่ติดกับย่านฮาร์เล็มทางทิศเหนือ มิดทาวน์แมนแฮตตันทางทิศใต้ อัปเปอร์เวสต์ไซด์ทางทิศตะวันตก และอัปเปอร์อีสต์ไซด์ทางทิศตะวันออก มันมีความยาว 2.5 ไมล์ (4.0 กิโลเมตร) จากเหนือจรดใต้และ 0.5 ไมล์ (0.80 กิโลเมตร) จากตะวันตกจรดตะวันออก[4]
การออกแบบและจัดวาง
แก้เซ็นทรัลพาร์กถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ "ปลายเหนือ" ทอดยาวเหนืออ่างเก็บน้ำแจ็กเกอลีน เคนเนดี โอนาสซิส "กลางสวน" ระหว่างอ่างเก็บน้ำทางเหนือกับทะเลสาบและสระน้ำคอนเซอร์เวทอรีทางใต้ และ "ปลายใต้" ซึ่งอยู่ใต้ทะเลสาบและสระน้ำคอนเซอร์เวทอรี[5] สวนนี้มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวห้าแห่ง ได้แก่ ศูนย์ชาลส์ เอ. เดนาดิสคัฟเวอรี, ปราสาทเบลเวเดียร์, เรือนหมากรุกและหมากฮอส, เดอะแดรี และวงเวียนโคลัมบัส[6][7]
สวนนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสวนที่มีการจัดภูมิทัศน์แห่งแรกในสหรัฐ[8] สวนนี้มีพืชพรรณและภูมิประเทศที่ดูเป็นธรรมชาติ ทั้ง ๆ ที่เกือบทั้งหมดได้รับการจัดภูมิทัศน์เมื่อสร้างขึ้นในทศวรรษ 1850 และ 1860[9][10] มันมีทะเลสาบและสระน้ำแปดแห่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์โดยการสร้างเขื่อนกั้นน้ำซึมและน้ำไหลตามธรรมชาติ[11] มีพื้นที่ป่าไม้หลายส่วน สนามหญ้า ทุ่งหญ้า และพื้นที่หญ้าเล็กน้อย มีสนามเด็กเล่น 21 แห่ง[12] และถนนยาว 6.1 ไมล์ (9.8 กิโลเมตร)[4][13]
เซ็นทรัลพาร์กเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่เป็นอันดับหกในนครนิวยอร์ก รองจากเพลแฮมเบย์พาร์ก, แนวพื้นที่สีเขียวเกาะสแตเทน, เฟรชคิลส์พาร์ก, แวนคอร์ตแลนต์พาร์ก และฟลัชชิงมีโดส์–โคโรนาพาร์ก[14] โดยมีพื้นที่ 843 เอเคอร์ (341 เฮกตาร์; 1.317 ตารางไมล์; 3.41 ตารางกิโลเมตร)[15][16] เซ็นทรัลพาร์กถูกกำหนดให้เป็นเขตสำมะโนสหรัฐ โดยมีหมายเลข 143 จากข้อมูลประมาณการห้าปีของการสำรวจชุมชนอเมริกัน (American Community Survey) พบว่าในสวนนี้มีผู้หญิงอาศัยอยู่ 4 คนโดยมีอายุเฉลี่ย 19.8 ปี[17] แม้สำมะโนสหรัฐ ค.ศ. 2010 จะบันทึกว่ามีผู้อยู่อาศัย 25 คนในเขตสำมะโนนั้น แต่เจ้าหน้าที่สวนปฏิเสธข้ออ้างว่ามีใครอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นการถาวร[18]
ผู้เยี่ยมชม
แก้เซ็นทรัลพาร์กเป็นสวนสาธารณะในเมืองที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดในสหรัฐ[19] และเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดทั่วโลก[20] โดยมีผู้เข้าชม 42 ล้านคนใน ค.ศ. 2016[21] จำนวนผู้เยี่ยมชมรายบุคคลลดลงมาก รายงานขององค์การอนุรักษ์เซ็นทรัลพาร์กที่จัดทำขึ้นใน ค.ศ. 2011 พบว่ามีผู้เยี่ยมชมเซ็นทรัลพาร์กประมาณ 8 ถึง 9 ล้านคน โดยมีการเยี่ยมชมรวมกันประมาณ 37 ถึง 38 ล้านครั้ง[22] เทียบกันแล้วผู้เยี่ยมชม 25 ล้านคนใน ค.ศ. 2009[23] และ 12.3 ล้านคนใน ค.ศ. 1973[24]
จำนวนนักท่องเที่ยวเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เยี่ยมชมทั้งหมดนั้นน้อยกว่ามาก ใน ค.ศ. 2009 ผู้เยี่ยมชมสวน 25 ล้านคนที่บันทึกไว้ในปีนั้นมีเพียงหนึ่งในห้าเท่านั้นที่คาดว่าเป็นนักท่องเที่ยว[23] รายงานขององค์การอนุรักษ์ใน ค.ศ. 2011 ระบุอัตราส่วนการใช้สวนที่คล้ายกัน โดยมีผู้มาเยือนเซ็นทรัลพาร์กเป็นครั้งแรกเพียงร้อยละ 14 เท่านั้น จากรายงาน พบว่าเกือบสองในสามของผู้มาเยือนเป็นผู้ใช้สวนเป็นประจำ โดยเข้าสวนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และประมาณร้อยละ 70 ของผู้มาเยือนอาศัยอยู่ในนครนิวยอร์ก นอกจากนี้ การเยี่ยมชมสูงสุดเกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ของฤดูร้อน และผู้เยี่ยมชมส่วนใหญ่ใช้สวนเพื่อกิจกรรมนันทนาการแบบผ่อนคลาย เช่น การเดินเล่นหรือเที่ยวชมสถานที่ มากกว่าจะใช้เพื่อเล่นกีฬากลางแจ้ง[22]
การบริหาร
แก้สวนได้รับการบริหารจัดการและบำรุงรักษาโดยองค์การอนุรักษ์เซ็นทรัลพาร์ก (Central Park Conservancy) องค์กรเอกชนไม่แสวงหาผลกำไร ภายใต้สัญญาว่าจ้างกับกรมอุทยานและนันทนาการนครนิวยอร์ก (NYC Parks)[15] ประธานองค์การอนุรักษ์ฯ ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโดยตำแหน่ง (ex officio) ของเซ็นทรัลพาร์กซึ่งมีอำนาจกำกับดูแลการทำงานของทั้งพนักงานภาคเอกชนและรัฐของสวนภายใต้อำนาจของผู้บริหารเซ็นทรัลพาร์กที่ได้รับการแต่งตั้งจากภาครัฐ ซึ่งรายงานต่อทั้งคณะกรรมการอุทยาน และประธานองค์การอนุรักษ์ฯ[15] องค์การอนุรักษ์เซ็นทรัลพาร์กก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1980 ในฐานะองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่มีคณะกรรมการพลเมืองเพื่อช่วยเหลือโครงการริเริ่มของเมืองในการทำความสะอาดและฟื้นฟูสวนสาธารณะ[25][26] ใน ค.ศ. 1998 องค์การอนุรักษ์ฯ ได้รับมอบหมายหน้าที่การจัดการสวนสาธารณะจากกรมอุทยานนครนิวยอร์ก (NYC Parks) แม้กรมอุทยานฯ จะยังคงเป็นเจ้าของเซ็นทรัลพาร์ก[27] องค์การอนุรักษ์ให้การสนับสนุนด้านการบำรุงรักษาและโครงการฝึกอบรมบุคลากรสำหรับสวนสาธารณะอื่น ๆ ในนครนิวยอร์ก และได้ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาสวนสาธารณะแห่งใหม่ ๆ เช่น ไฮไลน์ และบรุกลินบริดจ์พาร์ก[28]
เซ็นทรัลพาร์กได้รับการลาดตระเวนโดยสถานีตำรวจประจำเขตของตนเอง สังกัดกรมตำรวจนครนิวยอร์ก คือ สถานีตำรวจเขตที่ 22 (เซ็นทรัลพาร์ก)[a] ตั้งอยู่บริเวณถนนที่ 86 ตัดขวาง เขตนี้ทั้งตำรวจประจำและเจ้าหน้าที่อาสา[30] สถานีตำรวจเขตที่ 22 มีอัตราการเกิดอาชญากรรมต่ำกว่าในทศวรรษ 90 โดยอาชญากรรมทุกประเภทลดลงร้อยละ 81.2 ระหว่าง ค.ศ. 1990 ถึง 2023 ใน ค.ศ. 2023 เขตนี้ไม่พบเหตุฆาตกรรม มีการข่มขืน 3 ครั้ง ปล้นทรัพย์ 23 ครั้ง ทำร้ายร่างกาย 9 ครั้ง ลักทรัพย์ในเคหสถาน 5 ครั้ง ลักทรัพย์ (มูลค่าสูง) 48 ครั้ง และไม่มีการลักทรัพย์รถยนต์ (มูลค่าสูง)[31] ตำรวจลาดตระเวนสวนสาธารณะนครนิวยอร์กซึ่งมีหน้าที่ทั่วทั้งเมือง จะลาดตระเวนในเซ็นทรัลพาร์กและบางครั้งองค์การอนุรักษ์เซ็นทรัลพาร์กจะจ้างเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนบังคับใช้กฎหมายสวนสาธารณะตามฤดูกาลเพื่อปกป้องพื้นที่บางแห่ง เช่น สวนคอนเซอร์เวทอรี[32]
หน่วยแพทย์เซ็นทรัลพาร์ก หน่วยแพทย์ฉุกเฉินอาสาฟรีชื่อว่า ให้บริการภายในเซ็นทรัลพาร์ก หน่วยการนี้มีการลาดตระเวนตอบสนองฉับไวโดยใช้จักรยาน รถพยาบาล และเอทีวี ก่อนที่หน่วยนี้จะถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1975 หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินของเทศบาลมักใช้เวลาตอบสนองต่อเหตุการณ์ในสวนนานกว่า 30 นาที[33]
ประวัติศาสตร์
แก้การวางแผน
แก้ระหว่าง ค.ศ. 1821 ถึง 1855 ประชากรของนครนิวยอร์กเพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่า เมื่อเมืองขยายตัวขึ้นไปทางเหนือของแมนแฮตตัน ผู้คนถูกดึงดูดไปยังพื้นที่เปิดโล่งที่มีอยู่ไม่กี่แห่ง ส่วนใหญ่เป็นสุสาน เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ สิ่งเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นการหลีกหนีจากเสียงและความวุ่นวายของชีวิตในเมือง ซึ่งในเวลานั้นเกือบทั้งหมดกระจุกตัวอยู่ในโลเวอร์แมนฮัตตัน[34] แผนคณะกรรมการ ค.ศ. 1811 เค้าโครงสำหรับผังถนนสมัยใหม่ของแมนแฮตตัน รวมพื้นที่เปิดโล่งขนาดเล็กหลายแห่งไว้แต่ไม่ได้รวมเซ็นทรัลพาร์ก[35] ดังนั้น จอห์น แรนเดล จูเนียร์ จึงได้ทำการสำรวจพื้นที่เพื่อการก่อสร้างทางแยกภายในบริเวณพื้นที่สวนในปัจจุบัน หมุดสำรวจที่เหลืออยู่เพียงอันเดียวจากการสำรวจของเขาถูกฝังอยู่ในหินทางเหนือของเดอะแดรีในปัจจุบันและแนวตัดขวางถนนที่ 66 โดยเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งที่ถนนที่ 65 ตะวันตกจะตัดกับถนนที่ 6[36][37]
พื้นที่
แก้ในทศวรรษ 1840 สมาชิกกลุ่มชนชั้นนำของเมืองเรียกร้องอย่างเปิดเผยให้มีการสร้างสวนขนาดใหญ่แห่งใหม่ในแมนแฮตตัน[34][38] ในเวลานั้น จัตุรัสทั้ง 17 แห่งของแมนแฮตตันมีพื้นที่รวมกัน 165 เอเคอร์ (67 เฮกตาร์) โดยจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุดคือแบตเตอรีพาร์กซึ่งมีพื้นที่ 10 เอเคอร์ (4 เฮกตาร์) ตั้งอยู่บริเวณปลายใต้ของเกาะแมนแฮตตัน[39] แผนเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนใน ค.ศ. 1844 โดยวิลเลียม คัลเลน ไบรอันต์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ New York Evening Post และใน ค.ศ. 1851 โดยแอนดรูว์ แจ็กสัน ดาวนิง หนึ่งในนักออกแบบภูมิทัศน์ชาวอเมริกันคนแรก ๆ[38][40][41]
