เจ้าจอมมารดาแย้ม ในรัชกาลที่ 2
เจ้าจอมมารดาแย้ม เป็นนางละครที่มีชื่อเสียงนางหนึ่งมีสมญาว่า แย้มอิเหนา ภายหลังเรียกกันว่า คุณโตแย้ม[1] ที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เจ้าจอมมารดาแย้ม | |
---|---|
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
บุตร | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามารยาตร |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้เจ้าจอมมารดาแย้ม เป็นธิดาของพระยาไกรเพ็ชรรัตนสงคราม (ทองดี)[2][3][4] เธอเป็นศิษย์คนหนึ่งของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี เจ้าจอมมารดาแย้มจึงเป็นนางละครผู้มีชื่อในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่โดดเด่นจากแสดงเป็นอิเหนา จึงรับสมญาว่าแย้มอิเหนา[1] แล้วรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามารยาตร (ประสูติ: 2 กุมภาพันธ์ 2365 — สิ้นพระชนม์: ในรัชกาลที่ 4)[2]
ด้วยความที่เธอเป็นนางละครผู้มีชื่อเสียง หลังพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคต จึงหวนมาเป็นครูละครและถ่ายทอดวิชาแก่ศิษย์จนเป็นนางละครที่มีชื่อเสียงเช่นกันคือ ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4) และเจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 4[1] เจ้าจอมมารดาแย้มมีศิษย์คนหนึ่งที่สามารถจดจำท่าและจังหวะจะโคนได้อย่างแม่นยำ เธอจึงตั้งชื่อให้ศิษย์คนนั้นว่า "แย้ม" เช่นเธอ ซึ่งต่อมาเป็นหม่อมละครของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)[5] ซึ่งลูกศิษย์รุ่นหลังที่สืบทอดวิชามาจากท่านก็เป็นผู้วางรากฐานการเรียนการสอนและรูปแบบการแสดงแก่กรมศิลปากรที่ตกทอดมาถึงยุคปัจจุบัน[1]
ในปัจฉิมวัย เจ้าจอมมารดาแย้มได้รับคำเชิญจากท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด) ซึ่งเป็นลูกศิษย์คนหนึ่ง ให้มาพำนักที่วังปากคลองตลาดร่วมกันเมื่อปี พ.ศ. 2420 ซึ่งเป็นช่วงที่เธอเจ็บป่วย ดังนั้นเจ้าจอมมารดาแย้มจึงมอบหน้าที่การปลงศพและทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ทั้งหมดให้แก่ท้าววรจันทร์ แต่สิ้นพิธีปลงศพเจ้าจอมมารดาแย้มแล้ว ท้าววรจันทร์ได้มอบทรัพย์สมบัติดังกล่าวให้แก่หลานของเจ้าจอมมารดาแย้ม[3][4]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "ประวัติศาสตร์ควรบันทึกไว้ สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี องค์บูรณะปฏิสังขรณ์วัดสัมพันธวงศ์". วัดสัมพันธวงศ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-09. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 36. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2016-02-29.
- ↑ 3.0 3.1 ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 268
- ↑ 4.0 4.1 ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ภาคต้น). ธนบุรี : สำนักพิมพ์อโยธยา, ม.ม.ป., หน้า 147-8
- ↑ "รำศุภลักษณ์อุ้มสม". บ้านจอมยุทธ. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)