ฮูกุมกานุนปาฮัง

ฮูกุมกานุนปาฮัง (มลายู: Hukum Kanun Pahang, حكوم قانون ڤهڠ แปลว่า กฎหมายปะหัง) มีอีกชื่อว่า กานุนปาฮัง (Kanun Pahang)[1] หรือ อุนดัง-อุนดังปาฮัง (Undang-Undang Pahang)[2] เป็นกอนูนหรือประมวลกฎหมายของรัฐสุลต่านปะหังเก่า ซึ่งประกอบด้วยบทบัญญัติสำคัญที่ยืนยันความเป็นเอกของอาดัตมลายู ในขณะเดียวกันก็รองรับและผสานเข้ากับกฎหมายอิสลาม ประมวลกฎหมายมีต้นแบบมาจากอุนดัง-อุนดังเมอลากากับอุนดัง-อุนดังเลาต์เมอลากา และรวบรวมขึ้นในรัชสมัยอับดุล ฆอฟูร์ มูฮียุดดีน ชะฮ์ สุลต่านแห่งรัฐปะหังองค์ที่ 12 สิ่งนี้ถือเป็นหนึ่งในประชุมคำวินิจฉัยกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการรวบรวมในโลกมลายู[3][4]

ในอดีต มีการใช้งานกฎหมายปะหังที่ยะโฮร์[5] หลังการรวมรัฐระหว่างปะหังกับยะโฮร์ใน ค.ศ. 1623 และมีอิทธิพลอย่างมีนัยยะสำคัญต่อการประกาศใช้กฎหมายที่รัฐเปรัก[6] และบรูไน[7] ใน ค.ศ. 2012 ฮูกุมกานุนปาฮัง ได้รับการบรรจุลงในรายการมรดกแห่งชาติของมาเลเซีย ภายใต้หมวดวัตถุมรดกที่จับต้องได้[8]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Pusat Rujukan Persuratan Melayu - Kanun Pahang
  2. Liaw 2013, p. 434
  3. Zaini Nasohah 2004, p. 7
  4. Liaw 2013, p. 434
  5. Liaw 2013, p. 434
  6. Liaw 2013, p. 434
  7. Mohammad bin Pengiran Haji Abd. Rahman 2001, p. 176
  8. "Jabatan Warisan Negara - Warisan Kebangsaan 2012". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-28. สืบค้นเมื่อ 2017-03-28.

บรรณานุกรม แก้

  • Abd. Jalil Borham (2002), Pengantar Perundangan Islam (An Introduction to Islamic Legislature), Johor Bahru: Universiti Teknologi Malaysia press, ISBN 983-52-0276-1
  • Liaw, Yock Fang (2013), A History of Classical Malay Literature, Institute of Southeast Asian Studies, ISBN 978-981-4459-88-4
  • Mohammad bin Pengiran Haji Abd. Rahman (2001), Islam di Brunei Darussalam, Dewan Bahasa dan Pustaka Brunei, ISBN 978-999-1701-81-3
  • Siti Mashitoh Mahamood (2006), Waqf in Malaysia: Legal and Administrative Perspectives, University of Malaya press, ISBN 983-100-287-3
  • Zaini Nasohah (2004), Pentadbiran undang-undang Islam di Malaysia : sebelum dan menjelang merdeka, Utusan Publications, ISBN 978-967-6115-19-5