นายกเทศมนตรีแอมโบรส คิงส์แลนด์ ในข้อความที่ส่งถึงสภาสามัญนครนิวยอร์กในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1851 กล่าวถึงความจำเป็นและประโยชน์ของสวนขนาดใหญ่แห่งใหม่และเสนอให้สภาดำเนินการเพื่อสร้างสวนดังกล่าว ข้อเสนอของคิงส์แลนด์ถูกส่งต่อไปยังคณะกรรมการที่ดินของสภา ซึ่งคณะกรรมการฯ รับรองข้อเสนอนั้น คณะกรรมการเลือกโจนส์วูด ที่ดินขนาด 160 เอเคอร์ (65 เฮกตาร์) ที่อยู่ระหว่างถนนที่ 66 และ 75 ฝั่งอัปเปอร์อีสต์ไซด์ เป็นสถานที่ตั้งของสวน ตามที่ไบรอันต์ได้สนับสนุนโจนส์วูดไว้ การเข้าซื้อนั้นเป็นที่ถกเถียงเพราะทำเล ขนาดที่เล็กเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ที่อยู่เหนือเมือง และราคา[42][43][44] ร่างกฎหมายเพื่อจัดซื้อโจนส์วูดถูกประกาศให้เป็นโมฆะว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ [45][46] ความสนใจจึงหันไปที่พื้นที่แห่งที่สองขนาด 750 เอเคอร์ (300 เฮกตาร์) ที่รู้จักกันในชื่อ "เซ็นทรัลพาร์ก" มีขอบเขตระหว่างถนนที่ 59 และ 106 ระหว่างถนนที่ 5 และ 8[45][47] นิโคลัส ดีน ประธานคณะกรรมการสะพานส่งน้ำครอตัน ผู้ซึ่งเสนอที่ตั้งเซ็นทรัลพาร์ก เลือกที่ตั้งนั้นเพราะอ่างเก็บน้ำขนาด 35 เอเคอร์ (14 เฮกตาร์) ความจุ 150 ล้านแกลลอนสหรัฐ (570 × 106 ลิตร) ของสะพานส่งน้ำครอตันจะอยู่ในจุดศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์[45][47] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1853 สภานิติบัญญัติรัฐนิวยอร์กผ่านรัฐบัญญัติเซ็นทรัลพาร์ก อนุมัติการซื้อที่ดินที่เป็นที่ตั้งของเซ็นทรัลพาร์กในปัจจุบัน[48][49]
คณะกรรมการที่ดินทำการประเมินทรัพย์สินในที่ดินกว่า 34,000 แปลงในพื้นที่[50] และดำเนินการเสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1855[51] ขณะที่การประเมินกำลังดำเนิน ข้อเสนอการลดขนาดแผนงานถูกยับยั้งโดยนายกเทศมนตรีเฟอร์แนนโด วูด[51][52][53] ในเวลานั้น พื้นที่ดังกล่าวถูกครอบครองโดยคนผิวดำอิสระและผู้อพยพชาวไอริชซึ่งได้พัฒนาชุมชนที่มีเจ้าของทรัพย์สินอยู่ที่นั่นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1825[54][55] ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเซ็นทรัลพาร์กอาศัยอยู่ในหมู่บ้านขนาดเล็ก เช่น พิกทาวน์[56][57] เซเนกาวิลเลจ[58] หรือในโรงเรียนและคอนแวนต์ที่โรงเรียนเมาท์เซนต์วินเซนต์[59] การปรับพื้นที่เริ่มขึ้นในเวลาไม่นานหลังรายงานของคณะกรรมการที่ดินได้รับการเผยแพร่ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1855[50][60] และผู้อยู่อาศัยประมาณ 1,600 คนถูกไล่ที่ภายใต้กฎหมายเวนคืนที่ดิน[58][61][62] แม้ผู้สนับสนุนจะอ้างว่าสวนสาธารณะจะมีค่าใช้จ่ายเพียง 1.7 ล้านดอลลาร์[63] แต่ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของที่ดินกลับจบลงที่ 7.39 ล้านดอลลาร์ (เท่ากับ 242 ล้านดอลลาร์ในปี 2023) มากกว่าราคาที่สหรัฐจะจ่ายสำหรับอะแลสกาในอีกไม่กี่ปีต่อมา[64][65][66]
การประกวดออกแบบ
แก้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1856 เฟอร์แนนโด วูดแต่งตั้ง "คณะกรรมการที่ปรึกษา" จำนวนเจ็ดคน โดยมีวอชิงตัน เออร์วิง นักเขียนเป็นหัวหน้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชนในการพัฒนาที่เสนอ[67][68] วูดว่าจ้างเอ็กเบิร์ต ลูโดวิคัส วีลี วิศวกรทหารเป็นหัวหน้าวิศวกรของสวน โดยมอบหมายให้เขาทำการสำรวจภูมิประเทศของพื้นที่นั้น[69][70][71] ในเดือนเมษายนถัดมา สภานิติบัญญัติรัฐผ่านร่างกฎหมายเพื่ออนุญาตให้แต่งตั้งกรรมการจำนวนสี่คนจากพรรคเดโมแครตและเจ็ดคนจากพรรครีพับลิกัน[67][72] ซึ่งมีอำนาจควบคุมแต่เพียงผู้เดียวในกระบวนการวางแผนและการก่อสร้าง[73][74][75] แม้วีลีจะมีแผนสำหรับสวนอยู่แล้ว[76] แต่กรรมการก็เพิกเฉยต่อแผนนั้นและจ้างเขาให้ทำเพียงแค่การสำรวจภูมิประเทศให้เสร็จสมบูรณ์เท่านั้น[77][78] คณะกรรมการเซ็นทรัลพาร์กเริ่มจัดการประกวดออกแบบภูมิทัศน์หลังจากก่อตั้งไม่นาน[78][79][80] คณะกรรมการระบุว่ารายการที่ส่งเข้าประกวดทุกรายการต้องมีรายละเอียดจำเพาะอย่างยิ่ง ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการที่ปรึกษา[80][81][82] มีบริษัทหรือองค์กรจำนวน 33 แห่งยื่นแผน[80][81]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1858 คณะกรรมการอุทยานเลือก "แผนกรีนสเวิร์ด" ของเฟรเดอริก ลอว์ ออล์มสเตดและแคลเวิร์ต วอกซ์ให้เป็นแบบที่ชนะเลิศ[83][84][85] แผนอื่นอีกสามแผนได้รับการคัดเลือกให้เป็นรองชนะเลิศและถูกนำไปจัดแสดงในนิทรรศการของเมือง[84][86] ต่างจากแบบร่างอื่น ๆ หลายแบบ ซึ่งผสานเซ็นทรัลพาร์กเข้ากับเมืองโดยรอบอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอของออล์มสเตดและวอกซ์นำเสนอการแบ่งแยกที่ชัดเจนด้วยถนนตามขวางที่ต่ำลงไป[87][88] แผนนี้เลี่ยงความสมมาตร และเลือกใช้การออกแบบที่งดงามราวภาพวาดแทน[87][89] มันได้รับอิทธิพลจากอุดมคติแบบชนบทของสุสานที่มีการจัดภูมิทัศน์ เช่น เมาท์ออเบิร์นในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ และกรีน-วูดในบรุกลิน[88][90] การออกแบบยังได้รับแรงบันดาลใจจากการเดินทางไปเยือนสวนเบอร์เคนเฮดในเบอร์เคนเฮด ประเทศอังกฤษ ของออล์มสเตดใน ค.ศ. 1850[91] ซึ่งได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นสวนสาธารณะที่รัฐให้ทุนแห่งแรกของโลก[92][93][94] ตามคำกล่าวของออล์มสเตด สวนแห่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะ "สวนสาธารณะที่สร้างขึ้นจริงแห่งแรกในประเทศนี้ ซึ่งเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยที่มีความสำคัญสูงสุด"[89][95]
การก่อสร้าง
แก้การก่อสร้างตามแบบของเซ็นทรัลพาร์กดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา เฟรเดอริก ลอว์ ออล์มสเตดและแคลเวิร์ต วอกซ์เป็นผู้ออกแบบหลัก โดยได้รับความช่วยเหลือจากแอนดรูว์ แฮสเวล กรีน สมาชิกคณะกรรมการ, เจคอบ เรย์ โมลด์ สถาปนิก, อิกนาซ แอนตัน พิลาต หัวหน้าคนสวน และจอร์จ อี. แวริง จูเนียร์ วิศวกร[96][97] แอล์มสเตดรับผิดชอบแผนโดยรวม ส่วนวอกซ์ออกแบบรายละเอียดปลีกย่อยบางส่วน โมลด์ ผู้ซึ่งทำงานร่วมกับวอกซ์เป็นประจำ ออกแบบทางเดินเอสพลานาดในเซ็นทรัลพาร์กและอาคารทาเวิร์นออนเดอะกรีน[98] พิลาตเป็นภูมิสถาปนิกหลักของสวน ซึ่งหน้าที่หลักของเขาคือการนำเข้าและจัดวางพืชพรรณภายในสวน[98][99] "กลุ่ม" วิศวกรก่อสร้างและหัวหน้างานภายใต้การจัดการของวิศวกรนวกรรมิก วิลเลียม เอช. แกรนต์ ได้รับมอบหมายให้ทำการวัดและก่อสร้างองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น ทางเดิน ถนน และอาคาร[100][101] แวริงเป็นหนึ่งในวิศวกรที่ทำงานภายใต้การนำของแกรนต์และรับผิดชอบการระบายน้ำของพื้นที่[102][103]
การสร้างเซ็นทรัลพาร์กเป็นเรื่องยากเนื่องจากภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นหินและเป็นหนองน้ำ[9] ดินและหินประมาณ 5 ล้าน ลูกบาศก์ฟุต (140,000 ลูกบาศก์เมตร) ถูกขนย้ายออกจากสวน และมีการใช้ดินปืนในการปรับพื้นที่มากกว่าที่ใช้ในยุทธการที่เกตตีสเบิร์กในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา[10] ดินชั้นบนมากกว่า 18,500 ลูกบาศก์หลา (14,100 ลูกบาศก์เมตร) ถูกขนส่งมาจากลองไอแลนด์และนิวเจอร์ซีย์ เนื่องจากดินเดิมไม่สมบูรณ์และไม่มีปริมาณมากพอจะรองรับพืชพรรณที่ระบุไว้ในแผนกรีนสเวิร์ด[9][10] อุปกรณ์พลังงานไอน้ำสมัยใหม่และเครื่องจักรย้ายต้นไม้ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานไร้ฝีมือ[10] รวมแล้ว มีผู้คนกว่า 20,000 คนที่ร่วมกันสร้างเซ็นทรัลพาร์ก[10] แม้จะใช้มาตรการป้องกันอย่างเข้มงวดที่ใช้เพื่อลดความเสียหายข้างเคียง แต่ก็ยังมีคนงานเสียชีวิต 5 คนระหว่างโครงการ ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับอัตราการเสียชีวิตในงานก่อสร้างทั่วไปในสมัยนั้น[104]
ในช่วงการพัฒนาเซ็นทรัลพาร์ก นวกรรมิกออล์มสเตดจ้างตำรวจม้าหลายสิบนายซึ่งถูกแบ่งออกเป็น "ผู้ดูแล" สองประเภท ได้แก่ ผู้ดูแลสวนสาธารณะและผู้ดูแลประตู[9][105][106] ตำรวจม้าได้รับความชื่นชมจากผู้มาใช้สวนและต่อมามีการผนวกเข้าเป็นหน่วยลาดตระเวนถาวร[9] กฎระเบียบต่าง ๆ บางครั้งก็เข้มงวด[106] ตัวอย่างเช่น กิจกรรมที่ห้ามทำ ได้แก่ การพนัน การปราศรัย การชุมนุมขนาดใหญ่ (เช่น ปิกนิก) และการเด็ดดอกไม้หรือพืชอื่น ๆ[106][107][108] กฎระเบียบเหล่านี้ได้ผลดีมาก ภายใน ค.ศ. 1866 มีผู้เยี่ยมชมเกือบแปดล้านคนและมีการจับกุมเพียง 110 ครั้งในประวัติศาสตร์ของสวนแห่งนี้[109]
