เครื่องฟอกคาร์บอนไดออกไซด์

เครื่องฟอกคาร์บอนไดออกไซด์ (อังกฤษ: carbon dioxide scrubber) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มันถูกใช้ในการบำบัดแก๊สไอเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือจากอากาศที่ปล่อยออกในระบบการช่วยชีวิตเช่นเครื่องช่วยหายใจหรือในยานอวกาศ ในเรือดำน้ำหรือในห้องสุญญากาศ เครื่องฟอกคาร์บอนไดออกไซด์ยังถูกใช้ในสถานที่จัดเก็บที่มีการควบคุมบรรยากาศอีกด้วย

เทคโนโลยี แก้

การฟอกด้วยแอมีน แก้

แอปพลิเคชันที่โดดเด่นสำหรับใช้ฟอก CO2 มีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัด CO2 ออกจากไอเสียของโรงไฟฟ้​​าถ่านหินและโรงไฟฟ้​​าแก๊สธรรมชาติ ในทางทฤษฎี มีเพียงเทคโนโลยีเดียวเท่านั้นที่ถูกประเมินอย่างจริงจังคือเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการใช้แอมีน (แอมีน, สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลเกิดจากหมู่ไฮโดรคาร์บอนแทนที่ไฮโดรเจนในโมเลกุลของแอมโมเนียเพียงหนึ่ง สอง หรือ ทั้งสามอะตอมก็ได้ เช่น อะนิลีน C6H5NH2 ไดเมทิลอามีน (CH3)2NH เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]) ต่าง ๆ เช่น monoethanolamine สารละลายในขณะที่เย็นของสารอินทรีย์เหล่านี้จะผูกติดกับ CO2 แต่การผูกติดกันจะเป็นตรงกันข้ามที่อุณหภูมิสูง ตามสมการต่อไปนี้ :

CO2 + 2 HOCH2CH2NH2 ↔ HOCH2CH2NH3+ + HOCH2CH2NH(CO2)

ณ ปี ค.ศ. 2009 เทคโนโลยีนี้มีการดำเนินการเพียงเล็กน้อย อันเนื่องมาจากต้นทุนด้านเงินทุนของการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของการใช้ประโยชน์มันมีค่าสูง[1]

แร่ธาตุและซีโอไลต์ แก้

แร่ธาตุต่าง ๆ และวัสดุคลัายแร่ผูกติดกับ CO2 แบบผกผัน[2] ที่พบบ่อยส่วนใหญ่ แร่ธาตุเหล่านี้เป็นออกไซด์และ CO2 มักจะถูกผูกติดกันเป็นคาร์บอเนต คาร์บอนไดออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับปูนขาว (แคลเซียมออกไซด์) ประกอบกันอยู่ในรูปของหินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) [3] ในกระบวนการที่เรียกว่าการวนลูปคาร์บอเนต แร่ธาตุอื่น ๆ ได้แก่ serpentinite, แมกนีเซียมซิลิเกตไฮดรอกไซ และฟันม้าโอลิวีน[4][5] Molecular sieves ยังคงทำงานในหน้าที่นี้อีกด้วย

กระบวนการฟอกต่าง ๆ ได้รับการนำเสนอในการกำจัด CO2 ออกจากอากาศหรือจากแก๊สปล่องควัน กระบวนการเหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการคราฟท์ที่แตกต่างกัน กระบวนการฟอกอาจจะขึ้นอยู่กับโซดาไฟ (sodium hydroxide)[6][7] CO2 จะถูกดูดซึมเข้าสู่สารละลาย จากนั้นก็ถูกถ่ายเทเข้าสู่ปูนขาวผ่านกระบวนการที่เรียกว่า causticization แล้วปล่อยเข้าไปในเตาเผา ด้วยการปรับเปลี่ยนบางอย่างให้เป็นกระบวนการที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่กับเตาเผาที่ยิงด้วยออกซิเจนผลลัพธ์สุดท้ายคือกระแสเข้มข้นของ CO2 ที่พร้อมสำหรับการจัดเก็บหรือการใช้ในเชื้อเพลิง ทางเลือกหนึ่งสำหรับกระบวนการความร้อนสารเคมีนี้เป็นหนึ่งที่ใช้ไฟฟ้าที่แรงดันขนาดหนึ่งจะถูกใส่คร่อมสารละลายคาร์บอเนตเพื่อที่จะปล่อยแก๊ส CO2 ในขณะที่กระบวนการทางไฟฟ้าที่ง่ายกว่านี้จะบริโภคพลังงานมากขึ้นเนื่องจากมันแยกน้ำออกมาในเวลาเดียวกัน เนื่องจากมันขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้า, ไฟฟ้าจำเป็นต้องเป็นแบบหมุนเวียนเช่นเซลล์แสงอาทิตย์ มิฉะนั้น CO2 ที่ผลิตในระหว่างการผลิตไฟฟ้าจะต้องนำมาพิจารณาด้วย การกลับชาติมาเกิดในช่วงต้นของการดักจับในอากาศที่ใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงาน ดังนั้น มันจึงขึ้นอยู่กับแหล่งผลิตที่เป็นคาร์บอนฟรี ระบบการดักจับในอากาศร้อนจะใช้ความร้อนที่ผลิตขึ้นในสถานที่ ซึ่งจะช่วยลดความไร้ประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้านอกสถานที่ แต่แน่นอนมันยังคงต้องการแหล่งที่มาของความร้อน (ที่เป็นคาร์บอนฟรี) พลังงานแสงอาทิตย์เข้มข้นก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของแหล่งที่มาของความร้อนดังกล่าว[8]

โซเดียมไฮดรอกไซด์ แก้

Zeman และ Lackner ได้อธิบายวิธีการเฉพาะของการดักจับในอากาศดังนี้[9]

สิ่งแรก CO2 จะถูกดูดซึมโดยสารละลาย NaOH อัลคาไลน์เพื่อผลิตโซเดียมคาร์บอเนตเหลว ปฏิกิริยาการดูดซึมเป็นปฏิกิริยาแก๊สของเหลวชนิดหนึ่ง มีการคายความร้อนอย่างรุนแรง ตามสมการดังนี้ :

2NaOH(aq) + CO2(g) → Na2CO3(aq) + H2O(l)
Na2CO3(aq) + Ca(OH)2(s) →-> 2NaOH(aq) + CaCO3(s)
ΔH° = -5.3 kJ/mol

กระบวนการ Causticization จะดำเนินการอย่างทั่วไปในอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษพร้อมกับทำการโอน 94% ของคาร์บอเนตไอออนจากโซเดียมไปยังแคลเซียมไอออนบวก[9] ต่อมาตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตจะถูกกรองจากสารละลายและการย่อยสลายความร้อนเพื่อผลิตแก๊ส CO2 ปฏิกิริยาการเผาให้แตกตัวเป็นเพียงปฏิกิริยาดูดความร้อนในกระบวนการและแสดงให้เห็นตามสมการต่อไปนี้ :

CaCO3(s) → CaO(s) + CO2(g)
ΔH° = + 179.2 kJ/mol

การสลายตัวทางความร้อนของแคลเ​​ซียมคาร์บอเนตจะดำเนินการในเตาเผาปูนที่ใช้เชื้อเพลิงออกซิเจนเพิ่อที่จะหลีกเลี่ยงขั้นตอนแยกแก๊สเพิ่มเติม กระบวนการ Lime hydration (CaO) จะทำให้วงรอบเสร็จสมบูรณ์ กระบวนการ Lime hydration เป็นปฏิกิริยาคายความร้อนแบบหนึ่งที่สามารถดำเนินการกับน้ำหรือไอน้ำ การใช้น้ำเป็นปฏิกิริยาของเหลว/ของแข็ง ดังที่แสดงต่อไปนี้:

CaO(s) + H2O(l) → Ca(OH)2(s)
ΔH° = -64.5 kJ/mol

ลิเทียมไฮดรอกไซด์ แก้

เบส (เคมี) ที่แข็งแกร่งอื่น ๆ เช่น soda lime, โซเดียมไฮ​​ดรอกไซด์, โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์, และลิเทียมไฮ​​ดรอกไซด์ มีความสามารถที่จะกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกโดยการทำปฏิกิริยาเคมีกับมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลิเทียมไฮดรอกไซด์ถูกนำมาใช้บนยานอวกาศ เช่นในโครงการอะพอลโล เพื่อกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ มันทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อทำให้เป็นลิเทียมคาร์บอเนต[10]:

2 LiOH(s) + 2 H2O(g) → 2 LiOH·H2O(s)
2 LiOH·H2O(s) + CO2(g) → Li2CO3(s) + 3 H2O(g)


ปฏิกิริยาสุทธิเป็น:

2LiOH(s) + CO2(g) → Li2CO3(s) + H2O(g)

นอกจากนี้ลิเทียมเปอร์ออกไซด์ยังสามารถนำมาใช้เนื่องจากมันดูดซับ CO2 ต่อหน่วยน้ำหนักมากกว่า และมีประโยชน์ในการปล่อยออกซิเจนเพิ่มขึ้น[11]

ระบบการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์แบบปฏิรูป แก้

ระบบการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์แบบปฏิรูป (อังกฤษ: The regenerative carbon dioxide removal system (RCRS)) บนยานกระสวยอวกาศจะใช้ระบบสอง-เตียงที่ทำการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่องโดยปราศจากผลิตภัณฑ์ไม่ควรค่าแก่การเก็บรักษาไว้ ระบบที่สามารถปฏิรูปได้จะยอมให้ภารกิจกระสวยอวกาศสามารถยังคงอยู่ในอวกาศได้นานขึ้นโดยไม่ต้องเติมสารดูดซับเพิ่ม ระบบที่ใช้ลิเทียมไฮดรอกไซด์ (LiOH) แบบเก่าซึ่งเป็นแบบปฏิรูปไม่ได้จะถูกแทนที่ด้วยระบบที่ใช้โลหะออกไซด์ที่ปฏิรูปได้ ระบบที่ใช้โลหะออกไซด์เบื้องต้นประกอบไปด้วยตัวดูดซับโลหะออกไซด์และแท่นเครื่องตัวปฏิรูป มันทำงานโดยการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้วัสดุดูดซับ จากนั้นทำการปฏิรูปวัสดุดูดซับนั้น สารดูดซับโลหะออกไซด์จะถูกปฏิรูปโดยการสูบอากาศที่อุณหภูมิประมาณ 400 องศาฟาเรนไฮต์ (204 องศาเซลเซียส) ผ่านตัวมันที่อัตราการไหลมาตรฐานที่ 7.5 ลูกบาศก์ฟุต/นาที (0.0035 m3/s) เป็นเวลา 10 ชั่วโมง[12]

ถ่านกัมมันต์ แก้

 
Activated carbon

ถ่านกัมมันต์ (อังกฤษ: Activated carbon) (ถ่านสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับสูง [สิ่งแวดล้อม] มีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมากเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสำหรับการดูดซับหรือทำปฏิกริยาทางเคมี) สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องฟอกคาร์บอนไดออกไซด์ได้ อากาศที่มีเนื้อหาของคาร์บอนไดออกไซด์สูง เช่นอากาศจากสถานที่จัดเก็บผลไม้ จะถูกเป่าผ่านเตียงของถ่านกัมมันต์ คาร์บอนไดออกไซด์ก็จะดูดซับโดยถ่านกัมมันต์ หลังจากที่เตียงอิ่มตัว มันจะต้องถูก "ปฏิรูป" โดยการเป่าลมที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณต่ำ เช่นอากาศในธรรมชาติ ผ่านเตียง นี้จะปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้หลุดจากเตียง จากนั้นมันจะสามารถนำกลับมาใช้ฟอกได้อีกครั้ง ค่าสุทธิของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เหลือในอากาศจะเท่ากับเมื่อกระบวนการนี้เริ่มต้น

วิธีการอื่น ๆ แก้

มีวิธีการและวัสดุอื่น ๆ อีกมากมายที่ได้รับการกล่าวถึงสำหรับการฟอกคาร์บอนไดออกไซด์

  • การดูดซับ[13]
  • การสังเคราะห์แสง เช่น การจมคาร์บอนด้วยสาหร่าย (อังกฤษ: Algae based carbon sink)
  • การแยกแก๊สด้วยพอลิเมอร์เมมเบรน (อังกฤษ: Polymer membrane gas separator)
  • การแลกเปลี่ยนความร้อนแบบย้อนกลับ (อังกฤษ: Reversing heat exchangers)

อ้างอิง แก้

  1. Gary T. Rochelle (2009). "Amine Scrubbing for CO2 Capture". Science. 325 (5948): 1652. Bibcode:2009Sci...325.1652R. doi:10.1126/science.1176731.
  2. Sunho Choi; Jeffrey H. Drese; Christopher W. Jones (2009). "Adsorbent Materials for Carbon Dioxide Capture from Large Anthropogenic Point Sources". ChemSusChem. 2 (9): 796–854. doi:10.1002/cssc.200900036. PMID 19731282.
  3. "Imagine No Restrictions On Fossil-Fuel Usage And No Global Warming". ScienceDaily. April 15, 2002.
  4. "Natural Mineral Locks Up Carbon Dioxide". Sciencedaily. September 3, 2004. สืบค้นเมื่อ 2011-06-01.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-08-24.
  6. Kenneth Chang (February 19, 2008). "Scientists would turn greenhouse gas into gasoline". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2009-10-29.
  7. "Chemical 'sponge' could filter CO2 from the air – environment". New Scientist. October 3, 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-10-29.
  8. "Can technology clear the air? – environment". New Scientist. January 12, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-10-29.
  9. 9.0 9.1 F. S. Zeman; K. S. Lackner (2004). "Capturing carbon dioxide directly from the atmosphere". World Resour. Rev. 16: 157–172.
  10. J.R. Jaunsen (1989). "The Behavior and Capabilities of Lithium Hydroxide Carbon Dioxide Scrubbers in a Deep Sea Environment". US Naval Academy Technical Report. USNA-TSPR-157. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-24. สืบค้นเมื่อ 2008-06-17.
  11. doi:10.1002/14356007.a04_011.pub2
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  12. "Carbon Dioxide Removal". Hamilton Sundstrand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27. The new metal-oxide-based system replaces the existing non-regenerable lithium hydroxide (LiOH) carbon dioxide (CO2) removal system located in the EMU’s Primary Life Support System.
  13. "Adsorption and Desorption of CO2 on Solid Sorbents" (PDF). netl.doe.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-04. สืบค้นเมื่อ 2015-08-25.