เกรแฮมแคร็กเกอร์

เกรแฮมแคร็กเกอร์ (อังกฤษ: graham cracker; ออกเสียงว่า เกรแอม /ˈɡr.əm/ หรือ แกรม /ˈɡræm/ ในสหรัฐ) เป็นแคร็กเกอร์รสหวานที่ทำมาจากแป้งเกรแฮม[1] และมีที่มาจากสหรัฐอเมริกาในกลางศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มมีพัฒนาการทางการค้าตั้งแต่ปี 1880 โดยทั่วไปบริโภคในฐานะขนม หรือใช้เป์นส่วนหนึ่งของขนมอื่น เช่นเป็น ขอบแคร็กเกอร์สำหรับพายและชีสเค้ก

เกรแฮมแคร็กเกอร์
เกรแฮมแคร็กเกอร์แบบที่ผลิตในระดับอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
ชื่ออื่นเกรแฮมเวเฟอร์
ประเภทแคร็กเกอร์
แหล่งกำเนิดสหรัฐ
ส่วนผสมหลักแป้งเกรแฮม

ประวัติศาสตร์

แก้

เกรแฮมแคร็กเกอร์ได้รับแรงบันดาลใจเริ่มแรกมาจากคำสอนของซิลเวสเตอร์ เกรแฮม สมาชิกขบวนการเทมเพอแรนซ์ในศตวรรษที่ 19 ที่เชื่อว่าการลดทอดสิ่งพึงใจและสิ่งกระตุ้นทั้งปวง รวมถึงการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ประกอบกับการทานอาหารเป็นมังสวิรัติโดยมีจานหลักคือแป้งที่สีเองอย่างหยาบในบ้าน เป็นวถีชีวิตที่พระเป็นเจ้าทรงประสงค์ให้มนุษย์ใช้ชีวิต และเชื่อว่าจ่วยให้มีสุขภาพดี เกรแฮมแคร็กเกอร์จึงถือกำเนิดขึ้นเป็นแคร็กเกอร์แป้งหยาบไร้รสชาติที่เกรแฮมเป็นผู้อบเอง[2]

แคร็กเกอร์ไร้รสชาติ ไร้น้ำตาล กลายมาเป็นส่วนสำคัยของการทานอาหารแบบเกรแฮม (Graham diet)[2] และมีการนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะระหว่างการระบาดของอหิวาห์ในปี 1826-1837[3]: 15–27 [4]: 29–35 [5][6] นอกจากนี้ยังมีแป้งเกรแฮม และขนมปังเกรแฮม สร้างสรรค์ขึ้นสำหรับอาหารแบบเกรแฮม กระนั้นตัวเกรแฮมเองไม่ได้ทั้งเป็นผู้คิดค้นหรือได้กำไรจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้เลย[3]: 29 [5]

อ้างอิง

แก้
  1. "Homemade Graham Crackers". สืบค้นเมื่อ March 21, 2019.
  2. 2.0 2.1 Lachance Shandrow, Kim (December 17, 2015). "The Seriously Unsexy Origins of the Graham Cracker". Entrepreneur. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
  3. 3.0 3.1 Iacobbo, Karen; Iacobbo, Michael (2004). Vegetarian America : a history. Westport, Conn.: Praeger. ISBN 978-0-275-97519-7.
  4. Smith, Andrew F. (2009). Eating history : 30 turning points in the making of American cuisine. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-14092-8.
  5. 5.0 5.1 Tompkins, K. W. (2009). "Sylvester Graham's Imperial Dietetics". Gastronomica. 9 (1): 50–60. doi:10.1525/gfc.2009.9.1.50. JSTOR 10.1525/gfc.2009.9.1.50.
  6. Money, J. (1982). "Sex, Diet, and Debility in Jacksonian America: Sylvester Graham and Health Reform". The Journal of Sex Research. 18 (2): 181–182. JSTOR 3812085.