ปลายทศวรรษ 1850
แก้ในปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1857 คนงานเริ่มสร้างรั้ว ถางพืชพรรณ ระบายน้ำออกจากพื้นที่ และปรับระดับภูมิประเทศที่ไม่สม่ำเสมอ[110][111] ภายในเดือนถัดมา หัวหน้าวิศวกรวีลีรายงานว่าโครงการนี้จ้างคนงานเกือบ 700 คน[111] โอล์มสเตดจ้างแรงงานรายวัน เขารับคนงานโดยตรงโดยไม่มีสัญญาใด ๆ และจ่ายค่าจ้างเป็นรายวัน[100] แรงงานจำนวนมากเป็นผู้อพยพชาวไอริชหรือชาวอเมริกันเชื้อสายไอริชรุ่นแรกหรือรุ่นที่สอง และมีชาวเยอรมันและอิตาลีบ้าง[112] ไม่มีแรงงานผิวดำหรือแรงงานหญิง[113][114] คนงานมักได้รับค่าจ้างต่ำ[114][115] และมักรับงานในโครงการก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อเสริมรายได้[116] รูปแบบการจ้างงานตามฤดูกาลถูกกำหนดขึ้น โดยจะมีการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นและจ่ายค่าแรงในอัตราที่สูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน[114]
เป็นเวลาหลายเดือนที่คณะกรรมการอุทยานเผชิญกับปัญหาด้านการเงิน[74][117] และแรงงานเฉพาะทางและแหล่งเงินทุนที่มั่นคงไม่ได้ถูกจัดหาจนกระทั่งเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1858[74] อ่างเก็บน้ำอัปเปอร์ที่จัดภูมิทัศน์แล้วเป็นส่วนเดียวของสวนที่คณะกรรมการไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบการสร้าง แต่กลับเป็นคณะกรรมการสะพานส่งน้ำครอตันที่เป็นผู้สร้าง งานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1858[118] งานสำคัญครั้งแรกในเซ็นทรัลพาร์กเกี่ยวข้องกับการปรับระดับถนนและระบายน้ำในส่วนใต้ของสวน[119][120] ทะเลสาบในส่วนตะวันตกเฉียงใต้ของเซ็นทรัลพาร์กเป็นจุดแรกที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1858)[121] ตามด้วยเดอะแรมเบิลในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1859[104][122] ปีเดียวกันนั้น สภานิติบัญญัติรัฐนิวยอร์กอนุมัติการซื้อที่ดินเพิ่มเติม 65 เอเคอร์ (26 เฮกตาร์) ทางตอนเหนือสุดของเซ็นทรัลพาร์ก จากถนนที่ 106 ถึง 110[121][123] ส่วนของเซ็นทรัลพาร์กที่อยู่ทางใต้ของถนนที่ 79 เสร็จสมบูรณ์เกือบทั้งหมดภายใน ค.ศ. 1860[124]
คณะกรรมการอุทยานรายงานในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1860 ว่ามีการใช้จ่ายเงินไปกับการก่อสร้างจนถึงปัจจุบันเป็นจำนวน 4 ล้านดอลลาร์[125] เนื่องจากต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คณะกรรมการจึงตัดหรือลดขนาดคุณลักษณะหลายอย่างในแผนกรีนสเวิร์ด[126] จากข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการจัดการต้นทุนที่ผิดพลาด วุฒิสภารัฐนิวยอร์กมอบหมายให้จูเลียส เคลเลอส์เบอร์เกอร์ วิศวกรชาวสวิสเขียนรายงานเกี่ยวกับสวนแห่งนี้[127] รายงานของเคลเลอส์เบอร์เกอร์ ซึ่งส่งใน ค.ศ. 1861 ระบุว่าการจัดการสวนของคณะกรรมการนั้น "ประสบความสำเร็จอย่างมีชัย"[128][129]
ทศวรรษ 1860
แก้ออล์มสเตดมักขัดแย้งกับคณะกรรมการอุทยาน โดยเฉพาะกับหัวหน้าคณะกรรมการกรีน[126][130] ออล์มสเตดลาออกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1862 และกรีนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งของโอลมสเตด[131][132] วอกซ์ลาออกจากตำแหน่งใน ค.ศ. 1863 เพราะสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นแรงกดดันจากกรีน[133] ในฐานะนวกรรมิกของสวน กรีนเร่งการก่อสร้าง แม้จะมีประสบการณ์ด้านสถาปัตยกรรมน้อยก็ตาม[131] เขาใช้วิธีบริหารแบบจู้จี้จุกจิก โดยจดบันทึกแม้แต่รายการธุรกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อหวังจะประหยัดค่าใช้จ่าย[130][134] กรีนสรุปการเจรจาซื้อที่ดินทางเหนือสุดของสวนขนาด 65 เอเคอร์ (26 เฮกตาร์) ซึ่งต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นป่าไม้ "ทุรกันดาร" และทางน้ำฮาร์เลมเมียร์[131][134]
เมื่อสงครามกลางเมืองอเมริกาเริ่มต้นใน ค.ศ. 1861 คณะกรรมการอุทยานตัดสินใจสร้างเซ็นทรัลพาร์กต่อไป เนื่องจากส่วนสำคัญของสวนได้สร้างเสร็จไปแล้ว[135] ในช่วงสงครามกลางเมือง มีสิ่งก่อสร้างหลักเพียงสามแห่งเท่านั้นที่สร้างเสร็จ ได้แก่ แท่นดนตรีและร้านอาหารกาสิโน ซึ่งต่อมาถูกรื้อถอน และระเบียงและน้ำพุเบเทสดา[136] ภายในปลาย ค.ศ. 1861 สวนทางใต้ของถนนที่ 72 ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ เหลือเพียงรั้วบางส่วนเท่านั้น[137] งานได้เริ่มต้นขึ้นในส่วนเหนือของสวนแต่มีความซับซ้อนเนื่องจากจำเป็นต้องอนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์แมกเกาเวินส์พาส[138] อ่างเก็บน้ำตอนบนสร้างเสร็จในปีถัดมา[139]
ในช่วงเวลานี้เซ็นทรัลพาร์กเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น[135] หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวหลักคือ "ขบวนรถม้า" การแสดงรถม้าที่ลากโดยม้าซึ่งวิ่งไปทั่วสวนทุกวัน[135][140][141] จำนวนผู้ใช้สวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใน ค.ศ. 1867 เซ็นทรัลพาร์กต้อนรับผู้เดินเท้าเกือบสามล้านคน ม้า 85,000 ตัว และพาหนะ 1.38 ล้านคันต่อปี[135] สวนมีกิจกรรมสำหรับชาวนิวยอร์กทุกชนชั้นทางสังคม ขณะที่ผู้มีฐานะร่ำรวยสามารถขี่ม้าบนเส้นทางขี่ม้าหรือเดินทางด้วยรถม้า เกือบทุกคนสามารถเข้าร่วมกีฬาต่าง ๆ เช่น เล่นสเกตน้ำแข็งหรือพายเรือ หรือฟังคอนเสิร์ตที่เวทีวงดนตรีมอลล์ได้[142]
ออล์มสเตดและวอกซ์ได้รับการว่าจ้างกลับมาทำงานอีกครั้งในช่วงกลาง ค.ศ. 1865[143] มีการสร้างสิ่งก่อสร้างหลายแห่ง รวมถึงเขตเด็กเล่น บ้านนักเบสบอล และเดอะแดรีในส่วนใต้ของเซ็นทรัลพาร์ก การก่อสร้างเริ่มขึ้นสำหรับปราสาทเบลเวเดียร์ ฮาร์เล็มเมียร์ และสิ่งก่อสร้างบนสระน้ำคอนเซอร์เวทอรีและทะเลสาบ[136][144]
ค.ศ. 1870–1876: เสร็จสมบูรณ์
แก้แทมมานีฮอล กลุ่มการเมืองที่มีอำนาจมากที่สุดในนิวยอร์กในเวลานั้น เข้าควบคุมเซ็นทรัลพาร์กในช่วงเวลาสั้น ๆ ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 1870[145] กฎบัตรใหม่ที่สร้างโดยวิลเลียม เอ็ม. ทวีด หัวหน้าแทมมานี ยกเลิกคณะกรรมการชุดเก่าที่มีสมาชิก 11 คนและแทนที่ด้วยคณะกรรมการชุดใหม่ที่มีสมาชิก 5 คน ประกอบด้วยกรีนและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแทมมานีอีก 4 คน[145][146] ต่อมา ออล์มสเตดและวอกซ์ลาออกจากโครงการอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1870[145] หลังการยักยอกเงินของทวีดถูกเปิดโปงใน ค.ศ. 1871 ที่นำไปสู่การจำคุกของเขา ออล์มสเตดและวอกซ์ได้รับการว่าจ้างกลับมาอีกครั้ง และคณะกรรมการเซ็นทรัลพาร์กได้แต่งตั้งสมาชิกใหม่ซึ่งส่วนใหญ่สนับสนุนออล์มสเตด[147]
พื้นที่ส่วนหนึ่งที่ยังคงค่อนข้างไม่ได้รับการพัฒนาคือด้านตะวันตกที่ยังไม่เจริญของเซ็นทรัลพาร์ก แม้จะมีการสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่บางแห่งในพื้นที่ว่างที่เหลือของสวนก็ตาม[148] ภายใน ค.ศ. 1872 พื้นที่แมนแฮตตันสแควร์ได้รับการสงวนไว้สำหรับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน ซึ่งก่อตั้งขึ้นสามปีก่อนหน้านั้นที่อาคารอาร์เซนอล พื้นที่ที่สอดคล้องกันทางฝั่งตะวันออกซึ่งเดิมทีตั้งใจให้เป็นสนามเด็กเล่น ต่อมากลายเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน[148][149] ในช่วงปีสุดท้ายของการก่อสร้างเซ็นทรัลพาร์ก วอกซ์และโมลด์ออกแบบโครงสร้างหลายแห่งสำหรับเซ็นทรัลพาร์ก คอกแกะของสวน (ปัจจุบันคือทาเวิร์นออนเดอะกรีน) และทุ่งหญ้าสำหรับสุภาพสตรีได้รับการออกแบบโดยโมลด์ใน ค.ศ. 1870–1871 ตามมาด้วยสำนักงานบริหารบนถนนที่ 86 ตัดขวางใน ค.ศ. 1872[150] แม้ความร่วมมือระหว่างออล์มสเตดและวอกซ์จะสิ้นสุดลงในปลาย ค.ศ. 1872[151] แต่สวนก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์อย่างเป็นทางการกระทั่ง ค.ศ. 1876[152]
ปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20
