สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร

สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (พ.ศ. 2236 - พ.ศ. 2280) เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ พระองค์ที่ 1 (พ.ศ. 2256 - พ.ศ. 2280) พระราชนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งเวียงจันทน์

สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร
เจ้าหน่อกษัตริย์
พระเจ้าจำปาศักดิ์
ครองราชย์พ.ศ. 2256 - พ.ศ. 2280
ราชาภิเษกพ.ศ. 2256
นครจำปาศักดิ์
ก่อนหน้าพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก
ถัดไปสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร
คู่อภิเษกพระธิดาจากกษัตริย์เขมร
พระราชบุตร
ราชวงศ์ราชวงศ์ล้านช้างจำปาศักดิ์
พระราชมารดาพระนางสุมังคลา
ประสูติพ.ศ. 2236
ภูซ่อง่อ ห่อคำ เมืองบริคัณฑนิคม
สวรรคตพ.ศ. 2280
นครจำปาศักดิ์

พระราชประวัติ แก้ไข

ก่อนครองราชย์ แก้ไข

เมื่อพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งอาณาจักรล้านช้างเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2238 ไม่มีพระราชบุตรสืบราชสมบัติ พระยาเมืองจันเสนาบดีจึงได้ชิงเอาราชสมบัติ และจะเอานางสุมังคลาพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ซึ่งเป็นแม่หม้ายมีบุตรคือพระองค์หล่อและบุตรในครรภ์ขึ้นเป็นเมีย แต่นางไม่ยอมจึงหนีไปขอความช่วยเหลือจากพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก พระครูจึงให้พระนางสุมังคลาหนีออกจากเวียงจันทน์ไปซ่อนอยู่ที่ ภูซ่อง่อ ห่อคำ บริเวณเมืองบริคัณฑนิคม แล้วจึงให้กำเนิดบุตรชายนามว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ ส่วนพระองค์หล่อได้รับความช่วยเหลือจากพรรคพวกพาพระองค์หนีไปอยู่เวียดนาม และได้รับการเลี้ยงดูจากเจ้าเวียดนาม

ต่อมาพระยาเมืองจันเกิดหวาดละแวงพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก เนื่องจากไพร่ประชาชนพากันนับถือพระครูเป็นอันมาก พระครูจึงไปนำเจ้าหน่อกษัตริย์ และพระนางสุมังคลาให้อพยพไปอยู่ที่บ้านงิ้วพันลำโสมสนุก

สถาปนาอาณาจักรจำปาสักดิ์ แก้ไข

พ.ศ. 2252 อาณาจักรจำบากนาคบุรีศรี เกิดความวุ่นวายเกิดโจรผู้รายชุกชุมมากมาย จนราษฎรได้รับความเดือดร้อน พระครูโพนสะเม็กจึงไปอันเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์และพระราชมารดาสุมังคลาที่บ้านงิ้วพันลำโสมสนุกมายังนครกาลจำบากนาคบุรีศรี และทำพิธีบรมราชาภิเษกเจ้าหน่อกษัตริย์ขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร และเปลี่ยนชื่อนามเมืองใหม่เป็น นครจำปาศักดิ์นาคบุรีศรี หรือ จำปาสักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2256

ขยายพระราชอาณาจักร แก้ไข

สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรทรงมีพระราชโองการให้ศิษย์เอกที่เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ส่งออกไปหาที่สร้างบ้านแปลงเมืองปรากฏตามหลักฐานมีดังนี้

1.จารย์หวด ไปรักษาด่านบ้านดอนโขงในลำน้ำโขง เรียกว่าดอนโขง เป็นเจ้าเมืองโขง

2.ท้าวสุด เป็นพระยาไชยเชษฐา ไปรักษาบ้านหางโคกปากน้ำเซทางฝั่งโขงตะวันออก เป็นเจ้าเมืองเชียงแตง

3.จารย์แก้ว ไปรักษาบ้านทม เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ

4.ท้าวมั่น ข้าหลวงเดิมของนางแพนเป็นหลวงเอก ไปรักษาบ้านโพน เป็นเจ้าเมืองสาระวัน

5.จารย์เชียง เป็นเจ้าเมืองศรีนครเขต อยู่ในเขตจังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน

6.ท้าวพรหม เป็นราชบุตรโคตร ไปรักษาด่านบ้านแก้วอาเฮิม เป็นเจ้าเมืองคำทองใหญ่

7.จันทรสุริยวงศ์ ไปรักษาด่านบ้านโพนสิม เป็นเจ้าเมืองตะโป ปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขต

8.จารย์สม ไปรักษาบ้านทุ่งอิฐกระบือ เป็นเจ้าเมืองอัตปือ

9.บุตรพะละงุม เป็นขุนหนักเฒ่า ไปรักษาบ้านโคงเจียง เป็นเจ้าเมืองเชียงเจียง อำเภอโขงเจียม ในปัจจุบัน[1]

สวรรคต แก้ไข

พ.ศ. 2268 สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทฯ ทรงพระประชวร จึงให้เจ้าไชยกุมารพระราชโอรสว่าราชการบ้านเมืองแทน และทรงออกถือศีล จนถึงปี พ.ศ. 2280 สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจึงเสด็จสวรรคต ครองราชสมบัติได้ 25 ปี เจ้าไชยกุมารจึงสืบราชสมบัติต่อไป[2]

อ้างอิง แก้ไข

  1. พระยามหาอำมาตยาธิบดี. "พงศาวดารนครจำปาศักดิ์ ฉะบับพระยามหาอำมาตยาธิบดี - วิกิซอร์ซ". th.wikisource.org.
  2. หม่อมอมรวงษ์วิจิตร. "พงศาวดารนครจำปาศักดิ์ ฉะบับหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเณจร) - วิกิซอร์ซ". th.wikisource.org.
ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ถัดไป
พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก   เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์
(พ.ศ. 2256 - พ.ศ. 2280)
  สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร