เขื่อนนเรศวร
เขื่อนนเรศวร เป็นเขื่อนที่ตั้งอยู่ในตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เป็นเขื่อนทดน้ำโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กกั้นแม่น้ำน่าน มีช่องระบายน้ำกว้าง 12.50 เมตร 5 ช่อง[1] เขื่อนสูง 16 เมตร ระดับสันเขื่อน 52.50 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความยาว 156 เมตร[2] สามารถระบายน้ำ 1,600 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ในส่งน้ำเพื่อนำน้ำไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เพาะปลูกสองฝั่งแม่น้ำน่านจำนวนกว่า 150,000 ไร่ ช่วยเหลือเกษตรกรในบริเวณพื้นที่เขตจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ตอนบน
เขื่อนนเรศวร | |
---|---|
ที่ตั้ง | ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก |
เริ่มก่อสร้าง | พ.ศ. 2520 |
เปิดดำเนินการ | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 |
ผู้ดำเนินการ | กรมชลประทาน |
เขื่อนและทางน้ำล้น | |
ปิดกั้น | แม่น้ำน่าน |
ความสูง | 16 เมตร |
ความยาว | 180 เมตร |
อ่างเก็บน้ำ | |
ปริมาตรกักเก็บน้ำ | 20 ล้านลูกบาศก์เมตร |
ประวัติ
แก้ใน พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชดำริให้มีการก่อสร้างโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาเขื่อนนเรศวรหรือเขื่อนนเรศวร[3] เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2523
เดิมใช้ชื่อ เขื่อนพิษณุโลก เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขนานนามเขื่อนเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติว่า "เขื่อนนเรศวร" พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๓ (อักษร น-ม) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : เดอะ เบสท์ เพรส แอนด์ ครีเอชั่น, ๒๕๖๐. (แก้ไขปรับปรุงข้อมูลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๓)
- ↑ "เขื่อนนเรศวร (จังหวัดพิษณุโลก)". องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแขม.
- ↑ "เขื่อนนเรศวรพระอัจฉริยภาพร.9แก้น้ำท่วมทุ่งสาน". โพสต์ทูเดย์.
- ↑ "เขื่อนนเรศวร". การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.