แก้ในทศวรรษ 1870 ผู้มาใช้สวนเริ่มมีชนชั้นกลางและชนชั้นแรงงานเพิ่มมากขึ้น และกฎระเบียบที่เข้มงวดต่าง ๆ ก็ค่อย ๆ ผ่อนปรนลง เช่น กฎที่ห้ามการชุมนุมสาธารณะ[153] เนื่องจากจำนวนผู้เยี่ยมชมที่เพิ่มขึ้น การละเลยของฝ่ายบริหารแทมมานี และการตัดงบประมาณที่เรียกร้องโดยผู้เสียภาษี ค่าบำรุงรักษาเซ็นทรัลพาร์กจึงลดลงต่ำสุดใน ค.ศ. 1879[107][154] ออล์มสเตดกล่าวโทษนักการเมือง เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ และคนงานในสวนสำหรับการเสื่อมโทรมของเซ็นทรัลพาร์ก แม้ค่าบำรุงรักษาสูงก็เป็นปัจจัยหนึ่งด้วยเช่นกัน[155] ภายในทศวรรษ 1890 สวนต้องเผชิญความท้าทายหลายประการ รถยนต์เริ่มแพร่หลาย และด้วยการเพิ่มขึ้นของสถานที่บันเทิงและร้านขายอาหารเครื่องดื่ม ผู้คนเริ่มมองสวนเป็นเพียงที่พักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น[156][157] การเปิดให้บริการรถไฟใต้ดินนครนิวยอร์กใน ค.ศ. 1904 ทำให้เซ็นทรัลพาร์กสูญเสียตำแหน่งแหล่งพักผ่อนหย่อนใจหลักของเมือง เนื่องจากชาวนิวยอร์กสามารถเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่ไกลกว่า เช่น หาดโคนีย์ไอแลนด์หรือโรงละครบรอดเวย์ได้ด้วยค่าโดยสารห้าเซ็นต์[158]
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซามูเอล พาร์สันส์ ภูมิสถาปนิกได้รับตำแหน่งนวกรรมิกสวนของนครนิวยอร์ก พาร์สันส์ ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นลูกศิษย์ของแคลเวิร์ต วอกซ์[159] ช่วยฟื้นฟูเรือนเพาะชำของเซ็นทรัลพาร์กใน ค.ศ. 1886[160] พาร์สันส์ทำตามวิสัยทัศน์ดั้งเดิมของออล์มสเตดสำหรับสวนอย่างใกล้ชิด โดยฟื้นฟูต้นไม้ของเซ็นทรัลพาร์กและขณะเดียวกันก็ขัดขวางการตั้งรูปปั้นขนาดใหญ่หลายรูปในสวน[161] ภายใต้การนำของพาร์สันส์ วงเวียนสองแห่ง (ปัจจุบันคือวงเวียนดุก เอลลิงตันและวงเวียนเฟรเดอริก ดักลาส) ถูกสร้างขึ้นที่มุมทางเหนือของสวน[162][163] เขาถูกปลดในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1911 หลังข้อพิพาทที่ยืดเยื้อเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนดินในสวนซึ่งถูกมองว่าไม่จำเป็น[161][164] นายกเทศมนตรีพรรคเดโมแครตที่มาจากกลุ่มแทมมานีฮอลหลายต่อหลายคนละเลยเซ็นทรัลพาร์ก[165]
กลุ่มสนับสนุนสวนสาธารณะหลายกลุ่มถูกก่อตั้งขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของสวนไว้ สมาคมอุทยานและสนามเด็กเล่นประจำเมืองและกลุ่มประชาสังคมเซ็นทรัลพาร์กหลายกลุ่มที่ดำเนินการภายใต้สมาคมอนุรักษ์สวน จึงถูกก่อตั้งขึ้นในทศวรรษ 1900 และ 1910[166] สมาคมเหล่านี้สนับสนุนการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสวน เช่น การก่อสร้างห้องสมุด[167] สนามกีฬา[168] ศูนย์วัฒนธรรม [169] และลานจอดรถใต้ดิน[170] กลุ่มที่สามคือสมาคมเซ็นทรัลพาร์ก ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1926[166] สมาคมเซ็นทรัลพาร์กและสมาคมอุทยานและสนามเด็กเล่นรวมกันเป็นสมาคมอุทยานนครนิวยอร์กในอีกสองปีต่อมา[171]
สนามเด็กเล่นเฮกเชอร์ ซึ่งตั้งชื่อตามผู้ใจบุญออกัสต์ เฮกเชอร์ ผู้บริจาคอุปกรณ์สนามเด็กเล่น เปิดให้บริการใกล้ปลายด้านใต้ของสวนใน ค.ศ. 1926[172][173] และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในหมู่ครอบครัวผู้อพยพยากจน[173] ปีถัดมา นายกเทศมนตรีจิมมี วอล์กเกอร์ว่าจ้างแฮร์มันน์ ดับเบิลยู. เมอร์เคิล นักออกแบบภูมิทัศน์ให้จัดทำแผนเพื่อปรับปรุงเซ็นทรัลพาร์ก[165] แผนของเมอร์เคิลจะต่อสู้กับการก่อกวนทำลายทรัพย์สินและการทำลายต้นไม้ ฟื้นฟูทางเดิน และเพิ่มสนามเด็กเล่นใหม่แปดแห่ง โดยมีค่าใช้จ่าย 1 ล้านดอลลาร์[174][175] ท่อชลประทานใต้ดิน หนึ่งในการปรับปรุงที่ถูกเสนอ ถูกติดตั้งในเวลาไม่นานหลังรายงานของเมอร์เคิลถูกส่งมอบ[165][176] การปรับปรุงอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในรายงาน เช่น รั้วเพื่อลดการทำลายพืช ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่[177]
ทศวรรษ 1930 ถึง 1950
แก้ใน ค.ศ. 1934 ฟีออเรลโล ลา กวาร์เดีย ผู้สมัครจากพรรคริพับลิกันได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก เขารวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสวนทั้งห้าที่มีอยู่ในขณะนั้นให้เป็นหน่วยงานเดียว รอเบิร์ต โมเสส ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ให้เป็นกรรมการอุทยานของเมือง ได้รับมอบหมายให้ทำความสะอาดสวน และเขาไล่พนักงานจำนวนมากจากสมัยแทมมานีออกทันที[178] ในเวลานั้น สนามหญ้าเต็มไปด้วยวัชพืชและหย่อมฝุ่น ขณะที่ต้นไม้จำนวนมากกำลังจะตายหรือตายไปแล้ว อนุสรณ์สถานถูกทำลาย อุปกรณ์และทางเดินถูกทำให้เสียหาย และงานเหล็กเป็นสนิม[178][179] รอเบิร์ต คาโร นักเขียนชีวประวัติของโมเสส กล่าวในภายหลังว่า "ครั้งหนึ่งเดอะมอลล์ที่เคยสวยงาม ดูเหมือนฉากงานปาร์ตี้สุดเหวี่ยงในเช้าวันรุ่งขึ้น ม้านั่งนอนหงาย ขาของพวกมันชี้ฟ้า..."[179]
ในช่วงปีถัดมา กรมอุทยานของเมืองทำการปลูกหญ้าและดอกไม้ใหม่ เปลี่ยนต้นไม้และพุ่มไม้ที่ตายแล้วทดแทน พ่นทรายกำแพง ซ่อมถนนและสะพาน และบูรณะรูปปั้นต่าง[180][181][182] สวนสัตว์เก่าในสวนถูกปรับเปลี่ยนเป็นสวนสัตว์เซ็นทรัลพาร์กสมัยใหม่ และมีการเริ่มโครงการกำจัดหนูภายในสวนสัตว์[181] การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกอย่างคือการที่โมเสสสั่งรื้อชุมชนแออัด "ฮูเวอร์วัลเลย์" ที่ปลายด้านเหนือของสระเต่า ซึ่งกลายมาเป็นสนามหญ้าขนาดใหญ่ 30 เอเคอร์ (12 เฮกตาร์)[180][182] ส่วนตะวันตกของสระบริเวณมุมตะวันออกเฉียงใต้ของสวนกลายเป็นลานสเกตน้ำแข็งวอลแมน[181] ถนนได้รับการปรับปรุงหรือขยาย[183] และมีการเพิ่มสนามเด็กเล่นอีก 21 แห่ง[182] โครงการเหล่านี้ใช้เงินทุนจากโครงการนโยบายสัญญาใหม่และเงินบริจาคจากสาธารณชน[182] โมเสสย้ายฝูงแกะออกจากทุ่งหญ้าแกะเพื่อเปิดทางให้ร้านอาหารทาเวิร์นออนเดอะกรีน[183][184]
การปรับปรุงในช่วงทศวรรษ 1940 และ 1950 รวมถึงการบูรณะฮาร์เล็มเมียร์ที่เสร็จสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1943[185] โรงเก็บเรือพายแห่งใหม่ที่สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1954[186][187][188] โมเสสเริ่มการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจอื่น ๆ อีกหลายอย่างในเซ็นทรัลพาร์ก เช่น สนามเด็กเล่นและสนามบอล[189] หนึ่งในโครงการที่มีข้อโต้แย้งมากที่สุดที่ถูกเสนอขึ้นในช่วงเวลานั้นคือข้อพิพาทใน ค.ศ. 1956 เกี่ยวกับลานจอดรถสำหรับทาเวิร์นออนเดอะกรีน ข้อโต้แย้งนั้นทำให้โมเสส นักวางผังเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องการไล่ที่ครอบครัวเพื่อโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ ทั่วเมือง ต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มคุณแม่ที่มาใช้พื้นที่ป่าที่เป็นแอ่งในบริเวณที่จะสร้างลานจอดรถ[189][190] แม้กลุ่มนั้นจะคัดค้าน แต่โมเสสก็อนุมัติให้ทำลายส่วนหนึ่งของแอ่งนั้น งานรื้อถอนเริ่มขึ้นหลังเซ็นทรัลพาร์กปิดในเวลากลางคืนและหยุดชะงักลงหลังมีการขู่ว่าจะฟ้องร้องดำเนินคดี[189][191]
ทศวรรษ 1960 ถึง 1970
แก้โมเสสออกจากตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1960 หลังจากนั้น ไม่มีกรรมการอุทยานคนใดสามารถใช้อำนาจได้ในระดับเดียวกัน และกรมอุทยานนครนิวยอร์กก็ไม่ได้อยู่ในสถานะมั่นคงเช่นเดิมหลังการออกไปของเขา ในช่วง 20 ปีหลังจากการออกไปของเขามีกรรมการแปดคนดำรงตำแหน่ง[192] เมืองนี้ประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีผู้อยู่อาศัยบางส่วนย้ายไปยังชานเมือง[193][194] ความสนใจในภูมิทัศน์ของเซ็นทรัลพาร์กได้ลดลงไปนานแล้ว และปัจจุบันส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ[195] ในทศวรรษนั้น มีการเสนอส่วนต่อเติมที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงหลายอย่างสำหรับเซ็นทรัลพาร์ก เช่น โครงการที่อยู่อาศัยสาธารณะ[196] สนามกอล์ฟ[197] และ "งานแสดงสินค้าระดับโลกแบบหมุนเวียน"[198]
ทศวรรษ 1960 เป็นจุดเริ่มต้นของ "ยุคแห่งกิจกรรม" ในเซ็นทรัลพาร์กที่สะท้อนถึงกระแสวัฒนธรรมและการเมืองที่แพร่หลายในสมัยนั้น[199] เทศกาลเชกสเปียร์ในสวนประจำปีของเดอะพับลิกเทียเตอร์จัดขึ้นที่โรงละครเดลาคอร์ต[200] และการแสดงในช่วงฤดูร้อนก็ถูกจัดขึ้นบนทุ่งหญ้าแกะและสนามหญ้าใหญ่โดยวงดุริยางค์ฟิลฮาร์โมนิกนิวยอร์กและเมโทรโพลิทันโอเปรา[201] ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 สวนแห่งนี้กลายเป็นสถานที่จัดชุมนุมและกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่น "เลิฟ-อินส์" และ "บี-อินส์" ของสมัยนั้น[202] ปีเดียวกันนั้น ลานสเกตน้ำแข็งลาสเกอร์ก็เปิดทำการในส่วนเหนือของสวน สถานที่แห่งนี้ใช้เป็นลานสเกตน้ำแข็งในฤดูหนาวและเป็นสระว่ายน้ำแห่งเดียวของเซ็นทรัลพาร์กในฤดูร้อน[203]
