พลเรือตรี เกรซ บรูซเตอร์ มัวเรย์ ฮอปเปอร์ ชื่อเกิด Murray (9 ธันวาคม 1906 – 1 มกราคม 1992) เป็นชาวอเมริกัน เป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ และนาวิกโยธิน กองทัพเรือสหรัฐ[1] หนึ่งในโปรแกรมเมอร์คนแรกที่สร้าง Harvard Mark I คอมพิวเตอร์ เธอเป็นผู้บุกเบิกการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และได้สร้าง Linker รุ่นแรกๆ ฮอปเปอร์เป็นคนแรกที่ออกแบบทฤษฏีของคอมพิวเตอร์ที่สามารถอ่านภาษาคอมพิวเตอร์ได้หลายภาษาและภาษาโปรแกรม FLOW-MATIC ซึ่งได้นำไปสู่การสร้างภาษา COBOL ซึ่งเป็นภาษาระดับสูงที่ใช้ในการเขียนคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้เป็นภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้

เกรซ มัวเรย์ ฮอปเปอร์
ภาพถ่ายเมื่อ ค.ศ. 1984
ชื่อเกิดเกรซ บรูซเตอร์ มัวเรย์
เกิด9 ธนวาคม ค.ศ.1906
นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา.
เสียชีวิต1 มกราคม ค.ศ.1992
Arlington, Virginia, U.S.
Place of burial
รับใช้ United States of America
แผนก/สังกัด กองทัพเรือสหรัฐ
ประจำการ1943–1986
ชั้นยศ Rear admiral (lower half)
บำเหน็จ Defense Distinguished Service Medal
Legion of Merit
Meritorious Service Medal
American Campaign Medal
World War II Victory Medal
National Defense Service Medal
Armed Forces Reserve Medal with two Hourglass Devices
Naval Reserve Medal
เหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี (ให้เป็นเกียรติหลังเสียชีวิตแล้ว)
โรงเรียนแม่Vassar College (ศศ.บ.)
มหาวิทยาลัยเยล (MS, ปร.ด.)

ก่อนที่จะเข้าร่วมกับกองทัพเรือ ฮอปเปอร์ได้รับดุษฎีบัณฑิต ในสาขาคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล และเคยเป็นศาสตราจารย์วิชาคณิตศาสตร์ที่วิทยาลัยวาสซาร์ ฮอปเปอร์พยายามที่จะสมัครเป็นทหารเรือในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่กลับถูกปฏิเสธเนื่องจากเธออายุ 34 ปี เธอจึงตัดสินใจเป็นทหารเรือกองกำลังสำรอง ฮอปเปอร์เริ่มทำงานทางด้านคอมพิวเตอร์ในปีค.ศ. 1944 ซึ่งเธอเป็นส่วนหนึ่งของทีม ฮาเวิร์ด มาร์ค 1 นำโดย ฮาวเวิร์ดแฮธาเวย์ไอเคน ในปี ค.ศ. 1949 เธอเข้าร่วมกับ Eckert–Mauchly Computer Corporation และเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่พัฒนาคอมพิวเตอร์ UNIVAC I ที่ Eckert–Mauchly เธอเป็นผู้ควบคุมการพัฒนาของหนึ่งในคอมไพเลอร์รุ่นแรกๆ COBOL เธอเชื่อว่าภาษาอังกฤษสามารถนำมาใช้เขียนโปรแกรมได้ ตัวคอมไพเลอร์ของเธอสามารถแปลงจากภาษาอังกฤษเป็น รหัสเครื่องที่สามารถเข้าใจด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ได้ ในปี 1952 ฮอปเปอร์ได้สร้างโปรแกรมเชื่อมโยงของเธอสำเร็จ ซึ่งแต่เดิมเรียกว่าคอมไพเลอร์ ซึ่งถูกเขียนสำหรับระบบ A-0[2][3][4][5] ในช่วงที่เธอกำลังรับใช้ประเทศในช่วงสงคราม เธอเป็นผู้เขียนร่วม สำหรับงานวิจัย 3 งาน ซึ่งอ้างอิงจาก ผลงานของเธอ ฮาเวิด มาร์ค 1

ในปี ค.ศ.1954 Eckert–Mauchly เลือกฮอปเปอร์เป็นคนนำบริษัทของเขาไปสู่การทำโปรแกรมอัตโนมัติและเธอก็ได้เผยแพร่หนึ่งในภาษาที่ถูกแปลเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดคอมไพล์ ในยุคแรกๆเช่น FLOW-MATIC ในปี 1959 เธอได้เข้าร่วมในสมาคม CODASYL ซึ่งได้ปรึกษาเธอเกี่ยวกับการสร้าง คอมพิวเตอร์ที่สามารถอ่านภาษาคอมพิวเตอร์ได้หลายระดับ จึงนำไปสู่ภาษา COBOL ซึ่งมีแรงบันดาลใจมากจากไอเดียของเธอ ทำให้ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถเขียนได้จากภาษาอังกฤษได้ทันที ในปี 1996 เธอเกษียรจากหน่วยกำลังสำรองทหาเรือ แต่ในปี 1967 กองทัพเรือเรียกเธอกลับไปรับราชการต่อ เธอได้เกษียรออกจากกองทัพเรือถายหลังในปี 1986 และได้ทำงานเป็น ที่ปรึกษาสำหรับ ดิจิตอลอีควิบเมนต์คอร์เปอเรชัน พูดคุยประสบการณ์ของเธอเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในที่ทำงาน

จรวดนำวิถีทำลายอากาศยานของอาร์ลีห์เบิร์กกองทัพสหรัฐ ยูเอสเอสฮอปเปอร์ (DDG-70) ถูกตั้งชื่อตามเธอ นั่นคือ Cray XE6 "ฮอปเปอร์" ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ที่ NERSC[6] ตลอดระยะเวลาชีวิตของเธอ ฮอปเปอร์ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ 40 ใบจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก Grace Hopper College ที่มหาวิทยาลัยเยล ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่เธอ ในปี 1991 เธอได้รับ เหรียญรางวัลเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2016 เธอได้รับเหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี จากประธานาธิบดี บารัก โอบามาหลังจากที่เธอได้เสียชีวิตลงแล้ว[7]

อ้างอิง แก้

  1. Cantrell, Mark (March 1, 2014). "Amazing Grace: Rear Adm. เกรซฮอปเปอร์, USN, เป็นผู้บุกเบิกในสาขา วิทยาการคอมพิวเตอร์". Military Officer. Vol. 12 no. 3. Military Officers Association of America. pp. 52–55, 106. สืบค้นเมื่อ March 1, 2014.
  2. Donald D. Spencer (1985). Computers and Information Processing. C.E. Merrill Publishing Co. ISBN 978-0-675-20290-9.
  3. Phillip A. Laplante (2001). Dictionary of computer science, engineering, and technology. CRC Press. ISBN 978-0-8493-2691-2.
  4. Bryan H. Bunch, Alexander Hellemans (1993). The Timetables of Technology: A Chronology of the Most Important People and Events in the History of Technology. Simon & Schuster. ISBN 978-0-671-76918-5.
  5. Bernhelm Booss-Bavnbek, Jens Høyrup (2003). Mathematics and War. Birkhäuser Verlag. ISBN 978-3-7643-1634-1.
  6. "Hopper". www.nersc.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-03-19.
  7. "White House honors two of tech's female pioneers". cbsnews.com. สืบค้นเมื่อ November 23, 2016.