เจ. วาย. ปิลไล
โจเซฟ ยุวราช ปิลไล (อังกฤษ: Joseph Yuvaraj Pillay, เกิด 30 มีนาคม พ.ศ. 2477) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เจ. วาย. ปิลไล (อังกฤษ: J. Y. Pillay) ดำรงตำแหน่งประธานสภาที่ปรึกษาประธานาธิบดีของประเทศสิงคโปร์ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นรักษาการประธานาธิบดีสิงคโปร์ หลังจากการสิ้นสุดตำแหน่งของประธานาธิบดีโทนี ตัน เค็ง ยัม เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เขาปฏิบัติงานในฐานะข้าราชการระดับสูง อดีตผู้บริหารร่วมของมาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์ และเป็นประธานคนแรกของสิงคโปร์แอร์ไลน์ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมบุกเบิกและพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ หลังจากการแยกตัวออกจากมาเลเซีย
เจ. วาย. ปิลไล | |
---|---|
ประธานาธิบดีสิงคโปร์ รักษาการ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2560 – 14 กันยายน พ.ศ. 2560 | |
นายกรัฐมนตรี | ลี เซียนลุง |
ก่อนหน้า | โทนี ตัน เค็ง ยัม |
ถัดไป | ฮาลีมะฮ์ ยากบ |
ประธานสภาที่ปรึกษาประธานาธิบดี | |
ดำรงตำแหน่ง กันยายน พ.ศ. 2548 – 2 มกราคม พ.ศ. 2562 | |
ประธานาธิบดี | เซลลัปปัน รามนาทัน โทนี ตัน เค็ง ยัม ฮาลีมะฮ์ ยากบ |
ก่อนหน้า | ซิม คีบุน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 มีนาคม พ.ศ. 2477 กลัง รัฐเซอลาโงร์ บริติชมาลายา (ปัจจุบัน มาเลเซีย) |
คู่สมรส | บีทริซ ราซัมมะฮ์ (สมรส 2506) |
ศิษย์เก่า | ราชวิทยาลัยลอนดอน |
ชีวิตและการทำงาน
แก้เจ. วาย. ปิลไล เกิด ณ เมืองกลัง รัฐเซอลาโงร์ บริติชมาลายา (ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) จบการศึกษาจากราชวิทยาลัยลอนดอน[1]
ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางคือการเป็นประธานของสิงคโปร์แอร์ไลน์คนแรก ระหว่างปี พ.ศ. 2515 - 2535 ซึ่งเป็นผู้ที่ทำให้สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นหนึ่งในสายการบินชั้นนำระดับโลก[1][2] และเป็นข้าราชการระดับสูง เพียงไม่กี่คนของสิงคโปร์[3]
ดำรงตำแหน่งประธานตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ระหว่าง พ.ศ. 2542 - 2553[4] และประธานของไทเกอร์ แอร์เวย์ ใน พ.ศ. 2554 - 2557[5] ปัจจุบันเป็นประธานสภาที่ปรึกษาประธานาธิบดีสิงคโปร์[6]
เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดีตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 หลังจากการสิ้นสุดตำแหน่งของประธานาธิบดีโทนี ตัน เค็ง ยัม เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 จนกระทั่งการเข้าดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีฮาลีมะฮ์ ยากบ ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560 รวมเวลารักษาการ 14 วัน[7]
รางวัล
แก้พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ได้มอบตำแหน่งศาสตราจารย์เพื่อเป็นเกียรติแก่การบริจาคเงินช่วยเหลือของเจ. วาย. ปิลไล[8][9]
ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ Darjah Utama Nila Utama ระดับเฟิร์สท์คลาส ในฐานะผู้ที่มีเกียรติสูงสุดในงานมอบรางวัลประจำวันชาติสิงคโปร์ เมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "J Y Pillay Profile". มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-05. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2012.
- ↑ Lee, S.H. (10 เมษายน 1998). "Ex-SIA chiefs honored as "legends'". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 2017-11-22.
- ↑ Ibrahim, Zuraidah (26 มีนาคม 1995). "J. Y. Pillay: Visionary with a clear focus". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-05. สืบค้นเมื่อ 2017-11-22.
- ↑ "J Y Pillay to step down as SGX chairman at year-end". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-02. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2010.
- ↑ "Tiger Airways: Appointed Mr. J Y Pillay As Non-Executive Chairman". ShareInvestor. สืบค้นเมื่อ 29 August 2012.
- ↑ "Istana — Council of Presidential Advisers". Istana, Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2012.
- ↑ "Pillay takes on role of acting president". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2017.
- ↑ "NUS honours Prof J Y Pillay".
- ↑ "NUS honours J Y Pillay". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2012.
- ↑ "J Y Pillay awarded highest public service honour". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-10. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2012.