ในช่วงกลางทศวรรษ 1970 การละเลยการจัดการส่งผลให้สภาพของสวนเสื่อมโทรมลง รายงานปี 1973 ระบุว่าสวนประสบปัญหาการพังทลายของดินและต้นไม้ผุพัง และโครงสร้างแต่ละแห่งถูกทำลายหรือถูกละเลย[204] กองทุนชุมชนเซ็นทรัลพาร์กถูกก่อตั้งขึ้นในภายหลังโดยอิงตามคำแนะนำจากรายงานของศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย[205] จากนั้นกองทุนได้ว่าจ้างให้มีการศึกษาการจัดการสวนและเสนอให้แต่งตั้งทั้งผู้บริหารจากกรมอุทยานนครนิวยอร์กและคณะกรรมการพลเมือง[206] ใน ค.ศ. 1979 กอร์ดอน เดวิส กรรมการอุทยานก่อตั้งสำนักงานบริหารเซ็นทรัลพาร์กและแต่งตั้งเอลิซาเบธ บาร์โลว์ ผู้อำนวยการบริหารของหน่วยเฉพาะกิจเซ็นทรัลพาร์กให้ดำรงตำแหน่งนั้น[207][208] องค์การอนุรักษ์เซ็นทรัลพาร์ก องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่มีคณะกรรมการพลเมือง ก่อตั้งขึ้นในปีถัดมา[25][26]
ทศวรรษ 1970 ถึง 2000
แก้ภายใต้การนำขององค์การอนุรักษ์เซ็นทรัลพาร์ก การฟื้นฟูสวนเริ่มต้นขึ้นโดยการจัดการกับความต้องการที่ไม่สามารถตอบสนองได้ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ของกรมอุทยานนครนิวยอร์ก องค์การอนุรักษ์ฯ ว่าจ้างนักศึกษาฝึกงานและเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูจำนวนเล็กน้อยเพื่อสร้างและซ่อมแซมลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์แบบชนบท ดำเนินโครงการด้านพืชสวน และลบรอยขีดเขียนภายใต้ทฤษฎีหน้าต่างแตกซึ่งสนับสนุนการกำจัดสัญญาณความเสื่อมโทรมที่มองเห็นได้[209] โครงสร้างแรกที่ได้รับการปรับปรุงคือเดอะแดรี ซึ่งเปิดให้บริการอีกครั้งในฐานะศูนย์บริการนักท่องเที่ยวแห่งแรกของสวนใน ค.ศ. 1979[210] ทุ่งหญ้าแกะ ซึ่งเปิดให้เข้าชมใหม่อีกครั้งในปีถัดมา เป็นพื้นที่ภูมิทัศน์แห่งแรกที่ได้รับการบูรณะ[211] เบเธสดาเทอร์เรซและน้ำพุ อนุสรณ์สถานแห่งชาติยูเอสเอส เมน และสะพานโบว์ได้รับการบูรณะเช่นกัน[212][213][214] ในเวลานั้น องค์การอนุรักษ์ฯ กำลังดำเนินการด้านการออกแบบและการวางแผนบูรณะระยะยาว[215] และใน ค.ศ. 1981 เดวิสและบาร์โลว์ประกาศ "แผนจัดการและบูรณะเซ็นทรัลพาร์ก" ระยะเวลา 10 ปี มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์[214] ปราสาทเบลเวเดียร์ที่ปิดทำการไปนานได้รับการปรับปรุงใหม่และเปิดให้เข้าชมอีกครั้งใน ค.ศ. 1983[216][217] ขณะที่สวนสัตว์เซ็นทรัลพาร์กปิดทำการเพื่อการสร้างใหม่ทั้งหมดในปีเดียวกันนั้น[208][215] เพื่อลดภาระการบำรุงรักษา การจัดงานชุมนุมขนาดใหญ่ เช่น คอนเสิร์ตฟรีจึงถูกยกเลิก[218]
เมื่อขั้นตอนการวางแผนเสร็จสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1985 องค์การอนุรักษ์ฯ ได้เริ่มแคมเปญแรก[194] และวางแผนการบูรณะ 15 ปี[219] ในช่วงหลายปีต่อจากนี้ แคมเปญดังกล่าวทำการบูรณะสถานที่สำคัญในส่วนใต้ของสวน เช่น แกรนด์อาร์มีพลาซา[220] และสถานีตำรวจที่ถนนที่ 86 ตัดขวาง[221] ขณะเดียวกันสวนคอนเซอร์เวทอรีที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของสวนก็ได้รับการบูรณะตามการออกแบบของลินเดน บี. มิลเลอร์[222][223][224] ดอนัลด์ ทรัมป์ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทำการปรับปรุงลานสเกตน้ำแข็งวอลแมนใน ค.ศ. 1987 หลังแผนการปรับปรุงถูกเลื่อนออกไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า[225] ปีถัดมา สวนสัตว์เปิดทำการอีกครั้งหลังการปรับปรุงมูลค่า 35 ล้านดอลลาร์ซึ่งใช้เวลาสี่ปี[226]
งานในส่วนปลายเหนือของสวนเริ่มต้นใน ค.ศ. 1989[227] แคมเปญระดมทุน 51 ล้านดอลลาร์ซึ่งประกาศใน ค.ศ. 1993[228] ส่งผลให้มีการบูรณะเส้นทางรถม้า[229] เดอะมอลล์[230] ฮาร์เล็มเมียร์[231] และนอร์ทวูดส์[227] รวมถึงการก่อสร้างศูนย์เดนาดิสคัฟเวอรีบนฮาร์เล็มเมียร์[231] หลังจากนั้น องค์การอนุรักษ์ทำการปรับปรุงพื้นที่ 55 เอเคอร์ (22 เฮกตาร์) ใกล้สนามหญ้าใหญ่และสระเต่า ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1997[232] อ่างเก็บน้ำตอนบนถูกปลดระวางจากการเป็นส่วนหนึ่งของระบบประปาของเมืองใน ค.ศ. 1993[233][234] และได้รับการตั้งชื่อใหม่ตามแจ็กเกอลีน เคนเนดี โอนาสซิส อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐในปีถัดมา[233][235] ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 องค์การอนุรักษ์ฯ ว่าจ้างอาสาสมัครเพิ่มเติมและนำระบบจัดการแบบแบ่งเขตมาใช้ทั่วทั้งสวน[194] องค์การอนุรักษ์ฯ เข้ามารับช่วงการดำเนินงานส่วนใหญ่ของสวนในช่วงต้น ค.ศ. 1998[27]
การปรับปรุงยังคงดำเนินต่อไปตลอดทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 และโครงการบูรณะสระน้ำได้เริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 2000[236] สี่ปีต่อมา องค์การอนุรักษ์ฯ ทำการเปลี่ยนรั้วตาข่ายด้วยรั้วเหล็กหล่อจำลองของรั้วเดิมที่ล้อมรอบอ่างเก็บน้ำตอนบน[237] เริ่มทำการปรับปรุงแผ่นกระเบื้องเพดานของเบเทสดาอาร์เคด[238] ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ใน ค.ศ. 2007[239] หลังจากนั้นไม่นาน องค์การอนุรักษ์เซ็นทรัลพาร์กก็เริ่มทำการบูรณะเดอะแรมเบิลและทะเลสาบ[240] ในโครงการที่เสร็จสมบูรณ์ใน ค.ศ. 2012[241] สะพานแบงก์ร็อกได้รับการบูรณะ[242][243] และลำธารเดอะกิลล์ซึ่งไหลลงสู่ทะเลสาบ ถูกสร้างขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงกับรูปแบบดั้งเดิมที่น่าทึ่งของมัน[244] สิ่งสุดท้ายที่ได้รับการบูรณะคือทุ่งหญ้าตะวันออก ซึ่งได้รับการฟื้นฟูใน ค.ศ. 2011[245]
ทศวรรษ 2010 ถึงปัจจุบัน
แก้ใน ค.ศ. 2014 สภานครนิวยอร์กเสนอให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการห้ามรถยนต์สัญจรบนถนนภายในสวน[246] ปีถัดมา นายกเทศมนตรีบิล เดอ บลาซิโอ ประกาศว่าถนนเวสต์และอีสต์ไดรฟ์ทางเหนือของถนนที่ 72 จะถูกปิดไม่ให้รถยนต์สัญจร เนื่องจากข้อมูลของเมืองแสดงให้เห็นว่าการปิดถนนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการจราจรในทางลบ[247] ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018 ถนนส่วนที่เหลือทางใต้ของถนนที่ 72 ถูกปิดไม่ให้รถยนต์สัญจร[248][249] โครงสร้างหลายแห่งได้รับการบูรณะในช่วงทศวรรษ 2010 ปราสาทเบลเวเดียร์ถูกปิดใน ค.ศ. 2018 เพื่อทำการปรับปรุงครั้งใหญ่ และเปิดทำการอีกครั้งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019[250][251][252] ในช่วงปลาย ค.ศ. 2018 มีการประกาศว่าโรงละครเดลาคอร์ตจะถูกปิดทำการตั้งแต่ ค.ศ. 2020 ถึง 2022 เพื่อทำการปรับปรุงใหม่ด้วยงบประมาณ 110 ล้านดอลลาร์[253] องค์การอนุรักษ์เซ็นทรัลพาร์กได้ประกาศเพิ่มเติมว่าลานสเกตน้ำแข็งลาสเกอร์จะถูกปิดเพื่อทำการปรับปรุงใหม่ด้วยงบประมาณ 150 ล้านดอลลาร์[254] การรื้อถอนลานสเกตเดิมเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 2021[255]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 เพื่อตอบสนองต่อการระบาดของไวรัสโคโรนา โรงพยาบาลสนามชั่วคราวถูกจัดตั้งขึ้นภายในสวนเพื่อรักษาผู้ป่วยล้นเกินจากโรงพยาบาลในพื้นที่[256][257] กลาง ค.ศ. 2023 รัฐบาลนครนิวยอร์กพิจารณาการสร้างเต็นท์ในเซ็นทรัลพาร์กเพื่อเป็นที่พักชั่วคราวสำหรับผู้ขอลี้ภัย การเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังรัฐบาลกลางยกเลิกคำสั่งที่อนุญาตให้มีการขับไล่ผู้อพยพตามมาตรา 42 ซึ่งถูกนำมาใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19[258][259] การปรับปรุงอาคารเรือนหมากรุกและหมากฮอสเสร็จสมบูรณ์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023[260] และการปรับปรุงโรงละครเดลาคอร์ตเริ่มขึ้นในภายหลังของปีนั้น[261] นอกจากนี้ สนามพิกเคิลบอลถูกเพิ่มเข้าไปในลานสเกตน้ำแข็งวอลแมนใน ค.ศ. 2023 และกลายเป็นถาวรในปีถัดมา[262][263] องค์การอนุรักษ์เซ็นทรัลพาร์กจัดสรรเงิน 64 ล้านดอลลาร์ในช่วงต้น ค.ศ. 2024 เพื่อซ่อมแซมทางเท้าบน 108 ช่วงตึกที่อยู่รอบสวนโดยตรง[264] ต่อมาในปีนั้น องค์การอนุรักษ์ฯ ประกาศแผนการปรับปรุงถนนในสวนใหม่ เพื่อจัดทำช่องทางจักรยานและทางเดินเท้าที่มีความกว้างสม่ำเสมอ[265][266] รายงานขององค์การอนุรักษ์ฯ ยังแนะนำให้สร้างช่องจักรยานบนถนนที่ 86 ตัดขวาง รวมถึงการถอดไฟจราจรออกจากสวน ซึ่งแทบไม่มีประโยชน์เนื่องจากปริมาณรถยนต์น้อย[266]
ภูมิประเทศ
แก้สัตว์ป่า
แก้สถานที่สำคัญและสิ่งก่อสร้าง
แก้กิจกรรม
แก้การคมนาคม
แก้ปัญหา
แก้ผลกระทบ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Cultural Resource Information System (CRIS)". สำนักงานสวนสาธารณะ นันทนาการ และการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์รัฐนิวยอร์ก. November 7, 2014. สืบค้นเมื่อ July 20, 2023.
