เจ้าจอมมารดาภู่ ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

เจ้าจอมมารดาภู่ หรือ ภู่ สีดา เป็นพระสนมในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

เจ้าจอมมารดาภู่
มีชื่อเสียงจากเจ้าจอมมารดา
คู่สมรสสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
บุตรพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกลิ่น
บิดามารดา
  • พร (บิดา)
  • เอี้ยง (มารดา)

ประวัติ

แก้

เจ้าจอมมารดาภู่เดิมเป็นละครหลวงกรุงธนบุรี แล้วได้เป็นละครหลวงในรัชกาลที่ 1 เป็นหญิงที่เล่าลือกันว่า "เป็นหญิงเลื่องชื่อลือชาว่างามมากในครั้งกระโน้น"[1] ภายหลังต้องโทษประหารเพราะแม่เป็นกบฏ

ดังเหตุการณ์วังหน้า เมื่อ พ.ศ. 2326 ครั้งนั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงพระดำริเห็นว่า พระสงฆ์เมื่อรับบิณฑบาตรราษฎรไม่ต้องคอยท่า แต่หากเมื่อรับบาตรในวังเจ้านายและบ้านผู้มีบรรดาศักดิ์ใหญ่ต้องไปคอยรอ บางครั้งก็จนสายก็ยังมิได้กลับวัด จึงมีพระบัณฑูรไว้ว่า ในพระบวรราชวังนั้น ให้เจ้าพนักงานเตรียมเครื่องทรงบาตรตั้งที่ให้พร้อม แล้วจึงให้สังฆการีนิมนต์พระสงฆ์ แล้วพระองค์จะเสด็จลงทรงบาตรในเวลาเช้าโมงหนึ่ง ดังนั้นประตูดินในพระราชวังบวรจึงต้องเปิดก่อนย่ำรุ่ง ทำเช่นนี้เป็นธรรมเนียม

จนเมื่อมีชายบัณฑิตจากนครนายก 2 คน อ้างตัวว่ามีวิชาความรู้ล่องหนหายตัวได้ เข้ามาอาศัยกับนางเอี้ยง มารดาเจ้าจอมมารดาภู่ ทั้งสองร่วมคบคิดกับขุนนางวังหน้าหลายคน เช่น พระยาอภัยรณฤทธิ์ รวมทั้งนางเอี้ยงด้วย

เมื่อวันศุกร์ เดือน 5 แรม 2 ค่ำ (วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2326) เวลาเช้า พวกวิเสทปากบาตรก็ขนกระบุงข้าวทรงบาตรเข้าไปทางประตูดินวังหน้า นางเอี้ยงออกอุบายให้ชายทั้งสองแต่งเป็นหญิงถือดาบซ่อนไว้ในผ้าห่มลอบเข้าไปพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วแอบอยู่ 2 ข้างพระทวารที่จะเสด็จลงทรงบาตร แต่เดชะพระบารมีมีเหตุให้ทรงลงพระทวารอีกมุขข้างหน้า ซึ่งได้เสด็จไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ พระราชวังหลวงแต่เช้าตรู่ก่อนทรงบาตร

จนเมื่อมีพนักงานฝ่ายในมาพบก็ร้องอื้ออึงลงมาว่ามีผู้ชายถือดาบเข้ามาในพระราชวัง ชายทั้งสองก็ไล่ตามลงมา ขณะนั้นมีขุนหมื่นกรมวังคนหนึ่งกำลังคุมไพร่ก่อถนนในพระราชวัง เมื่อกบฏวิ่งไล่มา ก็เอาดาบฟันขุนหมื่นผู้นั้นคอขาดตายกับที่

บรรดาเจ้าจอมและจ่าโขลนก็ตกใจ วิ่งออกมาบอกความถึงข้างหน้า ข้าราชการเป็นอันมากจึงพากันวิ่งเข้าไปในพระราชวังล้อมจับชายทั้งสอง บางส่วนก็วิ่งไปยังพระราชวังหลวง กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งประทับอยู่ในท้องพระโรง ครั้นทรงทราบความจึงทรงมีพระบัญชาให้ตำรวจหลวงทั้งวังหลวงและวังหน้าเข้าระงับเหตุ จนจับได้

กบฏทั้งสองให้การซัดทอดผู้คบคิดที่เป็นขุนนางทั้งวังหน้าและวังหลวง มีพระยาอภัยรณฤทธิ์ พวกวิเสทปากบาตรวังหน้า รวมทั้ง เอี้ยงและบุตรหญิง 1 บุตรชาย 2 และ "จุ้ย" บุตรหญิงพระยาอภัยรณฤทธิ์ซึ่งอยู่พระราชวังหลวง เกษบุตรชายพระยาอภัยรณฤทธิ์กับทั้งบ่าวไพร่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมีพระบัญชาให้เฆี่ยนสอบแล้วทั้งหมดรับเป็นสัตย์ นางเอี้ยงให้การว่าหลงเชื่ออ้ายบัณฑิตกบฏทั้งสอง และว่าจะยอมยกลูกสาว (คือเจ้าจอมมารดาภู่) ให้เป็นเจ้าจอมเมื่อสำเร็จการแล้ว

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทจึงให้ลงพระราชอาญาประหารชีวิตกบฏทั้งสองกับพวก รวมทั้งเจ้าจอมมารดาภู่ด้วย[2]

อ้างอิง

แก้