อ้านา (พม่า: အားနာ) เป็นค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรมของพม่าที่เทียบเท่ากับ ความเกรงใจ ในวัฒนธรรมไทย หรือ เอ็นเรียว (遠慮; enryo) ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น[1] อ้านา จะแสดงออกในรูปของการยับยั้ง ความไม่อยาก การปฏิเสธ หรือการหลีกหนีในความสัมพันธ์กับมนุษย์อีกคนเนื่องจากกลัวว่าจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่ เสียหน้า ไม่สะดวกใจ หรืออับอาย[2] อ้านา ยังรวมถึงการคิดถึงความรู้สึกของคนอื่นอย่างมาก และความประวงค์ที่จะไม่ทำให้ผู้อื่นรู้สึกเครียด ไม่สบายใจ หรือสร้างภาระแก่ผู้อื่น[3] หรือเป็นการแสดงออกถึงการเคารพในผลประโยชน์ของอีกบุคคลเป็นหลัก เหนือประโยชน์ของตนเอง[4] อ้านา มีบทบาทอย่างมากต่อลักษณะความสัมพันธ์ไปจนถึงพฤติกรรมทางสังคมและการเมืองในสังคมพม่า[5] นอกจากนี้ อ้านา ยังมีส่วนอย่างมากให้เกิดลำดับขั้นทางสังคมและความไม่เท่ากันในแง่ของความสัมพันธ์เชิงสังคม เพราะลักษณะของความตรงไปตรงมา ("ไม่ อ้านา") ถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและเผชิญหน้าเกินไป[3]

ศัพทมูล แก้

อ้านา แปลตรงตัวได้ว่าทำให้ "ความแข็งแกร่ง" (အား) ของบุคคลหนึ่ง ๆ โดน "ทำร้าย" (နာ)[6] อ้านา ป่านา (အားနာ ပါးနာ) มีความหมายเดียวกัน แต่มีเติมคำว่า ป่านา (ပါးနာ ซึ่งแปลง่า "ปวดแก้ม" ลงไป[6] ส่วนคำว่า อ้านาเด (အားနာတယ်) เป็นประโยคสำหรับอธิบายบุคคลที่มีความรู้สึก อ้านา ในภาษาพื้นถิ่นของพม่ายังมีคำเทียบเท่า เช่น ภาษาฉานใช้คำว่า ဢႃးၼႃႇ และภาษาจิ่งเผาะใช้คำว่า ăna

อ้างอิง แก้

  1. Andrews, Tim; Sununta Siengthai (2009). The Changing Face of Management in Thailand. Routledge. pp. 67–68. ISBN 9780203878347.
  2. "The Myanmar Personality". www.myanmar.gov.mm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2007. สืบค้นเมื่อ 22 May 2022.
  3. 3.0 3.1 Seekins, Donald M. (2006). Historical dictionary of Burma (Myanmar). Scarecrow Press. p. 67. ISBN 978-0-8108-5476-5.
  4. Bekker, Sarah M. (1981). "The Concept of Anade - Personal, Social, and Political Implications". ใน John P. Ferguson (บ.ก.). Essays on Burma - Contributions to Asian Studies. Essays on Burma. Vol. 16. Brill Archive. pp. 19–37. ISBN 9789004063235.
  5. Spiro, Melford E. (November 1982). "Essays on Burma. by John P. Ferguson". The Journal of Asian Studies. Association for Asian Studies. 42 (1): 211–213. doi:10.2307/2055422. JSTOR 2055422. S2CID 144792695.
  6. 6.0 6.1 "Burmese – Ana (Pana)". Languages of Security in the Asia-Pacific. College of Asia and the Pacific, Australian National University. 25 May 2011. สืบค้นเมื่อ 6 October 2013.