- ↑ Landmarks Preservation Commission 1974, p. 1 (PDF p. 2).
- ↑ "National Register Information System". National Register of Historic Places. National Park Service. January 23, 2007.
- ↑ 4.0 4.1 "Central Park Running Map" (PDF). Central Park Conservancy. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ November 23, 2018. สืบค้นเมื่อ April 1, 2019.
- ↑ "Central Park Map" (PDF). Central Park Conservancy. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 5, 2019. สืบค้นเมื่อ April 1, 2019.
- ↑ "Central Park Conservancy—Official Central Park Tours". NYC The Official Guide. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2019. สืบค้นเมื่อ April 23, 2019.
- ↑ "Visitor Centers". Central Park Conservancy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 3, 2019. สืบค้นเมื่อ April 23, 2019.
- ↑ Waxman, Sarah. "History of Central Park, New York". ny.com. สืบค้นเมื่อ October 28, 2023.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Kinkead 1990, pp. 57–58.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Rosenzweig & Blackmar 1992, p. 150.
- ↑ Kinkead 1990, p. 35.
- ↑ "Central Park Playgrounds". New York City Department of Parks and Recreation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2019. สืบค้นเมื่อ April 13, 2019.
- ↑ "Running". Central Park Conservancy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2019. สืบค้นเมื่อ April 13, 2019.
- ↑ Foderaro, Lisa W (May 31, 2013). "Surveying Effort Alters Sizes of Some New York Parks". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2018. สืบค้นเมื่อ June 7, 2018.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 "About Us". Central Park Conservancy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2014. สืบค้นเมื่อ March 25, 2014.
- ↑ "Frequently Asked Questions". New York City Department of Parks and Recreation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 20, 2017. สืบค้นเมื่อ February 1, 2017.
- ↑ "Census Tract 143, New York, NY". U.S. Census Bureau. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 19, 2018. สืบค้นเมื่อ July 11, 2006.
- ↑ Feuer, Alan (March 25, 2011). "Census Apparently Did Check Behind Every Tree". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2018. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
- ↑ "America's Most Visited City Parks" (PDF). The Trust for Public Land. June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 25, 2006. สืบค้นเมื่อ July 11, 2006.
- ↑ "The World's Most-visited Tourist Attractions". Travel + Leisure. November 10, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2019. สืบค้นเมื่อ May 18, 2019.
- ↑ Van Buren, Alex (January 27, 2016). "12 Secrets of New York's Central Park". Smithsonian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2019. สืบค้นเมื่อ May 18, 2019.
- ↑ 22.0 22.1 Central Park Conservancy 2011, p. 9.
- ↑ 23.0 23.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCrain's New York Business 2009
- ↑ Central Park Conservancy 2011, p. 12.
- ↑ 25.0 25.1 Glueck, Grace (December 14, 1980). "Mayor Koch Sets Up Conservancy for Central Park". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ 26.0 26.1 "Central Park gets its own fund-raisers". New York Daily News. December 18, 1980. p. 181. สืบค้นเมื่อ March 30, 2019 – โดยทาง newspapers.com.
- ↑ 27.0 27.1 Martin, Douglas (February 12, 1998). "Private Group Signs Central Park Deal To Be Its Manager". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ "The Central Park Effect: Assessing the Value of Central Park's Contribution to New York City's Economy" (PDF). Central Park Conservancy. November 2015. pp. 45–46. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2019. สืบค้นเมื่อ April 16, 2019.
- ↑ Gorce, Tammy La (March 17, 2017). "New York Has 77 Police Precincts. Why Do Their Numbers Go Higher?". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 4, 2019. สืบค้นเมื่อ September 4, 2019.
- ↑ "NYPD – Central Park Precinct". New York City Police Department. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2017. สืบค้นเมื่อ October 3, 2016.
- ↑ "22nd Precinct CompStat Report" (PDF). New York City Police Department. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2018. สืบค้นเมื่อ July 22, 2018.
- ↑ Croft, Geoffrey (September 2, 2009). "City must PEP up and hire more park patrol officers". New York Daily News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2019. สืบค้นเมื่อ April 16, 2019.
- ↑ Santora, Marc (August 20, 2005). "Cruising the Park, Finding Trouble". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2019. สืบค้นเมื่อ April 16, 2019.
- ↑ 34.0 34.1 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 23, 25.
- ↑ Heckscher 2008, p. 9.
- ↑ Todd 1982, p. 73.
- ↑ "Unearthing the City Grid That Would Have Been in Central Park". The New Yorker. January 8, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 6, 2019. สืบค้นเมื่อ March 28, 2019.
- ↑ 38.0 38.1 Reynolds 1994, pp. 320–321.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 18–19.
- ↑ Heckscher 2008, pp. 11–12.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 15, 29–30.
- ↑ New York State Assembly (1911). Documents of the Assembly of the State of New York. Vol. 29. pp. 451–453. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2019.
- ↑ Taylor 2009, p. 258.
- ↑ Berman 2003, p. 17.
- ↑ 45.0 45.1 45.2 Rosenzweig & Blackmar 1992, p. 45.
- ↑ Taylor 2009, p. 259.
- ↑ 47.0 47.1 Heckscher 2008, pp. 12, 14.
- ↑ Kinkead 1990, p. 16.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 51–53.
- ↑ 50.0 50.1 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 81–83.
- ↑ 51.0 51.1 Heckscher 2008, p. 17.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 55–56.
- ↑ Taylor 2009, pp. 261–262.
- ↑ Williams, Keith (February 7, 2018). "Uncovering the Ruins of an Early Black Settlement in New York". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 31, 2019. สืบค้นเมื่อ March 31, 2019.
- ↑ Blakinger, Keri (May 17, 2016). "A look at Seneca Village, the early black settlement obliterated by the creation of Central Park". New York Daily News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 18, 2016. สืบค้นเมื่อ March 31, 2019.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 73–74.
- ↑ Rines, George Edwin; Beach, Frederick Converse, บ.ก. (1903). "Central City – Central Park". The Encyclopedia Americana. Vol. 4. The Americana Company.
- ↑ 58.0 58.1 Martin, Douglas (January 31, 1997). "A Village Dies, A Park Is Born". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 26, 2017. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 89–90.
- ↑ "The Central Park—The Assessment Completed". The New York Times. October 4, 1855. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2019. สืบค้นเมื่อ April 1, 2019.
- ↑ "Seneca Village". Columbia University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 22, 2019. สืบค้นเมื่อ September 17, 2019.
- ↑ Berman 2003, p. 19.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 46–47.
- ↑ Kinkead 1990, p. 17.
- ↑ Reed, Henry Hope; McGee, Robert M.; Mipaas, Esther (1990). Bridges of Central Park. Greensward Foundation. ISBN 978-0-93131-106-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 13, 2017. สืบค้นเมื่อ May 9, 2020.
- ↑ "Treaty with Russia for the Purchase of Alaska". Library of Congress. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2015. สืบค้นเมื่อ August 30, 2015.
- ↑ 67.0 67.1 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 96–97.
- ↑ Kinkead 1990, p. 18.
- ↑ Berman 2003, p. 21.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 100–101.
- ↑ "General Egbert E. Viele". Brooklyn Daily Eagle. April 23, 1902. p. 3. สืบค้นเมื่อ March 30, 2019 – โดยทาง Brooklyn Public Library; newspapers.com.
- ↑ Berman 2003, p. 20.
- ↑ New York City Department of Parks and Recreation 1858, PDF pp. 8–12.
- ↑ 74.0 74.1 74.2 "Sixteenth Annual Report, 1911, of the American Scenic and Historic Preservation Society". First-thirtieth Annual Report ... 1896–1925 to the Legislature of the State of New York. American Scenic and Historic Preservation Society. 1911. p. 474.
- ↑ "The Central Park; Report of the Commissioners of the Central Park in Reply to the Inquiries of the State Senate". The New York Times. March 13, 1860. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2019. สืบค้นเมื่อ April 4, 2019.
- ↑ Heckscher 2008, p. 18.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 102–103.
- ↑ 78.0 78.1 Heckscher 2008, p. 20.
- ↑ Kinkead 1990, pp. 24–25.
- ↑ 80.0 80.1 80.2 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 111–112.
- ↑ 81.0 81.1 Heckscher 2008, p. 21.
- ↑ New York City Department of Parks and Recreation 1858, PDF pp. 29–30.
- ↑ "The Central Park Plans". The New York Times. April 30, 1858. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2019. สืบค้นเมื่อ April 1, 2019.
- ↑ 84.0 84.1 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 117–120.
- ↑ Heckscher 2008, pp. 23–24.
- ↑ "The Central Park; Exhibition of the Unsuccessful Plans for the Central Park". The New York Times. May 13, 1858. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2019. สืบค้นเมื่อ April 1, 2019.
- ↑ 87.0 87.1 Reynolds 1994, p. 321.
- ↑ 88.0 88.1 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 130–135.
- ↑ 89.0 89.1 Scobey 2002, p. 20.
- ↑ Taylor 2009, p. 266.
- ↑ Olmsted 1852, p. 83.
- ↑ "The History of Birkenhead Park". Metropolitan Borough of Wirral. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2008. สืบค้นเมื่อ March 26, 2008.
- ↑ Brocklebank 2003, pp. 32–33.
- ↑ Foderaro, Lisa W. (October 30, 2019). "The Parks That Made the Man Who Made Central Park". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ August 29, 2020.
- ↑ Taylor 2009, pp. 267–268.
- ↑ Kinkead 1990, p. 51.
- ↑ Dolkart, Andrew S. "The Architecture and Development of New York City". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2008. สืบค้นเมื่อ October 20, 2014.
- ↑ 98.0 98.1 Kinkead 1990, p. 52.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 170–172.
- ↑ 100.0 100.1 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 159–160.
- ↑ "William H. Grant, C.E". The New York Times. October 12, 1896. p. 5. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2019. สืบค้นเมื่อ March 30, 2019 – โดยทาง newspapers.com.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 163–165.
- ↑ Heckscher 2008, pp. 40–41.
- ↑ 104.0 104.1 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 166–167.
- ↑ New York City Department of Parks and Recreation 1865, pp. 20–21 (PDF pp. 19–20).
- ↑ 106.0 106.1 106.2 Taylor 2009, pp. 288–289.
- ↑ 107.0 107.1 Berman 2003, p. 41.
- ↑ "Ordinances of the Central Park". New York Herald. June 5, 1870. p. 12. สืบค้นเมื่อ March 30, 2019 – โดยทาง newspapers.com.
- ↑ Homberger 1994, pp. 88–89.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 161–162.
- ↑ 111.0 111.1 New York City Department of Parks and Recreation 1858, PDF pp. 31–35.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 173–175.
- ↑ Taylor 2009, pp. 282–283.
- ↑ 114.0 114.1 114.2 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 176–177.
- ↑ "New York City; Dr Charles Mackay, on English Songs and Song-Writers". The New York Times. December 11, 1857. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 7, 2019. สืบค้นเมื่อ April 7, 2019.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 178–179.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 151–152.
- ↑ Heckscher 2008, pp. 47–48.
- ↑ Kinkead 1990, p. 31.
- ↑ "The Central Park; Progress of the Work—Its Present Condition, and the Prospects of its being Opened to the Public". The New York Times. November 11, 1858. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2019. สืบค้นเมื่อ April 2, 2019.
- ↑ 121.0 121.1 Kinkead 1990, pp. 32–33.
- ↑ New York City Department of Parks and Recreation 1859, p. 10 (PDF p. 11).
- ↑ New York City Department of Parks and Recreation 1859, p. 23 (PDF p. 25).
- ↑ "Central Park Matters; Plan of Work for the Year". The New York Times. May 1, 1860. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2019. สืบค้นเมื่อ April 4, 2019.
- ↑ "The Central Park Investigation; Examination of Mr. Olmsted". The New York Times. June 28, 1860. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ April 9, 2019.
- ↑ 126.0 126.1 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 184–186.
- ↑ "The Central Park Investigation; Expenses and General Management". The New York Times. November 23, 1860. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ April 9, 2019.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 188–189.
- ↑ Heckscher 2008, pp. 37–38.
- ↑ 130.0 130.1 Kinkead 1990, pp. 64–65.
- ↑ 131.0 131.1 131.2 "Andrew H. Green and Central Park". The New York Times. October 10, 1897. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ April 2, 2019.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 190–192.
- ↑ Kinkead 1990, p. 69.
- ↑ 134.0 134.1 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 193–195.
- ↑ 135.0 135.1 135.2 135.3 Kinkead 1990, p. 46.
- ↑ 136.0 136.1 Heckscher 2008, pp. 58–59.
- ↑ New York City Department of Parks and Recreation 1861, p. 16 (PDF p. 19).
- ↑ New York City Department of Parks and Recreation 1864, pp. 7–8.
- ↑ Kadinsky 2016, p. 42.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, p. 222.
- ↑ Morris 1996, p. 95.
- ↑ Kinkead 1990, p. 47.
- ↑ Kinkead 1990, p. 71.
- ↑ Kinkead 1990, p. 74.
- ↑ 145.0 145.1 145.2 Kinkead 1990, p. 77.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, p. 263.
- ↑ Kinkead 1990, pp. 78–79.
- ↑ 148.0 148.1 "Central Park Improvement". The New York Times. August 25, 1872. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2019. สืบค้นเมื่อ April 9, 2019.
- ↑ Kinkead 1990, pp. 86–87.
- ↑ Heckscher 2008, p. 60.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, p. 280.
- ↑ Taylor 2009, p. 292.
- ↑ Berman 2003, p. 81.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 281–283.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 264–266.
- ↑ Kinkead 1990, pp. 84–85.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 315–317.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 386–387.
- ↑ Kinkead 1990, pp. 89–90.
- ↑ "Renewing Central Park; Detective Management of the Trees and Shrubbery to Be Remedied". The New York Times. October 10, 1886. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2019. สืบค้นเมื่อ April 9, 2019.
- ↑ 161.0 161.1 Kinkead 1990, pp. 91–93.
- ↑ "New Central Park Plaza". The New York Times. July 15, 1888. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2019. สืบค้นเมื่อ April 14, 2019.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 294–295.
- ↑ "Samuel Parsons Dismissed". Brooklyn Daily Eagle. May 12, 1911. p. 20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2019. สืบค้นเมื่อ March 30, 2019 – โดยทาง Brooklyn Public Library; newspapers.com.
- ↑ 165.0 165.1 165.2 Kinkead 1990, pp. 99–100.
- ↑ 166.0 166.1 Kinkead 1990, pp. 115–116.
- ↑ "To Oppose Library in Central Park". The New York Times. June 1, 1912. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2019. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
- ↑ "To Oppose Stadium in Central Park". The New York Times. December 16, 1919. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2019. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
- ↑ "Resist Plan to Rob Park of 41.2 Acres". The New York Times. November 28, 1923. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2019. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
- ↑ "Objects to a Park Garage". The New York Times. January 7, 1927. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2019. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
- ↑ "Park Bodies Merge In New Association To Speed City Plans". The New York Times. May 14, 1928. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2019. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
- ↑ "To Raise $3,000,000 For Central Park". The New York Times. June 22, 1926. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2019. สืบค้นเมื่อ April 22, 2019.
- ↑ 173.0 173.1 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 395–397.
- ↑ "New Central Park Outlined in Plans". New York Daily News. December 20, 1927. p. 215. สืบค้นเมื่อ March 30, 2019 – โดยทาง newspapers.com.
- ↑ Herrick 1928, p. 5 (PDF p. 6).
- ↑ "Favors Irrigation For Central Park". The New York Times. March 29, 1927. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2019. สืบค้นเมื่อ April 9, 2019.
- ↑ Kinkead 1990, pp. 101–102.
- ↑ 178.0 178.1 Kinkead 1990, pp. 103–105.
- ↑ 179.0 179.1 Caro 1974, p. 334.
- ↑ 180.0 180.1 Stern, Gilmartin & Mellins 1987, p. 710.
- ↑ 181.0 181.1 181.2 Kinkead 1990, pp. 106–109.
- ↑ 182.0 182.1 182.2 182.3 Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 450–451.
- ↑ 183.0 183.1 Caro 1974, p. 984.
- ↑ "Central Park's Sheep Join the Fold in Prospect Park". The New York Times. March 18, 1934. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2019. สืบค้นเมื่อ April 9, 2019.
- ↑ "Central Park Section Reopened to the Public". The New York Times. December 8, 1943. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2019. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
- ↑ "New $305,000 Boathouse at Central Park Lake Will Be Opened Today". The New York Times. March 12, 1954. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2019. สืบค้นเมื่อ April 16, 2019.
- ↑ "Loeb Boat House". Central Park Highlights. New York City Department of Parks and Recreation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2019. สืบค้นเมื่อ April 16, 2019.
- ↑ "Loeb Boathouse". Central Park Conservancy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2019. สืบค้นเมื่อ April 16, 2019.
- ↑ 189.0 189.1 189.2 Kinkead 1990, pp. 110–111.
- ↑ Schumach, Murray (April 25, 1956). "Parking Lot Foes Routed By Moses". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2019. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
- ↑ "Court Stops Job In Central Park". The New York Times. April 27, 1956. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 11, 2019. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
- ↑ Kinkead 1990, pp. 112–113.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, p. 476.
- ↑ 194.0 194.1 194.2 "History". Central Park Conservancy. August 18, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 10, 2014. สืบค้นเมื่อ December 20, 2012.
- ↑ Gregg, John (April 29, 1962). "Manhattan's Changing". New York Daily News. p. 52. สืบค้นเมื่อ March 30, 2019 – โดยทาง newspapers.com.
- ↑ "Housing Plan for Central Park; Scored as 'Absurd' and 'Outrage'". The New York Times. May 7, 1964. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ "Golf in Central Park Is Rejected by Morris". The New York Times. November 19, 1964. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ "A 'Revolving World's Fair' In Central Park Proposed". The New York Times. October 20, 1966. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Rogers 2018, p. 20.
- ↑ Calta, Louis (May 20, 1971). "Papp Altering Central Park Theater". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ See, for example: Strongin, Theodore (August 18, 1965). "Concert in Park Heard by 73,500". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019; Wilson, John S. (June 18, 1967). "Barbra Streisand's Free Sing-In Jams Sheep Meadow in the Park". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, p. 489.
- ↑ "Lindsay and Hoving Give New Skating Rink a Whirl". The New York Times. December 22, 1966. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ January 19, 2020.
- ↑ Hudson, Edward (June 8, 1973). "Central Park Condition Decried". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Gerston, Jill (November 20, 1974). "Central Park Called Badly Managed;". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Maitland, Leslie (November 12, 1978). "Special Management Plan Urged To Combat Central Park's Decay". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Dembart, Lee (February 28, 1979). "New Central Park Overseer". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ 208.0 208.1 Slagle, Alton (February 6, 1983). "The Greening of Central Park". New York Daily News. pp. 7, 55 – โดยทาง newspapers.com.
- ↑ Larkin, Kathy (May 6, 1983). "Pruning Central Park". New York Daily News. p. 69. สืบค้นเมื่อ March 30, 2019 – โดยทาง newspapers.com.
- ↑ "1870 Dairy In the Park Reopening". The New York Times. November 16, 1979. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ "Central Park's Sheep Meadow, Where the Grass Is Greener, Is Reopened". The New York Times. September 25, 1980. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Murphy, Jean Parker; Ottavino, Kate Burns (1986). "The Rehabilitation of Bethesda Terrace: The Terrace Bridge and Landscape, Central Park, New York". APT Bulletin. 18 (3): 24–38. doi:10.2307/1494116. JSTOR 1494116.
- ↑ Champe, Peter; Rabinowitz, Mark (1999). "Restoring the Minton Tile Ceiling, Bethesda Terrace Arcade, Central Park, New York City". APT Bulletin. 30 (2–3): 11–16. doi:10.2307/1504635. JSTOR 1504635.
- ↑ 214.0 214.1 Carmody, Deirdre (October 14, 1981). "10-Year Restoration Planned for Central Park". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ 215.0 215.1 Carmody, Deirdre (October 13, 1984). "Central Park Renews Its Details and Vistas in a Burst of Repairs". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Johnston, Laurie; Anderson, Susan Heller (September 21, 1983). "New York Day by Day; Crown for a Castle". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ La Rosa, Paul (September 22, 1983). "Thanks for the facelift". New York Daily News. p. 158. สืบค้นเมื่อ March 30, 2019 – โดยทาง newspapers.com.
- ↑ Rosenzweig & Blackmar 1992, pp. 518–519.
- ↑ Carmody, Deirdre (April 28, 1985). "The City Unveils a Blueprint for Renovating Central Park". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Goldberger, Paul (June 28, 1990). "Review/Architecture; A Restored Grand Army Plaza, With a New Coat for the General". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 21, 2014. สืบค้นเมื่อ April 14, 2010.
- ↑ Gray, Christopher (September 4, 1988). "Streetscapes: The Central Park Stable; For a Police Station, Restoration of an 1870 Jewel". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Kaufman, Joanne (October 20, 2009). "She Creates Urban Edens". Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2020. สืบค้นเมื่อ January 16, 2020.
- ↑ Lyall, Sarah (June 11, 1987). "Garden in Central Park Is Reborn After Neglect". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Kinkead 1990, pp. 144–145.
- ↑ Anderson, Susan Heller (October 15, 1987). "Trump to Run 2 Ice-Skating Rinks in Central Park". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Faye Kaplan, Lisa (August 18, 1988). "The Zoo Crew". White Plains Journal-News. pp. 23, 24 – โดยทาง newspapers.com.
- ↑ 227.0 227.1 Howe, Marvine (October 31, 1993). "Neighborhood Report: Central Park; A Rebirth For Upper Park". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Gray, Christopher (May 16, 1993). "Streetscapes: Central Park; Restoration Recalls the 1930s Battle of the Ballfields". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Gray, Christopher (January 2, 1994). "Streetscapes/Central Park's Bridle Paths; The Challenge of Restoring Long-Neglected Trails". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Central Park Conservancy 2014, p. 22.
- ↑ 231.0 231.1 Kennedy, Shawn G. (May 9, 1993). "A Nature Center Blooms in Central Park Woodlands". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ Martin, Douglas (October 9, 1997). "City Emerald; Great Lawn Reopens. Will Its Fans Love It to Death?". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2019. สืบค้นเมื่อ April 18, 2019.
- ↑ 233.0 233.1 Kadinsky 2016, p. 43.
- ↑ Roberts, Sam (May 6, 1993). "131-Year-Old Reservoir Is Deemed Obsolete". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2018. สืบค้นเมื่อ April 20, 2020.
- ↑ Kifner, John (July 23, 1994). "Central Park Honor for Jacqueline Onassis". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 25, 2018. สืบค้นเมื่อ April 20, 2020.
- ↑ Lee, Denny (September 3, 2000). "Neighborhood Report: Central Park; Fish Must Find New Homes As Pond Gets a Makeover". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2019. สืบค้นเมื่อ April 19, 2019.
- ↑ Gray, Christopher (June 20, 2004). "Streetscapes/The Central Park Reservoir; A Good Fence Makes The Neighbors Feel Good". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2019. สืบค้นเมื่อ April 19, 2019.
- ↑ Mooney, Jake (July 16, 2006). "Restoring Vaux's Vision, One Tile at a Time". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2019. สืบค้นเมื่อ April 19, 2019.
- ↑ "Central Park's Bethesda Terrace Arcade Reopens". New York City Department of Parks and Recreation. March 2, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2013. สืบค้นเมื่อ April 19, 2019.
- ↑ Dunlap, David W. (July 18, 2008). "Behind the Dam, One Fierce Holdout". City Room. The New York Times Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2019. สืบค้นเมื่อ April 19, 2019.
- ↑ Central Park Conservancy 2014, p. 56.
- ↑ "Oak Bridge at Bank Rock Bay". Central Park Conservancy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 12, 2017. สืบค้นเมื่อ October 12, 2017.
- ↑ Lee, Jennifer 8. (September 30, 2009). "An Old Bridge, Reconstructed, Is Unveiled in Central Park". City Room. The New York Times Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2019. สืบค้นเมื่อ April 19, 2019.
- ↑ "Central Park Conservancy Announces The Campaign For Central Park" (PDF). Central Park Conservancy. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 3, 2007. สืบค้นเมื่อ April 20, 2019.
- ↑ Foderaro, Lisa W. (September 20, 2011). "Conservancy Marks Milestone in Restoring Central Park". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 13, 2019. สืบค้นเมื่อ April 13, 2019.
- ↑ Dutes, Sheldon (October 8, 2014). "Cars May Be Banned From Central Park". NBC New York. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 18, 2016. สืบค้นเมื่อ September 12, 2019.
- ↑ "Central Park, Prospect Park loops to be closed to traffic on weekdays". 7 Online. June 18, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2015. สืบค้นเมื่อ June 22, 2016.
- ↑ Walker, Ameena (June 27, 2018). "At last, Central Park is permanently car-free". Curbed NY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2018. สืบค้นเมื่อ October 6, 2018.
- ↑ "Central Park goes car-free as traffic ban takes effect". WABC-TV. June 26, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2018. สืบค้นเมื่อ October 6, 2018.
- ↑ "Central Park's Castle Gets a $12 Million Fairy-Tale Makeover". The New York Times. July 12, 2019. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 13, 2019. สืบค้นเมื่อ July 1, 2019.
- ↑ Rosenberg, Zoe (June 18, 2019). "Central Park's Belvedere Castle will reopen June 28". Curbed NY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2019. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
- ↑ "Central Park's Belvedere Castle Reopening After Restoration". Gothamist. June 18, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2019. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
- ↑ Pogrebin, Robin (October 31, 2018). "A Restoration for Shakespeare's Home in Central Park". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2019. สืบค้นเมื่อ April 19, 2019.
- ↑ Durkin, Erin (July 18, 2018). "Central Park's Lasker pool and ice rink set for $150 million makeover". New York Daily News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2019. สืบค้นเมื่อ April 17, 2019.
- ↑ Weaver, Shaye (2021-03-19). "See how different Central Park's Lasker Rink will look after its reconstruction". Time Out New York. สืบค้นเมื่อ 2021-03-19.
- ↑ "Tent hospital being constructed in New York City's Central Park". WCBS-TV. March 29, 2020. สืบค้นเมื่อ March 30, 2020.
- ↑ Holcombe, Madeline; Yan, Holly (March 30, 2020). "Central Park becomes a field hospital for New York, where coronavirus deaths have topped 1,000". CNN. สืบค้นเมื่อ March 30, 2020.
- ↑ Rubinstein, Dana (May 8, 2023). "Racetracks, Parks, Offices: A Frantic Search for Migrant Housing". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ May 12, 2023.
- ↑ Gloria Pazmino, Samantha Beech (May 6, 2023). "New York City mayor announces plan to transport willing migrants to locations outside the city ahead of expected surge". CNN. สืบค้นเมื่อ May 12, 2023.
- ↑ Wassef, Mira (June 27, 2023). "Central Park's Chess and Checkers House gets makeover". PIX11. สืบค้นเมื่อ June 28, 2023.
- ↑ Hickey, Magee (September 4, 2023). "Delacorte Theater closes for renovations". PIX11. สืบค้นเมื่อ October 11, 2024.
- ↑ Rahmanan, Anna (April 22, 2024). "You can play pickleball at Central Park's Wollman Rink this summer". Time Out New York. สืบค้นเมื่อ April 22, 2024.
- ↑ Barron, James (April 22, 2024). "Pickleball Gets a Permanent Spot at Wollman Rink". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 22, 2024.
- ↑ Kodé, Anna; Srivastava, Maansi (March 15, 2024). "Fixing Central Park's Bumpy Sidewalks". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ March 18, 2024.
- ↑ Spivack, Caroline (November 19, 2024). "Central Park's well-used drives will soon get a makeover". Crain's New York Business. สืบค้นเมื่อ November 19, 2024.
- ↑ 266.0 266.1 Barron, James (November 19, 2024). "How to Make Central Park Safer for Pedestrians". The New York Times. สืบค้นเมื่อ November 19, 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ไฟล์ KML (แก้ไข • วิธีใช้)
|
- เว็บไซต์ทางการ (กรมอุทยานและนันทนาการนครนิวยอร์ก)
- เว็บไซต์ทางการ (องค์การบริหารเซ็นทรัลพาร์ก)
- "เซ็นทรัลพาร์ก". สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ตุลาคม 2007.
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน